WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ‘สร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงที’ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา

GOV1 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงทีของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงทีของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนสร้างความเท่าเทียม ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง ช่วยเหลือทันท่วงทีของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภามาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรพิจารณากำหนดให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาตินี้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นประเด็นสำคัญในการบริหารราชการและการกำหนดนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางรูปแบบ และระบบที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของประชาชน รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินงานและการสนับสนุนงบประมาณทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

          2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงการคลัง (กค.)กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          มท. ได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะ

 

ผลการพิจารณาศึกษา

1. ควรกำหนดให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารราชการและการกำหนดนโยบายโดยกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทาง รูปแบบ และระบบที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับภารกิจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของประชาชน

 

- กษ. เห็นว่า การพัฒนาไปสู่รัฐบาลดิจิทัล จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น ตำแหน่ง Data Scientist หรือ Data Engineer โดยหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่จำเป็นต่อการทำงาน ส่วนหน่วยงานควรปรับโครงสร้างองค์กรและการวางแผนอัตรากำลังคนให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการให้ทุนการศึกษาหรือการอบรม เพื่อพัฒนาของบุคลากร

2. ควรกำหนดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการเบื้องต้น ทั้งด้านการวางโครงสร้างฐานข้อมูล การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไก การบูรณาการและการประสานการดำเนินการระหว่างหน่วยงานในระดับต่างๆ

 

- กษ. ได้ตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Agricultural Big Data Center: NABC) ภายใต้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มีภารกิจหลักในการจัดทำ Big Data ด้านเกษตรที่มีความครบถ้วน สำหรับใช้ในการบริหารจัดการและการวางแผนด้านการเกษตรแบบครบวงจร นอกจากนี้ เห็นว่า หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูล ควรเร่งดำเนินการตามแนวทางการทำ ธรรมาภิบาลข้อมูลและการจัดทำบัญชีข้อมูลของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) รวมถึงแนวทางการจัดทำมาตรฐานข้อมูลภาครัฐ มาตรฐานสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และมาตรฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานภูมิสารสนเทศ (National Spatial Data Infrastructure: NSDI) ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและ ภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เพื่อทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

- รง. เห็นว่า ควรให้ ดศ. กำหนดหน่วยงานกลางที่จะดูแลการบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติฯ และกำหนดมาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลของ ทุกกระทรวง รวมถึงการออกแบบและสร้าง Digital Platform เดียวในการให้บริการประชาชน

- ยธ. เห็นว่า การกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักอาจพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานในอนาคต

3. ควรกำหนดแผนการดำเนินงานและการสนับสนุนงบประมาณทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้การบริหารจัดการฐานข้อมูลแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลเพื่อให้เห็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม

 

- กษ. เห็นว่า การเชื่อมโยงและเผยแพร่ข้อมูลต้องปฏิบัติตาม ...คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล .. 2562 หน่วยงานต้องพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลและการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีความปลอดภัยตาม ... การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ .. 2562 นอกจากนี้ ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงกันแบบอัตโนมัติ เช่น การเชื่อมโยงรูปแบบ Application Programming Interface (API)

- ศธ. จะจัดทำร่าง ... การบริหารข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา .. …. เพื่อให้เกิดศูนย์สารสนเทศเพื่อการศึกษาภายในระยะเวลา 2 ปี

- ยธ. เห็นว่า ควรกำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทั้งในระดับบุคคล ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงให้ความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปให้มีความเข้าใจและสามารถรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างปลอดภัยด้วย และเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดเก็บข้อมูลใหม่ทั้งหมด ควรพิจารณาถึงการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน (Update) ด้วย

- พม. เห็นว่า ควรศึกษาระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า Thai People Map and Analytics Platform (TP MAP) และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการข้อมูลตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) เพื่อการกำกับดูแลข้อมูลรวมถึงกระบวนการ บุคลากรและเทคโนโลยีที่จำเป็นในการจัดการและปกป้องข้อมูลของประชาชน

- ดศ. เห็นว่า (1) การออกแบบเชื่อมโยงข้อมูลควรวางมาตรฐานกลางและระบบสนับสนุนในการเชื่อมโยงบูรณาการระบบงานข้ามหน่วยงาน โดยคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลเป็นหลัก (2) การสร้างระบ Blockchain ควรศึกษาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย โดยเฉพาะในการใช้ระบบอื่นในการจัดเก็บและประมวลผลด้วย ทั้งในแง่ความยากง่ายในการพัฒนาความปลอดภัย ความคุ้มทุนกับค่าใช้จ่าย และการวางแผนการบำรุงรักษาในระยะยาว (3) ในระยะที่ 3 เสนอให้เปลี่ยนจาก “e-Government” เป็น “Smart Government” อ้างอิงตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในข้อ (20) ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ แผนย่อยการพัฒนาระบบบริหารงานภาครัฐที่มีเป้าหมาย ภาครัฐมีขีดสมรรถนะสูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลและมีความคล่องตัว ซึ่งมีตัวชี้วัดคือ ระดับ Digital Government Maturity Model (Gartner)

- กค. เห็นว่า ควรจัดทำฐานข้อมูลพื้นฐานครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน โดยไม่จำกัดอายุเพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงสิทธิที่พึงจะได้รับตลอดช่วงอายุ และเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีข้อมูลเพียงพอต่อการเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของข้อมูลต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเพื่อความพร้อมในการใช้งานได้ตลอดเวลา สำหรับการบริหารจัดการฐานข้อมูลสามารถดำเนินการได้โดยจะต้องคำนึงถึงประเด็นด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ... ข้อมูลข่าวสารของราชการ .. 2540 ... คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล .. 2562 ระเบียบการใช้ข้อมูลต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งประเด็นในด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบฐานข้อมูล และการจำกัดสิทธิการเข้าถึงของแต่ละหน่วยงาน นอกจากนี้ ควรจัดทำคู่มือวิธีปฏิบัติหรือระเบียบการใช้งานฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดสรรสวัสดิการแก่ประชาชนตามกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10644

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!