WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564

GOV 7

รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี .. 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี .. 2564 (1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) .. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 ธันวาคม 2563) อนุมัติเป้าหมายนโยบายการเงินโดยกำหนดให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1 - 3 ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับพลวัตเงินเฟ้อที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมทั้ง เอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจไทย

          2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม

                 2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม

                          2.1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 หดตัวร้อยละ 2.6 จากระยะเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนที่หดตัวสูงร้อยละ 4.2 เนื่องจากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีในหลายหมวดซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

                          2.1.2 ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยมีสาเหตุหลักจากเศรษฐกิจในช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวมาก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตชะลอลงจากไตรมาสแรกเนื่องจากการระบาดที่รุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้น

                          2.1.3 เศรษฐกิจไทยปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 โดยมีแรงกระตุ้นของภาครัฐเพิ่มเติมจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 ประกอบกับมีแผนการจัดหาและการกระจายวัคซีนที่ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จึงเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยชะลอลงไม่มากนัก ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 โดยคาดว่าจะยังมีแรงสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคาดว่าจะสามารถมีระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวต่ำกว่ากรณีฐานค่อนข้างมาก เนื่องจาก (1) ความยืดเยื้อของการระบาดและการกลายพันธุ์ของโควิด-19 (2) เม็ดเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจน้อยกว่าที่คาดการณ์ (3) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดหลายระลอก และ (4) ปัญหาห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก (Supply Disruption) และต้นทุนค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้น

                 2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม

                          2.2.1 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.89 เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ที่ติดลบร้อยละ 0.56 มาอยู่ใกล้ของล่างของเป้าหมายนโยบายการเงิน เป็นผลจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐในช่วงการระบาดระลอกแรก ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.27 ใกล้เคียงกับครึ่งหลังของปี 2563

                          2.2.2 อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการตามต้นทุนพลังงานและเชื้อเพลิงที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และ 2565 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ร้อยละ 0.2 และ 0.3 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

                 2.3 เสถียรภาพระบบการเงินโดยรวมเปราะบางขึ้นจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งระบาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและมีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ระบบสถาบันการเงินยังเข้มแข็งและสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคตได้ โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนที่อาจจะลดลงและธุรกิจบางส่วนยังประสบภาวะขาดทุนและมีความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลง

          3. การดำเนินนโยบายการเงิน ประกอบด้วย

                 3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึงมากขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้น กนง. เห็นว่า ควรเร่งจัดหาและกระจายวัคซีนให้เหมาะสม เพียงพอและทันการณ์ รวมทั้งเร่งดำเนินมาตรการด้านการเงินและการคลังให้เกิดประสิทธิผลในวงกว้าง โดยเฉพาะสินเชื่อฟื้นฟูและการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยเหลือภาคธุรกิจและครัวเรือนได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ

                 3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากสิ้นปี 2563 ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ กนง. เห็นควรผลักดันนโยบายการปรับระบบนิเวศเงินใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืน

                 3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน เช่น กนง. ได้สนับสนุนให้ ธปท. ร่วมกับ กค. และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องผลักดันมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม วงเงินรวม 350,000 ล้านบาท เพื่อส่งผ่านสภาพคล่องไปยังกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และ ธปท. ยังคงผ่อนคลายหลักเกณฑ์การจัดชั้นลูกหนี้ การกันเงินสำรองของสถาบันการเงิน รวมถึงให้สถาบันการเงินงดซื้อหุ้นคืนและห้ามไถ่ถอนหรือซื้อคืนตราสารเงินกองทุนก่อนครบกำหนด เว้นแต่มีแผนการออกทดแทน เพื่อดูแลความมั่นคงของระบบสถาบันการเงินให้สามารถรองรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

                 3.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง กนง. มีการเปิดเผยการวิเคราะห์และข้อมูลประกอบการประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจและทิศทางนโยบายการเงินมากขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจการเงินบางส่วนที่ใช้ประกอบการประชุม รวมถึงการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในกรณีต่างๆ เพื่อให้สาธารณชนรับทราบข้อมูลและประเด็นสำคัญที่มีนัยต่อการตัดสินนโยบาย รวมถึงให้สาธารณชนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10646

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!