WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม

GOV8

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ ผลการประชุม กพอ. ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพิ่มเติม ดังนี้

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สกพอ. รายงานว่า

          1. จากข้อมูล เดือนธันวาคม 2563 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) มีพื้นที่เขตส่งเสริมฯ เพื่อรองรับการประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม และการค้าและบริการเพียง 15,836 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปี ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษของประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามมติ กพอ. จึงต้องมีการประกาศเขตส่งเสริมฯ เพิ่มเติม 

          2. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมฯ ตามที่ สกพอ. เสนอ ดังนี้

                 2.1 เห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม1 เพิ่มเติม จำนวน 5 แห่ง โดยมีพื้นที่โครงการทั้งสิ้นประมาณ 6,884.42 ไร่ และพื้นที่รองรับการประกอบกิจการประมาณ 5,098.56 ไร่ เป้าหมายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมประมาณ 280,772.23 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (.. 2564 - 2573) ประกอบด้วย

 

นิคมอุตสาหกรรม

 

พื้นที่โครงการ

 

อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รองรับ

พื้นที่จังหวัดชลบุรี 3 แห่ง

       

1. โรจนะแหลมฉบัง

 

ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง

(พื้นที่ประมาณ 698.89 ไร่)

 

- ยานยนต์สมัยใหม่

- อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

- การบินและโลจิสติกส์

2. โรจนะหนองใหญ่

 

- ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่

- ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง

(พื้นที่ประมาณ 1,501.43 ไร่)

 

3. เอเชีย คลีน

 

- ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง

- ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่

(พื้นที่ประมาณ 978.49 ไร่)

 

- อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

- ยานยนต์สมัยใหม่

- การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

พื้นที่จังหวัดระยอง 2 แห่ง

       

4. เอ็กโกระยอง

 

ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง

(พื้นที่ประมาณ 421.05 ไร่)

 

- ยานยนต์สมัยใหม่

- หุ่นยนต์

- การบินและโลจิสติกส์

- ดิจิทัล

5. ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียลเอสเตท ระยอง

 

ตำบลหนองบัว และ ตำบลบางบุตร

อำเภอบ้านค่าย

(พื้นที่ประมาณ 1,498.70 ไร่)

 

 

                  2.2 เห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการพิเศษ2 จำนวน 1 แห่ง โดยมีเป้าหมายการลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (.. 2564 - 2573) ได้แก่

 

เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

 

พื้นที่โครงการ

 

เป้าหมายการพัฒนาประเทศ

ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง

 

ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง

จังหวัดระยอง

(พื้นที่ประมาณ 519 ไร่/พื้นที่รองรับการประกอบกิจการประมาณ 360 ไร่)

 

- งานวิจัย อุตสาหกรรมและกิจการที่เกี่ยวข้องเพื่อไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

- ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะกำหนดพื้นที่นำร่องของ EEC ในการพัฒนาระบบโครงข่าย 5G อย่างเต็มรูปแบบ

 

                  2.3 เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เขตส่งเสริมฯ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา (EECmd) โดยเปลี่ยนแปลงแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเขตส่งเสริมฯ และเพิ่มเติมพื้นที่ประมาณ 18.685 ไร่ ทำให้พื้นที่รวมของ EECmd จากเดิม ประมาณ 566 ไร่ เป็น ประมาณ 585 ไร่

                 2.4 มอบหมายให้เลขาธิการ สกพอ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการเป็นผู้ลงนามในประกาศเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

                 2.5 มอบหมายให้ สกพอ. ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง การเปลี่ยนแปลงแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 3) .. 2564 เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการจัดทำแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คณะอนุกรรมการบริหาร การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กพอ. และคณะรัฐมนตรีต่อไปตามลำดับ

_______________________________________

1เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม หมายถึง พื้นที่ส่งเสริมเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

(1) รูปแบบนิคมอุตสาหกรรม หมายถึง พื้นที่ทำการจัดสรรที่ดินเพื่อขายหรือให้เช่าตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่จำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม

(2) รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษเฉพาะด้าน (Cluster) หมายถึง การพัฒนาพื้นที่เพื่อขายหรือให้เช่าตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

2เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ หมายถึง พื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์ พัฒนาพื้นที่ให้มีความทันสมัย เช่น เขตส่งเสริมฯ : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 ตุลาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A10143

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!