WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานประจำปี 2563 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

GOV6

รายงานประจำปี 2563 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเสนอรายงานประจำปี 2563 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ .. 2549 มาตรา 16 (6) ที่บัญญัติให้สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบงานเลขานุการของ กพยช. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กพยช. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] มีผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. ภาพรวมสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย โดยเป็นการรวบรวมสถิติด้านการบริหารงานยุติธรรมที่สำคัญ เช่น 1) สถิติจำนวนคดีที่รับแจ้งจับกุมและจำนวนผู้ต้องหาที่จับกุมได้ 2) สถิติจำนวนคดีอาญาและคดีแพ่งในศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร 3) สถิติคดีรับเข้าและคดีแล้วเสร็จของศาลปกครองชั้นต้น 4) สถิติจำนวนผู้กระทำผิดซึ่งอยู่ในระบบการพัฒนาพฤตินิสัย และ 5) สถิติการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

          2. ผลการดำเนินงานของ กพยช. และคณะอนุกรรมการ

                 2.1 กพยช. ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม .. .... เพื่อแก้ปัญหาที่ผู้พ้นโทษไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคม โดยเฉพาะการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งงานหรือสถานประกอบการที่ตรงกับความรู้ความสามารถของตนภายหลังการพ้นโทษมาแล้ว และเพื่อให้เป็นกฎหมายกลางในการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม และให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายได้ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บ การเปิดเผยและไม่เปิดเผยประวัติอาชญากรรมให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน โดยกำหนดให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม รวมทั้งกำหนดหลักการสำคัญเกี่ยวกับการเปิดเผยประวัติอาชญากรรมที่ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

                 2.2 คณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. มีผลการดำเนินการที่สำคัญ เช่น

                          2.2.1 คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยในกระบวนการยุติธรรมได้พิจารณาเรื่องที่สำคัญ เช่น แนวทางการนำงานวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมไปใช้ประโยชน์ในช่วงหลังการวิจัยเสร็จ โดยได้เห็นชอบให้ สกธ. เป็นหน่วยงานกลางในการรวบรวมงานวิจัยด้านกระบวนการยุติธรรมเพื่อเผยแพร่ ซึ่งมีกระบวนการ ได้แก่ 1) การนำเสนองานวิจัย 2) การเผยแพร่งานวิจัย 3) การส่งต่องานวิจัยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 4) การนำเสนอผลงานวิจัยให้ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย

                          2.2.2 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมได้พิจารณาแนวทางการผลักดันแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ยุทธศาสตร์ชาติที่ 5 การขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมด้วย โดยมีกรอบการดำเนินงาน ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ประโยชน์ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐด้านกระบวนการยุติธรรม 2) การบริหาร เพื่อพัฒนาระบบโปรแกรมมาตรการต่างๆ ที่จำเป็นสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการให้บริหารประชาชน และ 3) ตัวชี้วัด เพื่อการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญาผ่านระบบ Thai Data Exchange Center (DXC)

                          2.2.3 คณะอนุกรรมการปฏิรูปด้านการปฏิรูปการพัฒนามาตรการต่อผู้กระทำผิดอาญาแทนการควบคุมตัวโดยการมีส่วนร่วมขององค์กรสหวิชาชีพและชุมชนได้พิจารณาเรื่องที่สำคัญ เช่น จัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ...) .. .... (การกำหนดโทษระดับกลาง) โดยได้จัดทำรายละเอียดขั้นตอนโทษระดับกลางมาใช้ในประเทศไทยมีกระบวนการ ได้แก่ 1) เงื่อนไขการพิจารณาของศาล 2) การจัดทำรายงานสืบเสาะและพินิจประกอบความเห็นจากสหวิชาชีพ และ 3) การกำหนดมาตรการของศาลและการฝ่าฝืนโทษระดับกลาง

          3. ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ (สกธ.) เพื่อสนับสนุนภารกิจของ กพยช. ดังนี้

                 3.1 การพัฒนาข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม เช่น การจัดทำรายงานสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม ประจำปี 2562

                 3.2 การจัดทำวารสารกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม

                 3.3 การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรมตามแนวทางการเผยแพร่กฎหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ในรูปแบบออนไลน์ เช่น เว็บไซต์รู้กฎหมาย lamp.oja.go.th และในรูปแบบออฟไลน์ เช่น การจัดทำหนังสือและคู่มือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน

                 3.4 การขับเคลื่อนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในมิติเชิงพื้นที่ผ่านกรอบแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมและจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน และจัดทำโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม

                 3.5 การพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม เช่น การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง (รุ่นที่ 11) การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง (รุ่นที่ 15) และโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมกับการอำนวยความยุติธรรมในสังคม รุ่นที่ 3 เครือข่ายพลเมืองนักสร้างสรรค์สื่อ เพื่อแก้ปัญหากระบวนการยุติธรรม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A91003

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!