WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26

GOV4 copy

ร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบ (Endorsement) ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ร่วมกับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Ad-referendum หรือในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 16 ตามความเหมาะสม และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรอง (Adoption) ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 38 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สรุปได้ ดังนี้

          1. แสดงความมุ่งมั่นของอาเซียนตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างและคำนึงถึง ขีดความสามารถของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน (Common but Differentiated Responsibilities and Respective Capabilities) โดยการดำเนินงานตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

          2. แสดงความห่วงกังวลต่อการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบทางลบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏในรายงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          3. เรียกร้องให้รัฐภาคีเร่งดำเนินการตามพันธกรณีหลักภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ได้แก่ การปรับปรุงเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด การจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ การยกระดับการวิจัยและความร่วมมือ รวมถึงเร่งหาข้อยุติในประเด็นเจรจาที่ยังหาข้อยุติมิได้ ได้แก่ กลไกตลาดและไม่ใช่ตลาดภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีสระเบียบวิธีปฏิบัติตามกรอบความโปร่งใส และกรอบระยะเวลาร่วมของเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด

          4. เน้นย้ำความสำคัญของการประเมินและทบทวนสถานการณ์การดำเนินงานในระยะก่อนปี .. 2020 เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานภายหลังปี .. 2020 ที่ท้าทายมากขึ้น และเน้นย้ำบทบาทนำของประเทศพัฒนาแล้วในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์พร้อมกำหนดนโยบายและการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม

          5. เร่งรัดกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญา ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐภาคีประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงการสนับสนุนจากกองทุนภูมิภาคสีเขียว กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกและกองทุนการปรับตัวเพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศภาคี

          6. ให้ความสำคัญกับประเด็นเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ มลภาวะทางอากาศ มหาสมุทร และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งประเทศต่างๆ ควรมุ่งสู่การฟื้นฟูจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10398

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!