สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4/2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 29 September 2021 00:46
- Hits: 10488
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4/2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ ผ่านระบบการประชุมทางไกล 5 สิงหาคม 2564 (Video Conference) และมอบหมายให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. และข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กตน. เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน. |
|
1. การบูรณาการมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคม ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง 12 กระทรวง และ 1 หน่วยงาน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง มีผลการดำเนินการ เช่น 1.1 ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 1) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้ดำเนินการ เช่น (1) ช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเปราะบางในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใน 76 จังหวัด 48,790 ครัวเรือน (2) ดำเนินกิจกรรม “ดืองันฮาตี” (ทำดีด้วยใจ) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 5 มิติ 13,533 ครัวเรือน และ (3) พัฒนาและการแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย 23,801 ครัวเรือน 2) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ได้ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเปราะบางเข้าถึงสวัสดิการและการบริการของภาครัฐและการลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ 1.2 บูรณาการมาตรการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ตามข้อตกลงความร่วมมือฯ 1) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ได้พบกลุ่มเปราะบางที่ต้องมีการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา 1,639,808 ครัวเรือน และได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัด/อำเภอ 1.3 ดำเนินงานประชาสัมพันธ์การรับรู้ พม. ได้จัดตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมและศูนย์ปฏิบัติการบริหารภาวะวิกฤติโควิด-19” และจัดตั้งหน่วยเฝ้าข่าวตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 18 ช่องทาง |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาแนวทางการให้บริการเพื่อให้กลุ่มเปราะบางได้รับโอกาสในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ควรให้มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานตามข้อตกลงความร่วมมือโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นควรให้ สปน. และ พม. เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม โดยเน้นการบูรณาการด้านข้อมูล งบประมาณ บุคลากร และทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ขอให้เร่งรัดพิจารณาให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงเป็นลำดับแรก |
|
2. การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular-Green (BCG) Economy] 2.1 ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เช่น การผลักดันให้ BCG เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป และการใช้ BCG เป็นนโบายในระดับต่างประเทศ โดยส่งเสริมการรับรู้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และหามิตรประเทศที่มีศักยภาพด้าน BCG อย่างต่อเนื่อง 2.2 มาตรการและแผนงานขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินมาตรการ เช่น (1) พัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของทุนความหลากหลายทางชีวภาพ ทุนวัฒนธรรม และทุนทางปัญญา (2) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ BCG และ (3) กำหนดให้จัดทำโครงการ Big Rock เพื่อการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 ทั้งหมด 47 โครงการ 2.3 การเพิ่มการลงทุน โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ได้ดำเนินการ(1) ปรับปรุงประเภทกิจการตามแนวคิด BCG (2) ส่งเสริมการลงทุนตามแนวคิด BCG กว่า 50 ประเภทกิจการย่อย และ (3) มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนแนวคิด BCG 2.4 การขยายผลการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เช่น อว. [สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)] ได้ขยายผลการประยุกต์ใช้ Smart Technology ไปยัง 14 จังหวัด 1,354 ไร่ เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร 90 ล้านบาท และส่งเสริมการทำการเกษตรเชิงธุรกิจ โดยใช้ “ตลาดนำการผลิต” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาBCG Model ด้านการเกษตร และจัดทำห่วงโซ่คุณค่าของ BCG Model สาขาการเกษตร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และดำเนินโครงการส่งเสริมเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสู่เมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืน กระทรวงพลังงาน (พน.) ได้เสนอแนวคิด BCG Model ในภาคพลังงานของไทย และยกร่างแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนโครงการ BCG ของ พน. มท. มีโครงการ Big Rock ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2570 จำนวน 11 โครงการ และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ได้จัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสีขาวภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2565 2.5 การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อว. ได้บรรยายเผยแพร่ความรู้เรื่อง BCG ให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งจัดทำเฟซบุ๊กแฟนเพจและทวิตเตอร์ 2.6 ข้อเสนอแนะ เช่น อว. เสนอว่าควรเร่งรัดให้เกิดการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การขึ้นทะเบียน และการกระจายการผลิตปัจจัยการผลิตสู่เกษตรกร กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอว่า ควรส่งเสริมการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุนในอุตสาหกรรม และ กษ. เสนอว่า ควรจัดทำโครงการให้มีความสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อน และเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด BCG |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) การดำเนินงาน BCG เป็นนโยบายที่สำคัญ และรัฐบาลมีวาระในการเข้าร่วมประชุมเอเปค (APEC) ในปี 2565 โดยจะเป็นผู้นำเสนอยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เช่น การนำเสนอความเป็นหุ้นส่วนและความยั่งยืน รวมถึงการกำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ภายหลังโควิด-19 2) ควรเชื่อมโยงกับการดำเนินการเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศรายได้สูงที่สามารถใช้พื้นที่เกษตรเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับวาระของโลก เช่น การลดปริมาณขยะ ลดการใช้พลังงานฟอสซิลสภาพภูมิอากาศเปลี่ยน ภัยพิบัติ และการกัดเซาะชายฝั่ง มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะของ อว. อก. กษ. ทส. กก. กระทรวงการต่างประเทศ และ พน. ไปพิจารณา |
|
3. แผนงานและผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ 3.1 คณะอนุกรรมการบูรณาการและประสานการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีได้รายงานความคืบหน้าในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการรายบุคคลที่เกษตรกรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ซึ่งการรายงานผล (Dashboard) ดังกล่าวเป็นการแสดงผลของพืชในกลุ่มข้าวซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ 3.2 คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ได้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ในการติดตามสื่อสังคมออนไลน์ การประชาสัมพันธ์การนำนโยบายรัฐบาล ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ การบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ 1111 และการแก้ไขปัญหาข่าวปลอม |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ควรพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำข้อเสนอแนะรัฐบาลในการกำหนดนโยบายที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเกษตรกรได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรมีการกำหนดให้มีหน่วยงานเจ้าภาพเพื่อรับผิดชอบการบริหารจัดการDashboard อย่างเป็นรูปธรรม 2) ควรพัฒนารูปแบบการนำเสนอรายงานการแสดงผลฯ 3) ให้คณะอนุกรรมการฯ อาจพิจารณาจัดทำข้อมูลให้ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจทุกชนิด รวมถึงผลไม้และปศุสัตว์ด้วย มติที่ประชุม : รับทราบและมอบหมายให้คณะอนุกรรมการบูรณาการและประสานการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีรับความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมไปประกอบการพิจารณา มติที่ประชุม : รับทราบ |
|
4. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 4.1 ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาส 3 กรณีรวมงบกลาง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564) ภาพรวมมีการใช้จ่ายงบประมาณ 2.63 ล้านล้านบาทซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 4.16 4.2 ผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาส 3 กรณีไม่รวมงบกลาง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ค. 2564) ภาพรวมมีการใช้จ่ายงบประมาณ 2.22 ล้านล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.02 4.3 สถานภาพรายการผูกพันใหม่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 รายการ เช่น แบบรูปรายการ/TOR แล้วเสร็จ/กำหนดราคากลาง 3 รายการ และประกาศ ประกวดราคา/ประกาศ จัดซื้อจัดจ้าง 3 รายการ |
มติที่ประชุม : รับทราบ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 กันยายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A91001
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ