WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนาน

GOV3

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนาน

          คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนาน ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแล้วมีมติ ดังนี้

          1. รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง (โครงการประกันรายได้ฯ) และมาตรการคู่ขนาน ปี 2563/64 ตามที่ พณ. เสนอ

          2. เห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 กรอบวงเงิน 6,811,282,792 บาท และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2564/65 ประกอบด้วย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 และโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2564/65 กรอบวงเงิน 56,400,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระต่องบประมาณนั้น ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (..) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 เห็นควรให้ พณ. โดยกรมการค้าภายในพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ .. 2562 หรือใช้จ่ายจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แล้วแต่กรณี หากไม่เพียงพอให้ พณ. ขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          4. โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง ปี 2564/65 เห็นควรให้กรมการค้าภายในพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่และภารกิจของหน่วยดำเนินการ และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่และภารกิจหลักให้เป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายและความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          5. เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 มีนาคม 2563 และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 8 – 12 เดือน ซึ่งยังไม่เคยได้รับสิทธิในโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2562/63 จำนวนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 84,186 ครัวเรือน พื้นที่ 856,578 ไร่ เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64 ให้ได้รับการชดเชยส่วนต่างตามรอบระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 โดยให้กรมส่งเสริมการเกษตรตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในช่วงเก็บเกี่ยวดังกล่าว จำแนกตามจังหวัด ข้อมูลการลงทะเบียน เงื่อนไขการให้สิทธิ์ และช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งค่าชดเชยส่วนต่างและเกณฑ์ราคาอ้างอิงให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน และเป็นไปตามข้อเท็จจริงด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

          โดยให้รับความเห็นหน่วยงานต่างๆ ไปพิจารณาดำเนินการตามส่วนที่เกี่ยวข้อง

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          พณ. รายงานว่า

          ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติสรุปได้ ดังนี้

          1. รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64 วันที่ 1 สิงหาคม 2564 และผลการดำเนินมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ฯ วันที่ 16 สิงหาคม 2564 สรุปได้ ดังนี้

โครงการ

 

ความคืบหน้า

1. โครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64

 

คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ ได้พิจารณากำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงและชดเชยส่วนต่างราคาตามโครงการประกันรายได้ฯ แล้วทั้งสิ้น 9 งวด (จ่ายเงินรอบเดือนสิงหาคม 2564) โดย ... ได้โอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้วจำนวน 436,817 ครัวเรือน (ไม่นับซ้ำครัวเรือน) จำนวน 3,057.66 ล้านบาท (ร้อยละ 31.95 ของวงเงินค่าชดเชยส่วนต่างที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จำนวน 9,570.96 ล้านบาท) คงเหลือวงเงิน 6,513.3 ล้านบาท ทั้งนี้ จะสิ้นสุดการจ่ายเงินงวดสุดท้ายเดือนพฤศจิกายน 2564

2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร

 

มีการจ่ายเงินกู้ จำนวน 6 ราย เป็นเงิน 23.3 ล้านบาท คิดเป็น 9,000 ตัน (จากเป้าหมาย 600,000 ตัน)

3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง

 

มีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 75 ราย ปริมาณการเก็บสต็อกสูงสุด (เดือนมีนาคม 2564) 973,778.91 ตัน คิดเป็นหัวมันสดรวม 3.27 ล้านตัน (จากเป้าหมาย 6 ล้านตัน)

4. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง

 

การจ่ายเงินกู้จำนวน 250 ราย เป็นเงิน 34.11 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5 ของเกษตรกรเป้าหมาย (จากเป้าหมาย 5,000 ราย)

 

 

          2. เห็นชอบโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2564/65 โดยมีรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ดังนี้

หัวข้อ

 

รายละเอียด

ชนิดมันสำปะหลังและพื้นที่ดำเนินการ

 

ประกันรายได้มันสำปะหลัง เชื้อแป้งร้อยละ 25 ในพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศ

เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย

 

- เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตรและมีช่วงเวลาการเพาะปลูก ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563 – 31 มีนาคม 2565 ซึ่งต้องเป็นเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังด้วยตนเองและกรรมสิทธิ์เป็นของเกษตรกร

- เกษตรกรรับสิทธิได้ในช่วงการเก็บเกี่ยวที่ระบุไว้ในทะเบียนเกษตรกร และแจ้งระยะเวลาเก็บเกี่ยวนับจากวันที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน1

ราคาและปริมาณประกันรายได้และเกณฑ์กลางอ้างอิง

 

- ราคาและปริมาณประกันรายได้ กิโลกรัมละ 2.5 บาท2 ครัวเรือนละไม่เกิน 100 ตัน3 และไม่ซ้ำแปลง

- ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเกณฑ์กลางอ้างอิง (ราคาผลผลิต) ตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ กำหนด โดยประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกเดือนเป็นระยะเวลา 12 เดือน จ่ายเงินส่วนต่างครั้งแรกในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 และจ่ายต่อไปทุกวันที่ 1 ของเดือน เป็นระยะเวลา 12 เดือน4

ระยะเวลาโครงการ

 

1 พฤศจิกายน 2564 – 31 พฤษภาคม 2566

กรอบวงเงินและแหล่งที่มา

 

วงเงินรวม 6,811.28 ล้านบาท ดังนี้

1. ค่าชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาอ้างอิง โดยใช้จากแหล่งเงินทุนของ ... วงเงิน 6,675.16 ล้านบาท (... จ่ายเงินค่าชดเชยเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ... 136.12 ล้านบาท แบ่งเป็น

        2.1 ค่าชดเชยต้นทุนเงินในอัตราต้นทุนเงินของ ... ประจำไตรมาส บวก 1 (ร้อยละ 2 ต่อปี) เป็นเงิน 133.5 ล้านบาท

        2.2 ค่าบริหารจัดการรายละ 5 บาท (เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 524,000 ราย) เป็นเงิน 2.62 ล้านบาท

ทั้งนี้ ให้ ... ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2566 และในปีถัดๆ ไปตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ

การกำกับดูแล

 

- คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ เป็นผู้กำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด และรายงานความก้าวหน้าปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ ต่อ นบมส. เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

- คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการบริหารจัดการมันสำปะหลัง ระดับจังหวัด ติดตามกำกับดูแลการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและให้การค้าเป็นไปตามกลไกปกติ เกิดความเป็นธรรม ไม่กดราคาตลาด และรายงานภาวะราคาซื้อขายมันสำปะหลังในจังหวัดต่อคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ

 

 

          3. เห็นชอบมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2564/65 สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ

 

รายละเอียด

1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65

เป้าหมาย

 

สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาการผลิตของเกษตรกรโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและคุณภาพของผลผลิตมันสำปะหลัง รวมทั้งลดต้นทุนการผลิตมันสำปะหลัง

อัตราดอกเบี้ย กรอบวงเงิน และแหล่งที่มา

 

- วงเงินสินเชื่อ 690 ล้านบาท (เกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 3,000 ราย รายละไม่เกิน 230,000 บาท

- ดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการอัตราร้อยละ 6.5 ต่อปี โดยคิดจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3.5 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 24 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2567 คิดเป็นงบประมาณ 41.4 ล้านบาท

- ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงการคลัง (กค.)

ระยะเวลาดำเนินการ

 

- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 31 ตุลาคม 2567 

- ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 กันยายน 2565

- ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ย (24 เดือน) นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2567

2. โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2564/65

เป้าหมาย

 

สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกรที่มีการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับมันสำปะหลัง หรือสถาบันเกษตรกรที่มีสมาชิกประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก (สำหรับกรณีใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์) เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมหรือรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด มันสำปะหลังเส้นเพื่อจำหน่ายต่อ และ/หรือแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

อัตราดอกเบี้ย กรอบวงเงิน และแหล่งที่มา

 

- วงเงินสินเชื่อ 500 ล้านบาท โดยใช้เงินทุนของ ..

- ดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการอัตราร้อยละ 4 ต่อปี โดยคิดจากสถาบันเกษตรกรในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 คิดเป็นงบประมาณ 15 ล้านบาท

- ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กค.

ระยะเวลาดำเนินการ

 

- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 30 มิถุนายน 2566 

- ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 พฤษภาคม 2565

- ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ย (ไม่เกิน 12 เดือน) นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

3. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2564/65

เป้าหมาย

 

สนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง (ลานมัน/โรงแป้ง/โรงงานเอทานอล) เพื่อรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด หรือมันเส้น และแปรรูปเก็บสต็อกในรูปแบบมันเส้น/แป้งมัน เป็นระยะเวลา 60 – 180 วัน เพื่อดูดซับผลผลิตในช่วงที่ออกสู่ตลาดมาก เกิดการแข่งขันรับซื้อ ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรได้รับมีเสถียรภาพ

ระยะเวลาดำเนินการ

 

- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 – 31 ตุลาคม 2566 

- ระยะเวลาการรับซื้อมันสำปะหลังหรือมันเส้น ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 เมษายน 2565 

- ระยะเวลาการเก็บสต็อก ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 31 ตุลาคม 2565

4. โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง ปี 2564/65

เป้าหมาย

 

สนับสนุนเงินทุนให้แก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย (วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน หรือ กลุ่มเกษตรกรอื่นที่อยู่ภายใต้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ) ในการจัดหาเครื่องสับมันสำปะหลังขนาดเล็กพร้อมเครื่องยนต์และอุปกรณ์การตากมันเส้น เพื่อพัฒนาคุณภาพและกระบวนการแปรรูปมันสำปะหลัง ให้เกษตรกรสามารถแปรรูปหัวมันสำปะหลังสดเป็นมันเส้นได้ด้วยตนเอง

ระยะเวลาโครงการ

 

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565

 

          4. เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 31 มีนาคม 2563 และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 8 – 12 เดือน รวมทั้งยังไม่เคยได้รับสิทธิในโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2562/63 จำนวนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 84,186 ครัวเรือน พื้นที่ 856,578 ไร่ เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2563/64 โดยให้ได้รับการชดเชยส่วนต่างตามรอบระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวกับกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ ประมาณการวงเงินที่จะต้องใช้ประมาณ 604.16 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าชดเชยส่วนต่างราคาที่ได้จ่ายไปแล้วและประมาณการค่าชดเชยส่วนต่างราคาอีก 4 งวดที่เหลือ จะไม่เกินจากกรอบวงเงินค่าชดเชยส่วนต่างราคาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

______________________________ 

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และกรมการค้าภายใน พณ

1 มันสำปะหลังสามารถปลูกและอยู่ในดินได้นานถึง 2 ปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะทำให้ผลผลิตออกมามีคุณภาพและมีร้อยละแป้งในระดับที่ดี จะต้องมีระยะเวลาในการปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน

2 การปลูกมันสำปะหลังมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.85 บาทต่อกิโลกรัม ครอบคลุมค่าเตรียมดิน ค่าพันธุ์มันสำปะหลัง ค่าปุ๋ย ค่ายาปราบศัตรูพืชและวัชพืช และค่าเก็บเกี่ยวรวบรวม

3 ปริมาณ 100 ตัน คำนวณจากผลผลิตเฉลี่ยของเกษตรกรตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ กำหนด คูณด้วยพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกร หากปริมาณผลผลิตของเกษตรกรรายใดผลออกมามีมากกว่า 100 ตัน จะจ่ายส่วนต่างราคาให้เพียง 100 ตัน

4 คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้ฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงก่อนที่จะมีการจ่ายเงินส่วนต่างทุกวันที่ 1 ของแต่ละเดือน โดยปกติจะประกาศประมาณ 3 – 7 วัน ก่อนที่จะดำเนินการจ่ายเงินส่วนต่าง

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

A10862

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!