WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี)

GOV5 copy copy

ร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (ปฏิญญาครบรอบ 25 ปี ) [ร่างปฏิญญาฯ] ทั้งนี้ หากมีการแก้ไข ร่างปฏิญญาดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

[จะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุมเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (สนธิสัญญาฯ) ประจำปี .. 2021 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 (76th session of the United Nations General Assembly – UNGA 76)]

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. สนธิสัญญาฯ เป็นตราสารระหว่างประเทศที่สำคัญในกรอบการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ที่สมัชชาสหประชาชาติได้รับรองเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2539 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อห้ามทดลองอาวุธและระเบิดนิวเคลียร์อื่นๆ ไม่ว่าในสภาวะแวดล้อมใด (อวกาศส่วนนอก อากาศ ใต้น้ำ และใต้ดิน) และมิให้มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ให้ก้าวหน้า โดยปัจจุบันสนธิสัญญาฯ มี 170 รัฐให้สัตยาบันแล้ว ในส่วนของประเทศไทยได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561 อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาฯ ยังไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากข้อ 14 ของสนธิสัญญาฯ ระบุว่าสนธิสัญญาฯ จะมีผลใช้บังคับเมื่อรัฐที่มีศักยภาพทางนิวเคลียร์ 44 รัฐ ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 2 ให้สัตยาบันแล้วทั้งหมด (ไม่รวมถึงประเทศไทย) ซึ่งปัจจุบันมี 8 รัฐที่ยังไม่ได้ลงนามหรือให้สัตยาบัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (ปากีสถาน) สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (อิหร่าน) สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (อียิปต์) รัฐอิสราเอล (อิสราเอล) และสหรัฐอเมริกา (อเมริกา)

          2. การประชุมเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยมีเลขาธิการสหประชาชาติ ในฐานะผู้เก็บรักษาสนธิสัญญาฯ เป็นผู้จัดการประชุม ซึ่งในปีนี้มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 23 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงระหว่างการประชุม UNGA 76 นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ ได้ร่วมกันหารือเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการที่เป็นรูปธรรม เพื่อทำให้สนธิสัญญาฯ มีผลใช้บังคับ และเพื่อส่งเสริมการอนุวัติตามพันธกรณีภายใต้สนธิสัญญาฯ โดยคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาฯ (คณะกรรมาธิการฯ) จะได้เวียนร่างปฏิญญาฯ ให้รัฐผู้ให้สัตยาบันและ รัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ พิจารณาเพื่อรับรองอย่างเป็นทางการในการประชุมดังกล่าวต่อไป

          3. ร่างปฏิญญาฯ มีพื้นฐานมาจากร่างปฏิญญาและมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (17 กันยายน 2562) เห็นชอบแล้ว โดยร่างปฏิญญาฯ ฉบับนี้เป็นการปรับปรุงถ้อยคำเพื่อทำให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันและเพิ่มข้อความเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการครบรอบ 25 ปี ของ การเปิดให้ลงนามในสนธิสัญญาฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

สาระสำคัญ

วัตถุประสงค์

เพื่อเน้นย้ำเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของรัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามสนธิสัญญาฯ ที่จะร่วมกันรักษาไว้ซึ่งพลวัตในการส่งเสริมและผลักดันการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ

จำนวนรัฐที่ลงนาม

หรือให้สัตยาบัน

- ลงนามแล้ว 185 รัฐและให้สัตยาบันแล้ว 170 รัฐ (ในจำนวนนี้รวมถึงรัฐภายใต้ภาคผนวก 2 ออีก 8 รัฐ ที่การให้สัตยาบันจำเป็นต่อการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ โดยแบ่งประเภทได้ดังนี้

(1) รัฐที่ลงนามในสนธิสัญญาฯ แล้ว (5 รัฐ) ได้แก่ จีน อิหร่าน อียิปต์ อิสราเอล และอเมริกา

(2) รัฐที่ยังไม่ได้ลงนามในสนธิสัญญา (3 รัฐ) ได้แก่ เกาหลีเหนือ อินเดีย และปากีสถาน

ข้อเรียกร้อง

(1) เรียกร้องให้ 8 รัฐข้างต้น ลงนามและให้สัตยาบันสนธิสัญญาฯ โดยไม่ล่าช้าไปกว่านี้ เนื่องจากสนธิสัญญาฯ ได้เปิดให้ลงนามมากว่า 25 ปี ซึ่งรัฐผู้ให้สัตยาบันและรัฐผู้ลงนามยินดีต่อโอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับรัฐที่ยังมิได้ลงนามในสนธิสัญญาฯ จึงสนับสนุนให้รัฐเหล่านี้เข้าร่วมการประชุมต่างๆ ในอนาคตของคณะกรรมาธิการฯ ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์

(2) ให้ทุกรัฐงดเว้นการทดลองการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์หรือการระเบิดนิวเคลียร์อื่นๆ การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีอาวุธนิวเคลียร์ใหม่ๆ และการกระทำใดๆ ที่จะบั่นทอนเป้าหมาย เจตจำนง การอนุวัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาฯ และการคงไว้ซึ่งการระงับการทดลอง การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ โดยเน้นย้ำว่ามาตรการเหล่านี้มิได้มีผลผูกพันทางกฎหมายที่จะยุติการทดลองอาวุธนิวเคลียร์และการระเบิดนิวเคลียร์อื่นๆ อย่างถาวรในแบบเดียวกับที่จะสามารถบรรลุผลได้ด้วยการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ

การสนับสนุน

เพื่อให้บรรลุ

ตามวัตถุประสงค์

(1) ให้การสนับสนุนด้านการเมือง เทคนิค และการเงิน ที่จำเป็นต่อคณะกรรมาธิการฯ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างครบถ้วน มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างระบอบการตรวจพิสูจน์ที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งเป็นไปตามพันธกรณีของสนธิสัญญา

(2) สนับสนุนและส่งเสริมข้อริเริ่มและกิจกรรมร่วมกันในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี เพื่อส่งเสริมการมีผลใช้บังคับและความเป็นสากลของสนธิสัญญาฯ

(3) สนับสนุนการจัดสัมมนาและการประชุมระดับภูมิภาคต่างๆ เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ ในภูมิภาค

(4) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างรัฐและองค์กรที่ไม่ใช่รัฐ และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างความตระหนักรู้และการสนับสนุนสนธิสัญญาฯ รวมถึงการมีผลใช้บังคับของสนธิสัญญาฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 21 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

A9738

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!