WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

GOV9

รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ .. 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอสรุปรายงานผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ .. 2564 และมอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กปช. รายงานว่า ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 .. 2563 – 2565 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ .. 2564 สรุปได้ดังนี้

          1. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ .. 2564 

 

เรื่อง

 

ข้อเสนอของประชาชน

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1) พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

 

- ควรเพิ่มการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพอิสระและทักษะอาชีพในตลาดอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนาทักษะสำหรับเกษตรอัจฉริยะ และทักษะสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมทั้งควรเน้นสื่อสารเรื่องทักษะอาชีพที่มีความต้องการในตลาดวิถีใหม่มากยิ่งขึ้น

 

- กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกระทรวงศึกษาธิการ

2) สังคมปลอดภัยไร้ความรุนแรง

 

- เร่งสร้างการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนรับรู้การมีอยู่/การช่วยเหลือของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และกระทรวงสาธารณสุข

3) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

 

- ภาครัฐควรสื่อสารชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจมาตรการของรัฐโดยเพิ่มความถี่ในการชี้แจง

 

กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์

4) รับมือภัยแล้ง และอุทกภัย

 

- ควรเร่งเผยแพร่ผลงานการบริหารจัดการน้ำทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อสื่อสารถึงมาตรการหรือวิธีแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาวอย่างยั่งยืน

 

มท. และ กษ.

5) บริหารจัดการฝุ่น PM2.5

 

- ภาครัฐควรให้ข้อมูลเรื่องการป้องกันตัวแก่ประชาชน และนำเสนอการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยเรื่องการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 จะต้องถูกสื่อสารในปี 2565 ต่อไป

 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

6) สังคมสูงวัย

 

- ควรประชาสัมพันธ์แนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ในระดับมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

 

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ รง.

7) ยุติธรรมเท่าเทียม

 

- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจความหมายเกี่ยวกับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข บทบาทหน้าที่ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เช่น การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา และการจัดหาทนายความ

 

ตช. มท. และ ยธ.

8) ส่งเสริมค่านิยมที่ดีของสังคมไทย

 

- เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสาธารณะ เคารพกฎกติกาของสังคม เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตผ่านสื่อออนไลน์ให้ครบทุกช่องทาง

 

กระทรวงวัฒนธรรม

 

hino2021

 

          2. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 2 สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวก และการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ

 

เรื่อง

 

ผลการดำเนินงาน

1) ความพร้อมและศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทย Medical Hub

 

- ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางสาธารณสุขของไทย การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มาตรฐานสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด และการประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างด้าวและการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลประเภทต่างๆ ผ่านรูปแบบการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์

2) การท่องเที่ยววิถีใหม่

 

- เน้นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความปลอดภัยการท่องเที่ยววิถีใหม่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว กิจกรรมวิถีชีวิต และเทศกาลงานประเพณีอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ

3) ศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทย

 

- เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้จำนวนมาก ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ

4) อัตลักษณ์ไทย

 

- จัดกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการและการแสดง เช่น อาหาร ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ไทยและส่งเสริมภาพลักษณ์ไทย นำความเป็นไทยสู่สากล โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งระดับผู้แทนประเทศไทยไปจนถึงประชาชนทั่วไป

5) การบริหารจัดการควบคุมแรงงานต่างด้าว

 

- เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการหรือนายจ้าง โดยผลิตสปอตประชาสัมพันธ์สายด่วน 1694” เป็นภาษาลาว ควบคู่ไปกับการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว

6) ความสัมพันธ์ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศสำคัญ

 

- ประชาสัมพันธ์วาระครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ และองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและสาธารณสุขแก่ประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบของข่าวผ่านสื่อออนไลน์ โดยมียอดเข้าถึง 37,731 คน

7) การให้บริการกงสุลและการคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ

 

- ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดูแลช่วยเหลือคนไทยกลับประเทศและชาวต่างชาติที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เป็นหลัก

 

          3. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 3 บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนรวม มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (2) ดำเนินการต่อต้านการข่าวปลอม (Fake News) โดยใช้กลไกเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวง (3) พัฒนาระบบโครงสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลและช่องทางการเผยแพร่ และ (4) จัดทำคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ

          4. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 4 ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศในยุคดิจิทัล โดยจัดทำกรอบมาตรฐานหลักสูตรนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ระดับสูงและจัดทำกรอบหลักสูตรชุดวิชาเพื่อพัฒนาทักษะเดิม และเพิ่มทักษะใหม่ด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัลของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น/จังหวัด โดยหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การจัดการกับข่าวปลอม (Fake News) (2) ผลิตและเผยแพร่สื่อดิจิทัล และ (3) การนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องซึ่งมีหน่วยงานบรรจุหลักสูตรแล้ว 32 หน่วยงาน และฝึกอบรมแล้ว 17 หน่วยงาน รวมผู้เข้ารับการอบรม 15,362 คน

          5. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาทั้ง 4 แนวทาง ภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติในระดับจังหวัด มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ โดยสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ 8 เรื่อง (2) สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวก และการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ 7 เรื่อง (3) บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมสร้างการรับรู้และเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ และ (4) ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ โดยนำหลักสูตรของสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ไปอบรมให้กับบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวม 20 กระทรวง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11379

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!