WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564

GOV 7

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3 / 2564 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการตามที่ กนช. เสนอ โดยให้ กนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ และสำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กนช. รายงานว่า ในการประชุม กนช. ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้นำเรื่องสำคัญเชิงนโยบายเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมอบหมายหน่วยงานดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561 - 2580) และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 จำนวน 4 เรื่อง ดังนี้

          1. เรื่องมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการ

                 1.1 กนช. รายงานว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ทำให้พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการเกิดน้ำท่วมขังบริเวณเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปู และมีการคาดการณ์เส้นทางเดินพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก ได้แก่ พายุไต้ฝุ่นจันทูบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ที่จะเคลื่อนเข้าใกล้เกาะไต้หวัน ในวันที่ 11 - 13 กันยายน 2564 และพายุโซนร้อนโกนเซินบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ที่จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำลงสู่อ่าวตังเกี๋ยในช่วงวันที่ 12 - 13 กันยายน 2564 ซึ่งส่งผลทำให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้มีการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเดือนกันยายน - ธันวาคม 25641 รายละเอียด ดังนี้

 

เดือน

พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

กันยายน

55 จังหวัด 347 อำเภอ 1,375 ตำบล

ตุลาคม

58 จังหวัด 347 อำเภอ 1,492 ตำบล

พฤศจิกายน

40 จังหวัด 202 อำเภอ 956 ตำบล

ธันวาคม

12 จังหวัด 105 อำเภอ 540 ตำบล

 

                  1.2 กนช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน โดยมีนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ ดังนี้

 

การดำเนินการ

 

การมอบหมาย

มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก

 

ให้กรมชลประทานประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนให้ประชาชนรับทราบถึงการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก และปรับพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ออกจากพื้นที่รับน้ำหลาก เนื่องจากเป็นการรับน้ำผ่านคลองชลประทานเท่านั้น

มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไข สิ่งกีดขวางทางน้ำ

 

ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบสิ่งกีดขวางทางน้ำ และเร่งให้ปรับปรุง เพื่อให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา

 

ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกำจัดผักตบชวาที่เริ่มมีมากขึ้นในแม่น้ำท่าจีน และอ่างเก็บน้ำห้วยกระบอก อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเตรียมการระบายน้ำ

มาตรการที่ 7 เตรียมความพร้อม/วางแผน เครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ

 

ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นเจ้าภาพหลักในการเตรียมพร้อม วางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ ประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม โดยการบูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการการใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่มีกระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ อยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมนำเครื่องมือลงในพื้นที่เสี่ยง และพื้นที่คาดว่าจะได้รับน้ำท่วมในเขตเศรษฐกิจ พร้อมทั้งรายงานให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดทราบต่อไปด้วย

มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

 

ให้ทุกหน่วยงานสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์โดยสื่อสารให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบ เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ทันต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

อื่นๆ

 

1) ให้กรมชลประทานเร่งระบายน้ำในพื้นที่น้ำท่วม ไม่ให้เกิดการท่วมขังเป็นระยะเวลานาน เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ

2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมการรองรับกรณีฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง และเดือนพฤศจิกายนธันวาคม ในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อรองรับน้ำหลากที่จะเกิดขึ้น พร้อมแจ้งให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดรับทราบ และต้องมีการซักซ้อมการเผชิญเหตุต่อไปด้วย

3) ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) วางแผนการระบายน้ำในเขตนิคมอุตสาหกรรม เช่น การขุดคลองระบายน้ำ เป็นต้น

 

          2. เรื่องความก้าวหน้าแผนงบประมาณด้านทรัพยากรน้ำ

                 2.1 การใช้จ่ายงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

                          2.1.1 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบ ภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วม จำนวน 6 ครั้ง2 วงเงินงบประมาณรวม 23,264.30 ล้านบาท จำนวน 23,286 รายการ มีหน่วยดำเนินการ 15 หน่วยงาน ดังนี้

หน่วย : รายการ

โครงการ

ดำเนินการ

แล้วเสร็จ

ดำเนินการ

ยังไม่แล้วเสร็จ*

ยกเลิก

รวม

1) โครงการด้านแหล่งน้ำ

19,924

1,170

2,163

23,257

2) โครงการจัดหาครุภัณฑ์

22

6

1

29

รวม

23,286

* เช่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1,016 รายการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 102 รายการ กรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 43 รายการ กรมชลประทาน จำนวน 11 รายการ กรมเจ้าท่า จำนวน 2 รายการ (เรือกำจัดผักตบชวา รถขุดตักบนโป๊ะ) กรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 1 รายการ (เรือกำจัดผักตบชวา) และกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 รายการ (เครื่องดูดตะกอน)

 

                          ทั้งนี้ หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะได้ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 702.71 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น 47.32 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ครัวเรือนรับประโยชน์ 3.29 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 7.19 ล้านไร่ และสามารถกำจัดวัชพืชได้ 7.83 ล้านตัน

                          2.1.2 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำใน ฤดูฝนเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2564/2565 และการระบายน้ำในช่วงเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2564 จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

                          (1) โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เครื่องจักรกลสำหรับรองรับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 จำนวน 24 รายการ วงเงินงบประมาณ 426.47 ล้านบาท ดำเนินการโดยกรมชลประทาน ปัจจุบันได้รับจัดสรรงบประมาณแล้วทั้ง 24 รายการ

                          (2) โครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อแก้ไขปัญหา ภัยแล้ง ปี 2563/64 คณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 จำนวน 2,854 รายการ วงเงินงบประมาณ 3,248.52 ล้านบาท ดำเนินการโดย 7 หน่วยงาน [กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมทรัพยากรน้ำ] รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

 

การจัดสรร

งบประมาณ

หน่วยงาน

รายการ

วงเงินงบประมาณ

(ล้านบาท)

ได้รับจัดสรร

งบประมาณแล้ว

1) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

2,194

1,437.95

2) กรมชลประทาน

44

1,183.31

3) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

2

115.01

4) มท. (9 จังหวัด)

291

176.17

5) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

114

129.04

รวม

5 หน่วยงาน

2,645

3,041.48

ไม่ได้รับการจัดสรร

งบประมาณ*

1) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

1

0.09

2) มท.

62

26.50

3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

12

5.78

รวม

3 หน่วยงาน

75

32.37

อยู่ระหว่าง

การพิจารณา

จัดสรรงบประมาณ**

1) หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา

2

30.57

2) กรมทรัพยากรน้ำ

4

48.36

3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

86

39.36

4) มท.

42

23.65

รวม

4 หน่วยงาน

134

141.94

* หน่วยรับงบประมาณยังไม่ได้ส่งรายละเอียดรายการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณ (สงป.)

** หน่วยรับงบประมาณได้ส่งรายละเอียดรายการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณจาก สงป. แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของ สงป.

 

                          ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ3 จะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 117,597 ไร่ ปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 29.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น 16.79 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และครัวเรือนได้รับประโยชน์ 145,511 ครัวเรือน

                 2.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 รายละเอียด ดังนี้

 

โครงการ

รายการ

วงเงิน

งบประมาณ

(ล้านบาท)

การเบิกจ่าย (ล้านบาท)

คงเหลือ

ยังไม่เบิกจ่าย

(ล้านบาท)

เบิกจ่ายแล้ว

ก่อหนี้ผูกพัน

รวม

แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

(17 หน่วยรับงบประมาณ)

3,826

65,548.68

41,229.91

(ร้อยละ

62.90)

15,068.19

(ร้อยละ

22.99)

56,298.11

(ร้อยละ

85.89)

9,250.57

(ร้อยละ

14.11)

 

                          2.2.1 ความก้าวหน้าเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพันของแต่ละหน่วยงานสรุปได้ ดังนี้

 

ผลการเบิกจ่าย

ลำดับ

ร้อยละ

สูงสุด

1) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

100

2) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

88

3) กรมป่าไม้

97.58

ต่ำสุด

1) กรมอุตุนิยมวิทยา

7.48

2) องค์การจัดการน้ำเสีย

23.40

3) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

31.98

 

                  2.3 กนช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสามารถบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน จึงให้หน่วยงานดำเนินการดังนี้

                          2.3.1 ให้เร่งดำเนินโครงการที่ได้รับงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันสถานการณ์และเป็นไปตามเป้าหมาย

                          2.3.2 ให้เร่งรัดการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นก่อนสิ้นปีงบประมาณ และรายงานให้ สทนช. ทราบ

                          2.3.3 ให้เร่งรัดการเบิกจ่ายและก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ครบทุกรายการ และรายงานให้ สทนช. เพื่อสรุปรายงานให้ กนช. และคณะรัฐมนตรีทราบตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 มาตรา 17 (4) 

                          2.3.4 ให้ตรวจสอบ ปรับปรุงตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2565 ให้ตรงกับข้อมูลที่รายงานต่อ สงป. และส่งข้อมูลให้ สทนช. เพื่อใช้กำกับ ติดตามต่อไป

                          2.3.5 ให้รายงานแผนงานโครงการที่ได้รับงบประมาณจากแหล่งอื่น เช่น กองทุนต่างๆ และที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน เพื่อให้ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ครอบคลุมตามเป้าหมายของแผนแม่บท การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561 - 2580)

                          2.3.6 เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีคณะกรรมการลุ่มน้ำชุดใหม่จึงเห็นควรให้ สทนช. ภาค 1 - 4 ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการลุ่มน้ำเป็นผู้พิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำผ่านระบบ Thai Water Plan ในปี 2566 เพื่อให้สามารถเสนอ กนช. พิจารณาในเดือนธันวาคม 2564 ตามปฏิทินขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ

 

hino2021

 

          3. เรื่องกรอบแนวทาง ปฏิทินการดำเนินงานจัดทำข้อมูลการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. ด้านแหล่งน้ำ

                 3.1 สืบเนื่องจากมติ กนช. ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563 เห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายการแก้ไขภารกิจที่ยังถ่ายโอนไม่แล้วเสร็จ ให้หน่วยงานที่ต้องถ่ายโอนภารกิจเร่งสำรวจจัดทำบัญชีสินทรัพย์ และจัดส่งให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. จำแนกเป็น (1) โครงการที่ยังถ่ายโอนไม่แล้วเสร็จ (ก่อนปี .. 2551) และ (2) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จแต่ไม่สามารถถ่ายโอนภารกิจและสินทรัพย์ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2542 ได้หลังปี .. 2551 โดยให้จัดทำบัญชีสินทรัพย์เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อ กนช. พิจารณาก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป

                 3.2 กนช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินงานจัดทำข้อมูลการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. ด้านแหล่งน้ำ สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ จึงให้หน่วยงานดำเนินการตามกรอบแนวทางและปฏิทินการดำเนินงาน ดังนี้

                          3.2.1 ให้เร่งสำรวจตรวจสอบทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจ และให้ อปท. สำรวจตรวจสอบทรัพย์สินที่รับโอนก่อนและหลังปี 2551 สถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน สถานภาพการใช้ประโยชน์ สถานะครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560)

                          3.2.2 ให้จัดทำหลักเกณฑ์การจำหน่ายทรัพย์สินตามประเภทแหล่งน้ำ (ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560)

                          3.2.3 ให้ปรับปรุงบัญชีข้อมูลแหล่งน้ำถ่ายโอนภารกิจให้เป็นปัจจุบัน โดยแยกประเภทและสภาพการใช้งานให้เป็นปัจจุบัน แยกบัญชีถ่ายโอนภารกิจ รับโอนภารกิจ ก่อนและหลัง ปี 2551

                          3.2.4 ให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินการ (Road Map) การจัดทำข้อมูลถ่ายโอนภารกิจ ด้านแหล่งน้ำ ของหน่วยงานและ อปท. ดังนี้

 

เดือน

รายการ

กันยายน - พฤศจิกายน 2564

หน่วยงานจัดทำหลักเกณฑ์การจำหน่ายทรัพย์สินถ่ายโอนภารกิจตามประเภทแหล่งน้ำ

ธันวาคม 2564 -

พฤษภาคม 2565

หน่วยงานและ อปท. สำรวจตรวจสอบทรัพย์สินที่รับโอนภารกิจแล้วและยังไม่ถ่ายโอนภารกิจ ก่อนและหลังปี 2551 สถานภาพของข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยแยกบัญชีทรัพย์สินถ่ายโอนภารกิจ

มิถุนายน - กรกฎาคม 2565

หน่วยงานและ อปท. ดำเนินการปรับปรุงบัญชีข้อมูลแหล่งน้ำถ่ายโอนภารกิจให้เป็นปัจจุบัน เพื่อรายงาน กนช. และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (กกถ.)

สิงหาคม - กันยายน 2565

หน่วยงานและ อปท. จัดทำแผนปฏิบัติการแหล่งน้ำถ่ายโอนภารกิจ แผนปฏิบัติการปรับปรุงแหล่งน้ำ ก่อนและหลังปี 2551 เสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำ ก่อนเสนอ กนช. เพื่อเห็นชอบแผนปฏิบัติการ และจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี (ด้านแหล่งน้ำ) ของ อปท. เสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด คณะกรรมการลุ่มน้ำ กนช. และ กกถ. เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณ

 

          4. เรื่องแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม น้ำท่วมและน้ำแล้งในลุ่มน้ำติดอ่าวไทย ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

                 4.1 กนช. แจ้งว่า ได้กำหนดหลักการแก้ไขปัญหา โดยการลดความต้องการใช้น้ำ (Demand) ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ควบคู่กับการพัฒนาน้ำต้นทุน (Supply) เพิ่มให้เต็มศักยภาพ รวมถึงสร้างกลไกในการบริหารจัดการน้ำ (Management) ซึ่งมีแผนการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ปี 2565 - 2566 ดังนี้

 

แผนดำเนินการ

 

หน่วยงานดำเนินการ

ด้านอุปสงค์ (Demand)

1) การปรับเปลี่ยนระบบการปลูกพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำภาคเกษตร

 

ดำเนินการโดย มท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) (กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) และ สทนช.

2) ขยายผลส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมตามหลัก 3R [Reduce (การลดปริมาณการใช้) Reuse (การใช้ซ้ำ) และ Recycle (การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่)]

 

ดำเนินการโดย กนอ. กรมโรงงานอุตสาหกรรมและองค์การจัดการน้ำเสีย

3) ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนจัดสรรน้ำ

 

ดำเนินการโดย สทนช. มท. กษ. และ ทส.

4) เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และควบคุมค่าความเค็ม การปนเปื้อนในแม่น้ำสายหลัก

 

ดำเนินการโดยกรมชลประทาน กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) มท. (การประปาส่วนภูมิภาคและการประปานครหลวง) และ สทนช.

ด้านอุปทาน (Supply)

1) จัดหาแหล่งน้ำสำรองและขยายกำลังการผลิตน้ำประปา 1.8 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ปรับปรุงคลองประปาฝั่งตะวันตกและตะวันออก

 

ดำเนินการโดยการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค

2) ลดอัตราน้ำสูญเสียในระบบภาคอุปโภคบริโภค 89.43 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (ร้อยละ 2.9) และระบบอุตสาหกรรม 1.11 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี (ร้อยละ 0.45)

 

ดำเนินการโดยการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ กนอ.

3) เพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย 92,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

 

ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร องค์การจัดการน้ำเสีย และ อปท.

4) การพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนทั้งผิวดินและน้ำบาดาลในลุ่มน้ำสายหลัก 39 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

ดำเนินการโดยกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและ อปท.)

5) การขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเชื่อมโยงแหล่งน้ำในการไล่น้ำเค็ม

 

ดำเนินการโดยกรมชลประทาน กรมเจ้าท่า และ อปท.

ด้านบริหารจัดการ (Management)

1) ศึกษาการบริหารจัดการอาคารบังคับน้ำหรือประตูระบายน้ำในลำน้ำสายหลักให้สอดคล้องกับระดับน้ำขึ้น - น้ำลงของน้ำทะเล

 

-

2) การขึ้นทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำและกำหนดโควตาการใช้น้ำ

 

ดำเนินการโดย สทนช. มท. กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล

3) ติดตั้งสถานีตรวจวัดในทะเลและในแม่น้ำ เพิ่มเติม

 

ดำเนินการโดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4) การศึกษา วิจัยประเด็นช่องว่าง เทคโนโลยี นวัตกรรม และแนวทางการบริหารจัดการน้ำ

 

-

5) บูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและพัฒนาระบบคาดการณ์ล่วงหน้าระยะยาว

 

ดำเนินการโดย สทนช. กรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสถาบันการศึกษา

6) พัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศในการวางแผนการแก้ไขปัญหา

 

-

 

                  4.2 กนช. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จึงให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

                          4.2.1 ให้ดำเนินการตามผลการศึกษา โดยเฉพาะการขับเคลื่อนแผนงานเร่งด่วน พร้อมกับเสนอแผนขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และให้ สทนช. ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน

                          4.2.2 ให้คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำใช้แนวทางมาตรการดังกล่าวเป็นกรอบในการจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการลุ่มน้ำ และให้ สทนช. นำไปเป็นองค์ประกอบในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเส้นทางน้ำที่เหมาะสมในผังน้ำต่อไป

                          4.2.3 ประเด็นช่องว่างแนวทางการดำเนินงานที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้

                          (1) กลุ่มงานวิจัย เช่น การไหลเวียนของน้ำทะเลในอ่าวไทย น้ำขึ้นน้ำลง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปรับปรุงพันธุ์พืชให้ทนต่อน้ำเค็ม เห็นควรเสนอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสถาบันการศึกษาเป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ

                          (2) กลุ่มงานศึกษานโยบายภาพรวม เช่น ข้อมูลการใช้น้ำ แผนยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง การวางแผนควบคุมน้ำเค็ม ให้ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ เพื่อเป็นกรอบนโยบายการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในภาพรวมแล้วจึงให้หน่วยงานปฏิบัติรับไปดำเนินการตามภารกิจต่อไป

                          (3) กลุ่มงานศึกษาปฏิบัติ เช่น การศึกษาความเหมาะสมของประตูปิดปากแม่น้ำ (เจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการเกษตร การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมโรงงานอุตสาหกรรม กนอ. กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับไปดำเนินการตามภารกิจให้สอดคล้องกับกรอบนโยบายการพัฒนา และแก้ไขปัญหาในภาพรวม

                          4.2.4 เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเกิดความสมดุล ให้ทุกหน่วยงานกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณ ความต้องการ มาตรการด้านอุปสงค์ (Demand) ความต้องการใช้น้ำระยะเร่งด่วนถึงระยะยาว ให้สอดคล้องกับเป้าหมายมาตรการด้านอุปทาน (Supply) ด้านการใช้น้ำ

                          4.2.5 การดำเนินงานศึกษาและการเสนอแผนในพื้นที่ต้องเน้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนตามประกาศคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำนโยบายและแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ .. 2564

_____________________

1รายละเอียดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยตามแผนที่การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564

2สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพบว่า ข้อมูลของ กนช. ดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วมเพียง 5 ครั้ง ส่วนที่เหลือ กนช. ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เป็นการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 24.53 ล้านบาท โดยนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 เพื่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดิน ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ

อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินโครงการบรรเทาผลกระทบภัยแล้งและป้องกันน้ำท่วม จำนวน 5 ครั้ง 

3 รวมทั้งรายการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ และอยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 4 พฤศจิกายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11327

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!