กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 22 September 2021 00:28
- Hits: 1086
กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565 วงเงินดำเนินการ จำนวน 1,485,456 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 307,479 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) กรอบการลงทุนสำหรับงานตามภารกิจปกติและโครงการต่อเนื่อง วงเงินดำเนินการ จำนวน 1,185,456 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 257,479 ล้านบาท และ (2) กรอบการลงทุนสำหรับการเพิ่มเติมระหว่างปี วงเงินดำเนินการ จำนวน 300,000 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 50,000 ล้านบาท สำหรับโครงการที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และการลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ดำเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ กำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน
2. เห็นชอบให้ สศช. ปรับวงเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2565 ให้สอดคล้องกับผลการจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม งบกลาง หรืองบประมาณที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณหรือได้รับความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ (สงป.) แล้ว และปรับเพิ่มกรอบวงเงินดำเนินการและกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนให้สอดคล้องกับการอนุมัติการลงทุนเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ทันทีภายในปีงบประมาณ
3. มอบหมายให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) โดยประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีในส่วนงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติและโครงการต่อเนื่องที่การเปลี่ยนแปลง ไม่มีผลกระทบต่อสาระสำคัญและกรอบวงเงินโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว
4. เห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ระดับกระทรวง และระดับรัฐวิสาหกิจ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจรับข้อเสนอแนะในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการ และเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนปี 2565 ให้ สศช. ทราบภายในทุกวันที่ 5 ของเดือนอย่างเคร่งครัด รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะและความก้าวหน้าการดำเนินโครงการลงทุนทุกไตรมาส เพื่อประโยชน์ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจได้อย่างต่อเนื่อง
5. รับทราบประมาณการงบทำการประจำปีงบประมาณ 2565 ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 65,171 ล้านบาท และประมาณการแนวโน้มการดำเนินงานช่วงปี 2566 – 2568ของรัฐวิสาหกิจในเบื้องต้นที่คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยประมาณปีละ 428,953 ล้านบาท และผลประกอบการจะมีกำไรสุทธิเฉลี่ยประมาณปีละ 82,722 ล้านบาท
และให้สศช. กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการ ดังนี้
ประเด็น |
ข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ |
การเบิกจ่ายลงทุน ของรัฐวิสาหกิจ |
ให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน (ตามข้อ 1) รวมทั้งเร่งรัดการลงทุนที่ได้รับอนุมัติผูกพันสัญญาและการก่อหนี้ในรายการลงทุนที่มีความพร้อมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เพื่อให้การประมาณการและการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
การปรับปรุง งบลงทุนระหว่างปี |
• ให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการขอปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนระหว่างปีให้แล้วเสร็จโดยผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงเจ้าสังกัดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ • การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุน โดยเฉพาะการลดกรอบวงเงินลงทุน ควรเป็นผลกระทบจากที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น หากไม่ใช่ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว สศช. อาจไม่พิจารณาดำเนินการ • สำหรับงบลงทุนที่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดินที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการงบประมาณ หรือได้รับความเห็นชอบจาก สงป. แล้ว ให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงบลงทุนดังกล่าวได้โดยให้แจ้งกระทรวงเจ้าสังกัดและ สศช. ทราบเพื่อ สศช. จะได้ปรับปรุงวงเงินลงทุนให้สอดคล้องกับงบประมาณที่เปลี่ยนแปลงไป |
การทบทวนสถานะ การเป็นรัฐวิสาหกิจ |
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (กค.) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พิจารณาความเป็นไปได้ของแผนการดำเนินงานหรือแผนธุรกิจของรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เห็นว่า รูปแบบการเป็นรัฐวิสาหกิจยังคงมีความเหมาะสมกับการดำเนินงานและการขับเคลื่อนตามภารกิจและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งได้ หรืออาจพิจารณาการปรับเปลี่ยนองค์กรในรูปแบบอื่นที่เหมาะสมต่อไป |
ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ ให้กระทรวงและรัฐวิสาหกิจเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงาน การให้บริการ การลดต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการที่เหมาะสมของแต่ละรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
มติ |
ตัวอย่างข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและรัฐวิสาหกิจ |
การเพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงาน |
• องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เร่งปรับแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมของแผนฟื้นฟูกิจการ (ฉบับปรับปรุง) โดยเฉพาะแผนการปฏิรูปเส้นทางการเดินรถโดยสารสาธารณะ • องค์การคลังสินค้า พิจารณาแนวทางและแผนส่งเสริมทางการตลาดในการใช้ประโยชน์คลังสินค้าที่มีอยู่ให้คุ้มค่า พัฒนาคลังสินค้าในส่วนกลางให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าใจกลางเมือง และเชื่อมโยงแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและเครือข่ายเกษตรกรเข้าสู่ช่องทางการจัดจำหน่าย • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และการกีฬาแห่งประเทศไทย กำหนดแนวทางการดำเนินงานและการลงทุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคโควิด 19 อย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินงานในปี 2565 รวมถึงพิจารณาแผนการดำเนินงานที่จะช่วยพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศภายหลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ • บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พิจารณาการเป็นพันธมิตรร่วมกับบริษัทขนส่งอื่นที่มีโครงข่ายครอบคลุมเข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด |
การให้บริการ |
• องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ต่อยอดแพลตฟอร์มต่างๆ ที่มีอยู่ให้สามารถจำหน่ายบัตรเข้าชมสวนสัตว์และสินค้าที่ระลึกได้มากขึ้น รวมถึงขยายความร่วมมือกับ ททท. ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการทำการตลาดร่วมกัน |
การลดต้นทุนการผลิต |
• การประปาส่วนภูมิภาค ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการปริมาณน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาเพื่อลดต้นทุนในการซื้อน้ำดิบจากเอกชน และเร่งเปลี่ยนท่อแตกรั่วเพื่อลดปริมาณน้ำสูญเสีย |
การบริหารจัดการ |
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดให้พิจารณาแผนการลงทุนที่คำนึงถึงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาล เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) เป็นต้น • การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้เร่งรัดการจัดทำข้อมูลที่จะปรับรูปแบบการดำเนินโครงการไปเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ของโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อนและสายสีแดงเข้ม และเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนโดยเร็ว • องค์การตลาด ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงรายได้จากการจำหน่ายข้าวสารและอาหารดิบเป็นหลักและพัฒนากิจการตลาดซึ่งเป็นภารกิจหลักให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 กันยายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
A9758