WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

GOV9

กรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ .. 2565

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบกรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ .. 2565 ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบ และประเมินผลภาคราชการ (...) เสนอ ดังนี้

          สาระสำคัญ

          ... ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ และประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ .. 2565 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ โดยมีสรุปสาระสำคัญดังนี้

          1. กรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

          มุ่งเน้นให้เกิดการบูรณาการการตรวจสอบร่วมกันระหว่างคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (....) คณะต่างๆ และคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวง (... ประจำกระทรวง) ตรวจสอบการดำเนินงานตามภารกิจ/โครงการ (ongoing process) ของส่วนราชการในการขับเคลื่อนเป้าหมายร่วมกันในลักษณะห่วงโซ่คุณค่า (value chain) เพื่อให้ได้ข้อค้นพบและความเสี่ยงที่สำคัญ และจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) ไปยังนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีตามอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ .. 2548 ข้อ 13 (4)

          2. ประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ .. 2565

          ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบโควิด-19 (post-COVID recovery) และยกระดับขีดความสามารถของประเทศรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) เพื่อให้กลุ่มเปราะบางได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ประชาชนมีงานทำ เศรษฐกิจฟื้นตัวและมีการวางรากฐานเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจประเทศ รวมถึงให้หน่วยงานภาครัฐสามารถปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต โดยมุ่งเน้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสังคมในภาคการเกษตร ภาคการท่องเที่ยว และกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเศรษฐกิจฐานราก การเยียวยาและช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสังคมผ่านเครือข่ายความร่วมมือระดับชุมชน การเสริมสร้างทุนมนุษย์ในการยกระดับและพัฒนาทักษะใหม่ๆ และการพัฒนาระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการภาครัฐ รวมถึงการปรับกระบวนการทำงานให้มีการทำงานเชิงรุก (Proactive) ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยมีเป้าประสงค์หลัก 4 ด้าน รวม 8 ประเด็นการตรวจสอบและประเมินผล ประกอบด้วย

                 2.1 ด้านเศรษฐกิจ เพื่อมุ่งเน้นการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจไปยังระดับท้องถิ่น พร้อมรับการกระจายตัวของการพัฒนาและการเคลื่อนย้ายกำลังแรงงานกลับคืนถิ่น ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบ 3 ประเด็น ได้แก่

                          1) การบริหารการจัดการน้ำภาคการเกษตรในการสร้างเกษตรมูลค่าสูง

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการสนับสนุนและสร้างผู้ประกอบการหรือเกษตรกรที่มีความพร้อมในเกษตรมูลค่าสูง และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตการจัดการการตลาดและการจัดส่ง (logistics) สินค้าเกษตรทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการบริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุน โดยเฉพาะในส่วนของเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น เกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ เกษตรแปรรูป และเกษตรอัจฉริยะเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรมูลค่าสูงที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : เพื่อให้ภาคการเกษตรมีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม และสามารถยกระดับไปสู่การเป็นเกษตรมูลค่าสูง

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

                          2) การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการกำหนดนโยบาย/การจัดการการท่องเที่ยวผ่านระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวคุณภาพวิถีใหม่ การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว/นักเดินทาง การพัฒนาด้านการตลาดและการสื่อสารสร้างการรับรู้ และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ในตลาดคุณภาพที่มีมาตรฐานความสะดวก สะอาด ปลอดภัยที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ

                          3) การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กและเศรษฐกิจฐานราก

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สร้างองค์ความรู้ ทักษะ และการเข้าถึงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ และพัฒนาระบบนิเวศสำหรับผู้ประกอบการ startup

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความเข้มแข็งและสามารถปรับตัวสู่ธุรกิจวิถีใหม่ และมีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม

                 2.2 ด้านสังคม เพื่อการขยายและพัฒนาระบบหลักประกันทางสังคม ในการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในการแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่มให้ตรงจุด และสร้างหลักประกันทางสังคมระดับชุมชน ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบ 2 ประเด็น ได้แก่

                          1) การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในภาวะวิกฤตให้เข้าถึงบริการภาครัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการจัดการระดับชุมชน Community) ในการเข้าถึงบริการภาครัฐ การเข้าถึงปัจจัย 4 ประการในการช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบางในสภาวะวิกฤต และกลไกการให้บริการสาธารณะ และเครือข่ายระดับชุมชนในการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง (การระดมทุน/การจัดการ)

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : กลุ่มเปราะบางได้รับการช่วยเหลือและโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะภาครัฐเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสมดุลและสร้างความเสมอภาคในสังคม

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย

                          2) ต้นแบบความร่วมมือระดับชุมชนในการช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤต

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบกลไกการจัดการชุมชนและการสร้างเครือข่ายระดับท้องถิ่น การจัดการแหล่งทุนระดับชุมชน (กองทุนหมู่บ้าน) การจัดการสาธารณสุขและการดูแลผู้สูงอายุระดับชุมชน และการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชุมชน (ป่าชุมชน) รวมถึงการค้นหาต้นแบบการจัดการชุมชนเข้มแข็งภายใต้สภาวะวิกฤต

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : การสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืนในระดับจังหวัด

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข

                 2.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพคน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรทุกสาขาอาชีพและทุกช่วงวัยให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบ 2 ประเด็น ได้แก่

                          1) การพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมั่งคงและยั่งยืน รวมถึงการสร้างระบบรับรองมาตรฐานการศึกษาในการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ การออกแบบและพัฒนาทักษะกำลังคน (Up-Skill Re-Skill and New-Skill) ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สังคม ชุมชน สถาบันการศึกษา และเอกชนในการสร้างกลุ่มภาคีการศึกษาและการทำงาน

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : ส่งเสริม สนับสนุนให้แรงงานได้รับการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการพึ่งพาและการจัดการตนเองในการรองรับตลาดแรงงานรูปแบบใหม่เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่ยั่งยืน

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงแรงงาน กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

                          2) การเสริมสร้างผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบกลไกการจัดการในการเข้าถึงบริการสาธารณะสำหรับผู้สูงอายุในปัจจุบันและอนาคต การออกแบบระบบการจัดการและการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว การส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจกับการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ และการจัดการการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในชีวิต

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : ผู้สูงอายุมีความสามารถในการจัดการตนเองและมีความมั่งคงด้านรายได้ในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในสังคมอย่างยั่งยืน

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง

                  2.4 ด้านการบริหารการจัดการภาครัฐ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงระบบ การบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐ และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้บริการประชาชน ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบ 1 ประเด็น ได้แก่

                          1) การสร้างระบบนิเวศเพื่อขับเคลื่อนการเป็นรัฐบาลดิจิทัล

                          ขอบเขตและจุดเน้นในประเด็นการตรวจสอบ : ตรวจสอบการดำเนินงานในการจัดทำข้อมูลสำคัญภาครัฐและข้อมูลเปิดรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล การพัฒนาเครื่องมือกลางและโครงสร้างพื้นฐาน (Digital Infrastructure) การยืนยันและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบภายในที่เอื้อต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล รวมถึงรองรับรูปแบบการทำงานที่บ้าน (work from home) ของหน่วยงานภาครัฐ

                          เป้าหมายที่ต้องการผลักดัน : หน่วยงานภาครัฐสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในสภาวะวิกฤต และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกจากงานบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ

                          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) กระทรวงมหาดไทย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9999

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!