WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย – มาเลเซีย – ไทย (IMT-GT)

GOV8 copy

ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซียมาเลเซียไทย (IMT-GT)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และเห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก รวมทั้งเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับผู้นำประเทศแผนงาน IMT-GT ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT ในวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

          สาระสำคัญร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมฯ 

          1. ยึดมั่นในการดำเนินงานร่วมกันในระดับอนุภูมิภาคเพื่อสนับสนุนความพยายามของแต่ละประเทศในการบรรเทาผลกระทบของโรคโควิด-19 และเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพื่อจะก้าวข้ามวิกฤตดังกล่าวและเพื่อให้แผนงาน IMT-GT ดำรงอยู่บนแนวทางสู่การเป็นอนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการ นวัตกรรม และความยั่งยืน ภายใน .. 2579 

          2. ยินดีต่อความสำเร็จในเจ็ดเสายุทธศาสตร์ ได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล การเชื่อมโยงด้านการขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การค้าและการลงทุน สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรม ตลอดช่วงแผนดำเนินงานระยะห้าปี ปี .. 2560 - 2564 ของแผนงาน IMT-GT โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 33 โครงการ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา และโครงการจำนวน 63 โครงการที่มีความคืบหน้าชัดเจน และจะได้รับการบรรจุไว้ในแผนดำเนินงานระยะห้าปีฉบับต่อไป

          3. กำหนดทิศทางการดำเนินงานในระยะถัดไปของ 3 เสายุทธศาสตร์หลักของแผนงาน IMT-GT โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมการตลาดร่วม และการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ยุทธศาสตร์ในอนุภูมิภาคต่อไป พร้อมทั้งผลักดันให้ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของแผนงาน IMT-GT ตั้งอยู่บนพื้นฐานความครอบคลุมและความยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของชุมชน มุ่งเน้นการเกษตรยั่งยืน การพัฒนาและส่งเสริมสินค้าโภคภัณฑ์ที่โดดเด่น เช่น ยางพาราและน้ำมันปล์ม และการยกระดับห่วงโซ่อุปทานอาหารข้ามพรมแดน ส่งเสริมการรับรองมาตรฐานฮาลาล การปรับใช้เทคโนโลยี การขยายธุรกิจและเครือข่ายพันธมิตรเพื่อพัฒนาระบบนิเวศน์ฮาลาลในภาพรวม

          4. กำหนดทิศทางการดำเนินงานในระยะถัดไปของ 4 เสายุทธศาสตร์ปัจจัยสนับสนุน โดยคาดหวังจะเห็นความก้าวหน้าในการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเชีย มาเลเซีย และไทย ด้านการศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษใน IMT-GT การสนับสนุนโครงการเมืองยางพารา IMT-GT และความร่วมมืออุตสาหกรรมยางพารา ผลักดันให้เกิดการเสริมสร้างความเชื่อมโยงดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง การดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานใหม่ การดำเนินงานตามข้อริเริ่มเมืองสีเขียว และการรับรองกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Development Framework: SUDF) .. 2562 – 2579

          5. ยินดีต่อความก้าวหน้าในการจัดทำร่างแผนดำเนินงานระยะห้าปี ปี .. 2565 - 2569 ซึ่งประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ยินดีต่อความพยายามของเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT ในการเป็นกลไกเชิงสถาบันภายใต้แผนงาน IMT-GT และสนับสนุนให้สภาธุรกิจ IMT-GT (Joint Business Council: JBC) เป็นกลไกขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ให้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม

          6. มุ่งมั่นต่อความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนาของแผนงาน IMT-GT อาทิ ธนาคารพัฒนาเอเชียซึ่งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในการส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานที่สอดคล้องกันระหว่างอาเซียนกับแผนงาน IMT-GT และคาดหวังว่าจะมีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและนำไปสู่การบูรณาการที่เข้มแข็งต่อไป

          ทั้งนี้ ประโยชน์ของประเทศไทย ในการเข้าร่วมการประชุมฯ เช่น ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้แผนงาน IMT-GT ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือหนึ่งในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดประสานกันระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระดับส่วนราชการส่วนกลางและจังหวัดในทุกสาขาความร่วมมือ รวมทั้งสาขาความร่วมมือใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 25 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

A10853

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!