WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี

GOV 8

ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอการขอผ่อนผันให้บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) ใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ตามคำขอประทานบัตรที่ 2 - 3/2553 และที่ 1 - 8/2555 ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และที่ 1 - 8/2555 ที่จังหวัดสระบุรี ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 และให้ อก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานเจ้าของพื้นที่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้ว อก. โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จะได้ดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนการพิจารณาอนุญาตประทานบัตรต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          อก. รายงานว่า

          1. บริษัทฯ เป็นผู้ถือประทานบัตร จำนวน 10 แปลง ในพื้นที่คำขอประทานบัตรที่ 2 - 3/2553 และที่ 1 - 8/2555 ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนและหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย และตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี รวมเนื้อที่ 2,706 ไร่ 79 ตารางวา [(อก. แจ้งว่าการออกประทานบัตรดังกล่าวเอกชนใช้ประโยชน์ที่ดินไปก่อนที่จะมีการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 และต่อมาบริษัทฯ ได้ยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมทั้งหมด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 (ก่อนที่พระราชบัญญัติแร่ .. 2560 มีผลบังคับใช้)] โดยปัจจุบันประทานบัตรดังกล่าวบางส่วนได้หมดอายุแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

รายการ

 

รายละเอียด

ลักษณะพื้นที่

 

1) พื้นที่คำขอประทานบัตรทั้ง 10 แปลง เป็นพื้นที่ป่าซึ่งได้ยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้ไว้แล้ว และอยู่ในพื้นที่บลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี ของลุ่มน้ำป่าสัก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538

2) พื้นที่เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมืองตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ .. 2560 – 2564 ซึ่งอนุญาตให้ทำเหมืองได้ตามมาตรา 17 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแร่ .. 2560

3) ไม่เป็นแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ ไม่เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับการทำเหมืองตามระเบียบและกฎหมายของส่วนราชการต่างๆ

4) พื้นที่มีสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากรายงาน EIA (รายงานที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560)

ความคุ้มค่า

 

โครงการมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและสังคมต่อท้องถิ่นและประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าความเสียหายจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น โดยพบว่า ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการอยู่ในระดับที่ดีมาก ซึ่งมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 6,359.57 ล้านบาท มีมูลค่าโครงการสุทธิภายหลังหักมูลค่าที่สูญเสียไปของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการเท่ากับ 5,953.64 ล้านบาท

การเห็นชอบ/อนุมัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน

 

1) คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเหมืองแร่ ได้มีมติเห็นชอบรายงาน EIA สำหรับคำขอประทานบัตรแล้วเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560

2) คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มีมติเห็นชอบกับรายงาน EIA เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 โดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด (เช่น ฟื้นฟูพื้นที่โครงการที่ผ่านการทำเหมืองแล้ว และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทุกปี) และรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการข้างต้นเพื่อเสนอ กก.วล. ทราบ ปีละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว

3) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ขัดข้อง

4) องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพและสำนักงานเทศบาลเมืองทับกวางได้เห็นชอบการขอประทานบัตรแล้ว

5) การปิดประกาศการขอประทานบัตรไม่มีผู้ร้องเรียนคัดค้าน

6) ไม่มีปัญหาการร้องเรียนคัดค้านเกี่ยวกับคำขอประทานบัตร และการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและความขัดแย้งกับราษฎรในพื้นที่

 

          2. การขอผ่อนผันการใช้พื้นที่เพื่อการทำเหมืองของบริษัทฯ ในครั้งนี้ เป็นการยื่นคำขอประทานบัตรใหม่ทับพื้นที่ประทานบัตรเดิมของบริษัทฯ เอง รวมเนื้อที่ 2,706 ไร่ 79 ตารางวา ทั้งนี้ การทำเหมืองในพื้นที่เดิมซึ่งยังมีปริมาณและคุณภาพแร่เพียงพอเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรในพื้นที่เดิมอย่างคุ้มค่า การทำเหมืองใช้เทคโนโลยีทันสมัย และเทคโนโลยีสะอาดเพื่อช่วยรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาพื้นที่ภายหลังการทำเหมืองจะมีลักษณะเป็นบ่อขนาดใหญ่ จากแผนการฟื้นฟูพื้นที่จะสามารถพัฒนาเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีความจุประมาณ 39.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถรองรับการใช้ในพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรมได้ 36,000 ครัวเรือน โครงการเหมืองหินดังกล่าวอยู่บนหลักโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy) ซึ่งการขอทำเหมืองในครั้งนี้เป็นการขอทำเหมืองในพื้นที่เดิมซึ่งไม่มีสภาพป่าไม้หรือสภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เหลืออยู่ รวมถึงได้รับการพิจารณาแล้วว่าผลดีจากการทำเหมืองมีมากกว่าผลเสียที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน หากบริษัทฯ ไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ดังกล่าว จะต้องมีการขออนุญาตในพื้นที่ใหม่ซึ่งจะส่งผลเสียโดยตรงต่อพื้นที่ป่าไม้แห่งใหม่ทั้งในด้านทัศนียภาพ และการทำลายทรัพยากร และจะกระทบต่อการผลิตปูนซีเมนต์ในภาพรวมของประเทศ เนื่องจากบริษัทฯ มีกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ถึง 1 ใน 5 ของกำลังการผลิตรวมของทั้งประเทศ รวมถึงการจ้างงานและความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร เนื่องจากบริษัทฯ ได้มีการจ้างงานในชุมชนในส่วนเหมืองประมาณ 500 ราย ส่วนของโรงงานปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากกว่า 20,000 ราย

          3. การดำเนินการในขั้นตอนนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ แต่เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อขออนุมัติผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และ 1 บี

 

หมายเหตุ : พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ หมายถึง พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ที่ยังคงมีสภาพป่าสมบูรณ์ ปรากฏอยู่ในปี 2525 ซึ่งจำเป็นจะต้องสงวนรักษาไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารและเป็นทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 บี หมายถึง พื้นที่ในลุ่มน้ำชั้นที่ 1 ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่ในพื้นที่ได้ถูกทำลาย ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อนหน้าปี 2525 และการใช้ที่ดิน หรือการพัฒนาที่ดำเนินการไปแล้วจะต้องมีมาตรการควบคุมเป็นพิเศษ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

A9764

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!