WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน 2564

GOV5 copy copy

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกันยายน 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกันยายน 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ สรุปผลการดำเนินการที่สำคัญได้ ดังนี้

                 1.1 โครงการสำคัญ ประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - 2570) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ และเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติราชการและการนำเข้า และรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณ (สงป.) จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการในลักษณะงบประมาณพิเศษหรืองบประมาณแบบบูรณาการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ สศช. อยู่ระหว่างนำผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

                  1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) มีมติเห็นชอบ ดังนี้ (1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 2 คณะ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 2) คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับพื้นที่

                 1.3 การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566 - 2570) (แผนพัฒนา ฉบับที่ 13) สศช. ได้จัดประชุมประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมถึงเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐและภาคีการพัฒนาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2565 เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่จะเดินต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ สศช. จะนำความเห็นที่ได้ไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะมีการรับฟังและระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 อีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565

          2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ

                 2.1 สศช. ได้รายงานความคืบหน้าในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการจัดทำตามยุทธศาสตร์ชาติต่อวุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 โดยสมาชิกวุฒิสภามีความเห็นและประเด็นอภิปรายที่สำคัญ เช่น (1) ควรปรับปรุงค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (2) ควรปรับปรุงโครงการ/การดำเนินงานในแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ให้สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม และ (3) ควรมีการประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สงป. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ...) หน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

hino2021

 

                 2.2 สศช. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 11 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) ต่อวุฒิสภา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 โดยสมาชิกวุฒิสภามีความเห็นและประเด็นอภิปรายที่สำคัญ เช่น (1) การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน มีความล่าช้าและยังไม่เห็นผลของความก้าวหน้าในการปฏิรูปประเทศ (2) ควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญในกิจกรรม/โครงการที่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง และ (3) ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ประเด็นในการปฏิรูปที่มีความสำคัญเพื่อให้การดำเนินกิจกรรม/โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม

                 ทั้งนี้ สศช. จะเสนอรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 12 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2564) รับทราบแล้วต่อรัฐสภาตามขั้นตอนต่อไป ส่วนการจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) สศช. จะเน้นการรายงานความคืบหน้าของ Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าว

          3. ผลการดำเนินการอื่นๆ

                 3.1 การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบ แนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ มุ่งเน้นใน 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การตรวจสอบ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สงป. และ สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) การปรับปรุงติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล วิเคราะห์และประมวลผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของกลไกระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับกระบวนการการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

                 3.2 การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำสื่อข้อมูลเชิงภาพเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาฯ เพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกหน่วยงานได้มีความเข้าใจและสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป

          4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ข้อมูลจากผลการประเมินในรายงานของธนาคารพัฒนาเอเชียพบว่า ประเทศไทย (ไทย) มีดัชนีการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำอยู่ที่ระดับ 2 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายแผนแม่บทย่อยในปี 2565 ที่กำหนดเป็นระดับ 3 โดยการประเมินตัวชี้วัดพิจารณาจากความสามารถในการรับมือภัยพิบัติด้านน้ำ ดังนี้ (1) ด้านภัยแล้ง (2) ด้านน้ำท่วม และ (3) ด้านคลื่นพายุซัดฝั่ง โดยจากผลการประเมินพบว่าไทยมีความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วมอยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญและเร่งยกระดับความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ รวมถึงระบบการเตือนภัย การเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือทั้งในระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติ เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพและความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11380

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!