WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

GOV8 copy

การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 2 จำนวน 22 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 2 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. กระทรวงการต่างประเทษขอเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ประสานและรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวม 22 ฉบับ โดยเป็นเอกสารที่ผู้นำจะรับรอง (adopt) ทั้งหมด ทั้งนี้ จะมีเอกสารเพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียน (Draft ASEAN Leaders’ Statement on Advancing Digital Transformation in ASEAN) (2) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Draft ASEAN-China Joint Statement on Strengthening Green and Sustainable Development) (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Draft ASEAN Joint Statement on Climate Change to the 26th Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC COP-26) และ (4) ร่างปฏิญญาอาเซียนเพื่อส่งเสริมแรงงานอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการปรับตัวเพื่อรองรับกับอนาคตของงาน (Draft ASEAN Declaration on Promoting Competitiveness, Resilience and Agility of Workers for the Future of Work) โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (1) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (2) และ (3) และกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องสำหรับเอกสาร (4) จะดำเนินการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

          2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 22 ฉบับ สรุป ดังนี้

                 2.1 ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียน (อาเซียน ชิลด์) (Draft Bandar Seri Begawan Declaration on the Strategic and Holistic Initiative to Link ASEAN Responses to Emergencies and Disasters (ASEAN SHIELD) เพื่อส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนและบทบาทของเลขาธิการอาเซียนในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                 2.2 ร่างปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยความสำคัญของครอบครัวเพื่อการพัฒนาชุมชนและการสร้างชาติ (Draft Bandar Seri Begawan Declaration on the Importance of the Family for Community Development and Nation-Building) เพื่อย้ำบทบาทสำคัญของครอบครัวในการสร้างรากฐานของชุมชนและชาติที่มั่นคงและมีภูมิคุ้มกันสำหรับประชาชนอาเซียน

                 2.3 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการธำรงระบบพหุพาคีนิยม (Draft ASEAN Leaders’ Declaration on Upholding Multilateralism) ยืนยันความมุ่งมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมระบบพหุภาคีนิยมและกลไกพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ และเพิ่มพูนผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ

                 2.4 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยเศรษฐกิจภาคทะเล (Draft ASEAN Leaders’ Declaration on the Blue Economy) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจภาคทะเลในอาเซียนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับภาคีภายนอก

                 2.5 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการปรับสูตรและการผลิตอาหารและเครื่องดื่มทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ (ASEAN Leaders’ Declaration on the Reformulation and Production of Healthier Food and Beverage Options) เพื่อส่งเสริมการปรับสูตรและการผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาค

                 2.6 ร่างปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการระรานเด็กในอาเซียน (Draft Declaration on the Elimination of Bullying of Children in ASEAN) ส่งเสริมให้มีมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองเด็กในภูมิภาคอาเซียนจากการถูกระรานทุกรูปแบบ

                 2.7 ร่างแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (Draft Consolidated Strategy on the Fourth Industrial Revolution for ASEAN) เป็นเอกสารกำหนดแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาประชาคมอาเซียนที่เป็นดิจิทัลของสามเสาประชาคมอาเซียนให้มีทิศทางเดียวกัน มีบูรณาการ และมีตัวชี้วัดความสำเร็จให้ชัดเจน

                 2.8 ร่างกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจใส่ใจที่ครอบคลุมของอาเซียน (Draft ASEAN Comprehensive Framework on Care Economy) เพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่มีความซับซ้อนและท้าทายในอาเซียน โดยเฉพาะบริบทของโควิด-19 โดยมุ่งบูรณาการความร่วมมือข้ามสาขา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอาเซียนที่มีความเข้มแข็งและมีความสามารถในการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน

                 2.9 ร่างกรอบนโยบายยุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมการปรับตัวของประชาคมอาเซียนสำหรับความเข้าใจ การยอมรับ และการรับรู้เกี่ยวกับวาระระดับภูมิภาคที่มากขึ้นในหมู่ประชาชนอาเซียน (Draft ASEAN Strategic Policy Framework on Promoting an Adaptive ASEAN Community of Greater Understanding, Tolerance and a Sense of Regional Agendas among the Peoples of ASEAN) เพื่อส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและอัตลักษณ์อาเซียนในหมู่ประชาชนอาเซียน โดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นประชาคมที่มีความสามารถในการปรับตัว เป็นประชาคมแห่งโอกาสเพื่อคนทั้งปวง” (Community of Opportunities for All) ที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความอดทนอดกลั้น และการมีส่วนร่วม

                 2.10 ร่างขอบเขตอำนาจและหน้าที่คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี .. 2025 และแผนงาน (Draft Terms of Reference for the High-Level Task Force on the ASEAN Community’s Post-2025 Vision and the Roadmap) เป็นเอกสารกำหนดบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี .. 2025 ซึ่งจะทำหน้าที่วางแผนและจัดทำวิสัยทัศน์ฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                 2.11 ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล (Draft ASEAN-U.S. Leaders’ Statement on Digital Development) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิทัล

                 2.12 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-อินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (Draft ASEAN-India Joint Statement on Cooperation on the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific (AOIP) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการแสวงหาความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (เอโอไอพี) กับข้อริเริ่มมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Oceans Initiative) ของอินเดีย

                 2.13 ร่างแถลงการณ์อาเซียน-รัสเซีย ว่าด้วยการสร้างภูมิภาคที่เป็นปึกแผ่น มั่นคงและยั่งยืน (Draft ASEAN-Russia Statement: Building United, Secure and Sustainable Region) เพื่อส่งเสริมการทำงานของกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ และผลักดันความร่วมมือบนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกันในโครงสร้างสถาปัตยกรรมภูมิภาค

                 2.14 ร่างแถลงการณ์อาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ว่าด้วยความร่วมมือในด้านการรับมือและต่อต้านปัญหายาเสพติดโลก (Draft Statement of ASEAN and the Russian Federation on Cooperation in the Field of Addressing and Countering the World Drug Problem) เพื่อเน้นย้ำความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย ในการรับมือและต่อต้านปัญหายาเสพติดในโอกาสครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ .. 1961 และ 50 ปี อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท .. 1971 ผ่านการฝึกอบรมหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด รวมถึงสนับสนุนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ในด้านนี้

                 2.15 ร่างแผนปฏิบัติการฉบับครอบคลุมเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับสหพันธรัฐ-รัสเซีย (.. 2021-2025) (Draft Comprehensive Plan of Action to Implement the Association of Southeast Asian Nations and the Russian Federation Strategic Partnership (2021-2025) ระบุมาตรการต่างๆ ที่อาเซียนและรัสเซียจะดำเนินการร่วมกัน โดยมีสาขาความร่วมมือที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ

                 2.16 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือในการสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (Draft ASEAN-China Joint Statement on Cooperation in Support of the ASEAN Comprehensive Recovery Framework) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยเฉพาะการสนับสนุนแนวทางและการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีนภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนในด้านต่างๆ

                 2.17 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 24 เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน (Draft Joint Statement of the 24th ASEAN-China Summit to Commemorate the 30th Anniversary of ASEAN-China Dialogue Relations) มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์ที่มีพลวัตและสาระสำคัญระหว่างอาเซียนกับจีนในโอกาสครบรอบ 30 ปี และเน้นย้ำหลักการสำคัญร่วมกัน กำหนดแนวทางการสานต่อความร่วมมืออาเซียน-จีนในทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

                 2.18 ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 22 ว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีให้ก้าวไกล (Draft Joint Statement of the 22nd ASEAN-Republic of Korea Summit on Advancing ASEAN-Republic of Korea Cooperation) กำหนดแนวทางและมาตรการต่างๆ ที่อาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีจะดำเนินการร่วมกันเพื่อพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีให้ก้าวไกล เป็นรูปธรรม มีพลวัต และเป็นประโยชน์ร่วมกันมากขึ้น เพื่อให้ตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยเฉพาะการฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

                 2.19 ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนบวกสาม ว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิตในวัยรุ่นและเด็ก (Draft ASEAN Plus Three Leaders’ Statement on Cooperation on Mental Health Amongst Adolescents and Young Children) เพื่อเสริมสร้างการดำเนินการป้องกันและการบรรเทาผลกระทบด้านลบของสุขภาพจิตต่อสังคมและเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านการส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามเสริมสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิตเพื่อจัดการประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตและการป้องกันการฆ่าตัวตาย ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและการริเริ่มการสร้างขีดความสามารถเกี่ยวกับสุขภาพจิตระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและภาคีภายนอก

                 2.20 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการฟื้นฟูที่ยั่งยืนและสีเขียว (Draft East Asia Summit Leaders’ Statement on Sustainable and Green Recovery) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืนและสีเขียวในระยะยาว โดยเน้นย้ำหลักการและ ความร่วมมือที่สำคัญของอาเซียน การส่งเสริมการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุม การแก้ไขปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือรายสาขา ด้านพลังงาน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเศรษฐกิจ ปัญหาขยะทะเล ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ การตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉินและภัยพิบัติ และการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล

                 2.21 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการฟื้นฟูการท่องเที่ยว (Draft East Asia Summit Leaders’ Statement on Economic Growth through Tourism Recovery) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมาจากโควิด-19 โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและมาตรฐานด้านสาธารณสุข การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจ MSMEs ตลอดจนการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของอาเซียนระยะหลังการแพร่ระบาด และข้อเสนอแนะร่วมขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลก

                 2.22 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิต (Draft East Asia Summit Leaders’ Statement on Mental Health Cooperation)เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขภาพจิต โดยเฉพาะในบริบทของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพจิตเป็นประเด็นด้านสาธารณสุขที่สำคัญ โดยมีแนวทางการดำเนินความร่วมมือที่สำคัญ อาทิ ส่งเสริมความร่วมมือด้านสุขภาพจิตทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศผ่านเวทีและกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ การฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ การเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของสาธารณชนเรื่องภาวะสุขภาพจิต และการแสวงหาความเป็นไปได้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน ว่าด้วยความร่วมมือด้านสุขภาพจิตเพื่อการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10627

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!