ขอความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 12 October 2021 20:31
- Hits: 5684
ขอความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
ทั้งนี้ คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women - ACW) เป็นกลไกความร่วมมือด้านสตรีในระดับภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (The ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children - ACWC) จัดทำกรอบยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) เพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการมิติเพศภาวะในรูปแบบที่ครอบคลุมทั้งอาเซียน (whole-of-ASEAN) โดยเสนอเป้าหมายและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนว่าด้วยการมีส่วนร่วมของสตรี และเน้นการประสานงานและความร่วมมือระหว่างทั้งสามเสาของอาเซียน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในระดับภูมิภาค
สาระสำคัญของกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 – 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
1. คำย่อ และ อักษรย่อ
2. บทนำ
3. ความเสมอภาคระหว่างเพศและความครอบคลุมในภูมิภาคอาเซียน
4. โครงสร้างเชิงสถาบันของอาเซียนด้านเพศภาวะและความครอบคลุม
5. ข้อจำกัดเชิงสถาบันในการดำเนินการตามคำมั่นด้านเพศภาวะของอาเซียน
6. วิสัยทัศน์และแนวทางยุทธศาสตร์บูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน
7. หลักการชี้นำและค่านิยม
8. กลไกสถาบันของอาเซียนเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
9. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และจุดเริ่มต้น
เป้าหมายที่ 1: นโยบายอาเซียน องค์กร และแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมวิสัยทัศน์สำหรับโลกที่ยุติธรรมมากขึ้น เท่าเทียมมากขึ้น และรวมทุกคน
เป้าหมายที่ 2: อาเซียนสร้างความรู้ ความสามารถทางเทคนิค และศักยภาพในประเด็นมิติเพศภาวะและความครอบคลุม
เป้าหมายที่ 3: นโยบายและแผนปฏิบัติการของอาเซียนสะท้อนความต้องการของผู้หญิงและเด็กหญิงได้ดีมากขึ้น ในระดับภูมิภาคและกลไกรายสาขาทั้งสามชุมชนอาเซียนสามารถดำเนินความริเริ่มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อความต้องการ
เป้าหมายที่ 4: อาเซียนสนับสนุนกระบวนการระหว่างรัฐบาลและรัฐภาคีในการบูรณาการมิติเพศภาวะและการริเริ่มที่เน้นมิติเพศภาวะ
10. การติดตาม ประเมินผล และการรายงานว่าด้วยคำมั่นของอาเซียนในการบูรณาการมิติเพศภาวะ
11. กิจกรรมบ่งชี้
12. ภาคผนวก 1: แนวคิดและคำนิยาม
13. ภาคผนวก 2: บรรณานุกรม
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 ตุลาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A10397
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ