WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค

GOV3

ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค กรอบวงเงิน 278,928,300 บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอ

          สาระสำคัญ

          โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

          1. หลักการและเหตุผล

          ภาคการเกษตรของประเทศไทยมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ปัจจุบันภาคการเกษตรของไทยต้องเผชิญปัญหาและความท้าทายนานัปการ เช่น การขาดความรู้ของเกษตรกร ผลผลิตล้นตลาด ต้นทุนการผลิตสูง การขาดแคลนน้ำสลับกับปัญหาอุทกภัย ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม เนื่องจากการใช้สารเคมีในภาคเกษตร และการเติบโตของเมือง ปัญหาการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร และความท้าทายจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การกีดกันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น การเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตร และความเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก ปัจจัยต่างๆ ข้างต้นส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการแข่งขัน ความยากจนของเกษตรกรรายย่อยและนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้านรายได้ในที่สุด การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยส่งเสริมให้มีการรวมตัวเพื่อดำเนินกิจกรรม และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในเรื่องการผลิต การแปรรูป การตลาด อาชีพเสริม และอื่นๆ ตามความเหมาะสม พัฒนาและขยายผลการทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เสริมสร้างความภาคภูมิใจ และความมั่นคงในการประกอบอาชีพเกษตรกร

          การดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนาทั้งประโยชน์ในการบริหารจัดการด้านการเกษตรและประโยชน์เพื่อเกษตรกรที่จะได้รับการพัฒนาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป เพื่อให้เกษตรกรทุกคนได้รับการพัฒนาเป็นเกษตรกรที่มีความพร้อมรับกับสถานการณ์ด้านการเกษตรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรไทยมีความพร้อมมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพการเกษตร เป็นบุคคลที่มีความภาคภูมิใจในความเป็นเกษตรกร มีความรอบรู้ในระบบการผลิต ด้านการเกษตรแต่ละสาขา มีความสามารถในการวิเคราะห์เชื่อมโยงและการบริหารจัดการการผลิต และการตลาดโดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม และถือเป็นเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรกร

          การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรไทยให้มีความพร้อม มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่เกษตรกรดำเนินการ ให้ความสำคัญในการใช้องค์ความรู้และข้อมูลประกอบการตัดสินใจ การนำเทคโนโลยี ภูมิปัญญา และวิธีการปฏิบัติที่ดีมาใช้หรือพัฒนา โดยตระหนักถึงคุณภาพมาตรฐานและปริมาณความต้องการของตลาด มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดจนสามารถสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยพัฒนาเกษตรกรรายอื่นๆ ต่อไป

          จากสถานการณ์ที่ประเทศไทยและโลกเผชิญในปัจจุบันจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายด้านทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน การติดต่อเดินทาง การทำธุรกิจ การดำรงชีวิต การจับจ่ายใช้สอย ทำให้โลกเข้าสู่ยุค New Normal ที่ทุกคนจะต้องระมัดระวังตัวเองมิให้อยู่ในความเสี่ยงของการติดเชื้อ นอกจากนั้นรัฐบาลยังทำโครงการช่วยเหลือประชาชนเพื่อเยียวยาในช่วงโควิดได้แก่ โครงการเยียวยาผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเยียวยากลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการคนละครึ่ง โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โครงการเราชนะ โครงการ 33 เรารักกัน เป็นต้น โครงการดังกล่าวนั้นส่งผลให้พฤติกรรมของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ประชาชนต้องเข้าถึงสมาร์ทโฟนเพื่อที่จะเข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะเป็นด้านประชาชนหรือร้านค้า พฤติกรรมของประชาชนมีการใช้สมาร์ทโฟนในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จนทำให้การใช้สมาร์ทโฟนในการซื้อของ ชำระเงิน กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญไป

          ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 จึงเป็นโอกาสที่ดีในการยกระดับเกษตรกรให้พบกับผู้บริโภคโดยใช้เครือข่ายต่างๆ ที่มีระบบ BIG DATA และ DATA COMMON เป็นตัวกลางในการผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรนำผลผลิตที่ได้ไปขายยังผู้บริโภคโดยตรงผ่านโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค

          2. วัตถุประสงค์

                 2.1 เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรให้มีศักยภาพทั้งทางด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดเพื่อเชื่อมโยงกับผู้บริโภค โดยเสริมสร้างมาตรฐานการเกษตรที่รับผิดชอบต่อสังคมและมีธรรมาภิบาล

                 2.2 เพื่อสร้างเพลทฟอร์มและเครื่องมือในการบริหารจัดการข้อมูลเกษตรกรและการสร้างช่องทางการตลาด

                 2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการและเพลทฟอร์มให้มีการรับรู้ในวงกว้างของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะเกษตรและผู้บริโภคเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้งานเพลทฟอร์ม

                 2.4 สนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของเกษตรกรและมีการดำเนินการที่มีมาตรฐานต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายสถาบันเกษตรกรเพื่อให้สามารถพึ่งพาซึ่งกันและกัน ในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมทั้งสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองต่างๆ สนับสนุนให้เกษตรกร มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางและดำเนินการส๋งเสริมและพัฒนา สร้างแรงจูงใจให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรและที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น

          3. วิธีดำเนินการ

          การแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานเป็น 4 ระยะคือ

                 3.1 กิจกรรมระยะที่ 1 ศึกษาและออกแบบระบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร

                          1) ศึกษาข้อมูลด้านปฐมภูมิและทุติยภูมิ รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงาน

                          2) ทำการศึกษาความต้องการของเกษตรกรและความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

                          3) กำหนดแผนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรสู่ผู้บริโภค

                          4) กำหนดแผนจัดทำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาลทางการเกษตร

                 3.2 กิจกรรมระยะที่ 2 การพัฒนาระบบ มาตรฐาน และสรรหาอาสาสมัครเกษตรชุมชน (อกช.) ด้วยการสร้างเครื่องมือในอบรม อกช. และเตรียมระบบการรับ Data Common การจัดการข้อมูล การประเมิน กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงเกษตรกรกับผู้บริโภค การกำหนดมาตรฐาน KasetCSR และ kasetGovernance อบรม อกช. ระยะที่หนึ่ง และการประชาสัมพันธ์ระยะที่หนึ่ง

                          1) ประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มเกษตรกร ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตั้งเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร รูปแบบของเครื่องมือในการช่วยในการเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร และมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและดัชนีธรรมาภิบาล

                          2) สรรหา อกช. โดยเน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่และมีพี่เลี้ยงเป็นผู้ที่มีประสบการณ์

                          3) การอบรม อกช. ในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร ระยะที่หนึ่ง

                          4) วิเคราะห์และออกแบบเครื่องมือในการอบรม อกช.ออนไลน์ และออกแบบพัฒนาระบบร่วมกันรวมถึงวางแนวทางการสร้างเครื่องมือแอปพลิเคชัน

                          5) ประชาสัมพันธ์โครงการทุกช่องทางให้ทั่วถึง เพื่อให้เกิดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้แอปพลิเคชันในการซื้อขายสินค้า

                 3.3 กิจกรรมระยะที่ 3 การลงพื้นที่เก็บข้อมูลเกษตรกร

                          1) ทีม อกช. ลงพื้นที่สรรหาเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ระยะที่หนึ่ง โดยจะทำหน้าที่คัดกรองเกษตรกรที่เหมาะสมและจัดทำและนำข้อมูลเข้าแอปพลิเคชันพร้อมทั้งสำรวจความต้องการของผู้บริโภค

                          2) การอบรม อกช. ในการใช้แอปพลิเคชันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร ระยะที่สอง

                          3) ใช้เครื่องมือที่ได้รับการสร้างและพัฒนาไปใช้ในกระบวนการเก็บข้อมูลและส่งเสริมทางด้านการตลาด

                          4) ติดตามการใช้เครื่องมือในการช่วยบริหารจัดการและประเมินผลเครื่องมือแอปพลิเคชัน โดยมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการหรือการพิจารณากระบวนการด้านเอกสารต่างๆ

                          5) ประชาสัมพันธ์โครงการทุกช่องทางให้ทั่วถึง เพื่อให้เกิดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้แอปพลิเคชันในการซื้อขายสินค้า

                 3.4 กิจกรรมระยะที่ 4 สรุปผลประเมินโครงการ

                          1) ทีม อกช. ลงพื้นที่สรรหาเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 2

                          2) ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

                          3) จัดส่งวีดฺทัศน์การดำเนินงานของโครงการความยาว 5 นาที และ 15 นาที

          4. ระยะเวลา

          ปีงบประมาณ .. 2564 (เริ่มเดือน กันยายน 2564)

          5. งบประมาณ

          วงเงินรวม 278,928,300 บาท 

          6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                 6.1 เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการพัฒนาตนเองร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีต่อความร่วมมือในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของหน่วยงานในอนาคต

                 6.2 เกษตรกรได้รับการพัฒนาอย่างครอบคลุมทั่วถึงและได้ทราบแนวทางการพัฒนาตนเอง สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเพื่อวางแผนลดต้นทุนการผลิต สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืน

                 6.3 เพิ่มช่องทางการตลาดโดยที่เกษตรกรสามารถติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรงในการซื้อขายและส่งมอบสินค้า โดยปราศจากพ่อค้าคนกลาง ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการตลาดได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9991

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!