WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การรับรองร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี พ.ศ. 2564 – 2568

GOV 5

การรับรองร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี .. 2564 – 2568

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี .. 2564 – 2568 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) (ASEAN Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Eradication: FAPRDPE 2021 - 2025) อย่างเป็นทางการตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ

[จะมีการรับรองร่างแผนปฏิบัติการฯ ในนามของประเทศไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: AMRDPE) ครั้งที่ 12 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564]

          สาระสำคัญของเรื่อง

          มท. รายงานว่า

          1. ความร่วมมือของอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบทและความยากจน1 ก่อตั้งในปี .. 2540 อยู่ภายใต้การดูแลของการประชุม AMRDPE โดยได้รับการสนับสนุนจากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (Senior Official Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: SOMRDPE) เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการประชุม SOMRDPE ได้พัฒนาแผนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน .. 2542 – 2547 ซึ่งได้รับรองในการประชุม AMRDPE ครั้งแรกในเดือนตุลาคม .. 2540 และต่อมาการประชุม SOMRDPE ได้จัดทำแผนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนฉบับต่อมาเป็นปี .. 2547 – 2553 .. 2554 – 2558 และ .. 2559 – 2563 ตามลำดับ (จะมีการจัดทำแผนดังกล่าวทุก 5 ปี) เพื่อความชัดเจนในการกำหนดแนวทางปฏิบัติและทิศทางในการทำงานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

          2. ในการประชุม SOMRDPE ครั้งที่ 17 (The 17th SOMRDPE) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ซึ่งประเทศไทยเป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้เป็นแนวทางในการริเริ่มการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อไป

 

hino2021

 

          3. ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี .. 2564 – 2568 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของคนยากจนในชนบทและช่วยเหลือกลุ่มที่ยากจนที่สุดจากกลุ่มคนในพื้นที่ชนบทให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ 5 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้

                  เป้าประสงค์ที่ 1 ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ส่งเสริมการปรับตัวของประชาชนในชนบทเพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย (1) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันในชนบท โดยวางแผนการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างชนบทกับเมือง ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่มั่นคงในชนบทและลดความยากจนได้ตามเป้าหมาย (2) การปรับบทบาทองค์กรธุรกิจในชนบทให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยคนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น (3) การเพิ่มการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก การประสานความร่วมมือระหว่างเขตแดน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อย (เช่น พื้นที่จัดเก็บผลผลิตขนาดเล็ก บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ในการค้าและการประชาสัมพันธ์การตลาด)

                  เป้าประสงค์ที่ 2 ด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (Human) การสร้างหลักประกันว่าคนยากจนจะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สวัสดิการทางสังคมและบริการด้านสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ (2) วางรากฐานที่ยั่งยืนให้คนในชุมชนมีการจัดระบบความคุ้มครองกลไกทางการเงินที่เหมาะสม (3) การลงทุนสำหรับบริการทางสุขภาพโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่จำเป็นต่อการพัฒนา โดยเฉพาะการบริหารจัดการภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) (4) การปรับปรุงการเข้าถึงเทคโนโลยีและการเงินเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับกลุ่มสตรีและเยาวชน รวมถึงรายได้จากการจ้างงานให้ครอบคลุมและดีขึ้น

                 เป้าประสงค์ที่ 3 ด้านความคุ้มครอง (Protective) การเตรียมพร้อมของหน่วยงาน/องค์กรเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยพิบัติ เป็นต้น ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (2) การพัฒนาบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรรายย่อยและวิสาหกิจชุมชน

                 เป้าประสงค์ที่ 4 ด้านการเมือง (Political) เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานกับบุคลากรและทำให้เกิดความคิดริเริ่มในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ประกอบด้วย (1) การสร้างเครือข่ายการพัฒนาชนบทร่วมกับหลายภาคส่วน (อปท. ภาคประชาชน รวมถึง กลุ่มเครือข่ายสตรี เยาวชน คนพิการ และผู้สูงอายุ) (2) โครงการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาชนบทและความยากจน สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น แกนนำประชาชนและองค์กรธุรกิจในท้องถิ่น (3) การมอบรางวัลอาเซียนให้กับหน่วยงานที่มีผลงานในการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม

                 เป้าประสงค์ที่ 5 ด้านกลไกการบูรณาการ (Inclusivity) มีกลไกการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย (1) ความเชื่อมโยงของอาเซียนกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการสร้างความตระหนักรู้และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (2) ส่งเสริมสิทธิสตรีและเด็กสำหรับการดำเนินการด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนตามกลไกอาเซียน (3) การเผยแพร่ผลงานของอาเซียน ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (4) การจัดการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

_______________________

1 กรอบความร่วมมือของอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบทและความยากจน ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11367

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!