(ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 16 September 2021 10:48
- Hits: 1616
(ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2565 ดังนี้
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. รายงานว่า
1. ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้จัดทำ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2565 เพื่อเป็นกลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นแนวทางให้เกิดการอนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่สนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ เป็นแผนระดับที่ 3 ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
1.1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการจัดประชุม Technical Focus Group จำนวน 6 ครั้ง และจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดตรังรวมทั้งมีการจัดประชุมวิพากษ์ (ร่าง) นโยบายและแผนฯ 1 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนชุมชนชายฝั่งเข้าร่วม
1.2 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 มีมติเห็นชอบในหลักการต่อ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดำเนินการปรับแก้ไข และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้ดำเนินการปรับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
1.3 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในการประชุมครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายดังกล่าว โดยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของความเชื่อมโยงแผน เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลไกการขับเคลื่อนแผน โดยควรมุ่งเน้นประเด็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและชุมชนในพื้นที่ให้มากขึ้น และดำเนินการจัดทำกลไกและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการสร้างหลักประกันสำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งปรับกรอบระยะเวลาเป็น พ.ศ. 2564 - 2565 และให้ ทส. ดำเนินการเสนอ (ร่าง) นโยบายดังกล่าว เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ปรับตามข้อเสนอแนะดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว
2. (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2565 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
2.1 วัตถุประสงค์ ได้แก่
2.1.1 เพื่ออนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล และสนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
2.1.2 เพื่อให้เกิดการพัฒนากลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และเห็นผลเป็นรูปธรรม
2.1.3 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและบูรณาการการทำงานของภาคส่วนต่างๆ ในการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.2 เป้าหมาย ได้แก่
2.2.1 ทรัพยากร คุณภาพสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งได้รับการอนุรักษ์ คุ้มครองและฟื้นฟูให้สามารถเป็นฐานสนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
2.2.2 เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒนาบนฐานการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
2.2.3 มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ครอบคลุมทั้งระบบ มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
2.2.4 มีองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม และบุคลากรที่มีศักยภาพและเพียงพอต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
2.3 มาตรการบริหารจัดการ 4 มาตรการ ประกอบด้วย
มาตรการที่ 1 อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างสมดุลและเป็นธรรม งบประมาณ 1,914.87 ล้านบาท |
||
แนวทาง |
ตัวอย่างตัวชี้วัด |
|
1) อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูระบบนิเวศ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความสำคัญ หรือมีแนวโน้มเสื่อมโทรม 2) บริหารจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง และกำหนดแนวทางแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างบูรณาการในรูปแบบกลุ่มหาด 3) พัฒนาเครื่องมือ กลไก ระบบฐานข้อมูลติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเล 4) พัฒนา กลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามอำนาจแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 5) ประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มเติม และเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ 6) เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะในทะเลและชายฝั่ง 7) เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง |
1) เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน 2,000 ไร่ต่อปี 2) มีพื้นที่ปะการังสมบูรณ์มากกว่าร้อยละ 9 ในปี 2565 และพื้นที่ปะการังเสียหายน้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2565 3) พื้นที่หญ้าทะเลได้รับการฟื้นฟู 156 ไร่ 4) พื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ1,000 ตารางกิโลเมตร 5) อัตราการรอดตายจากการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก ร้อยละ 90 6) จำนวนแผนบริหารจัดการขยะทะเลและพิทักษ์สัตว์ทะเลหายากระดับประเทศและระดับพื้นที่ 3 เรื่อง และมีระบบฐานข้อมูลติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ 1 ระบบ 7) กำหนด Environmental Checklist สำหรับสิ่งก่อสร้างริมทะเลที่มีการยกเว้นการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 8) น้ำเสียตามชายฝั่ง และเกาะทั่วประเทศได้รับการบำบัดอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี 2565 และร้อยละ 50 ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลอย่างน้อย 10 แห่ง |
|
ตัวอย่างโครงการ |
ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ |
|
1) โครงการจัดทำแผนที่ปะการังทั่วประเทศ 2) โครงการบูรณาการแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับแนวปะการัง 3) โครงการศึกษาวิจัยขยะทะเลและผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายาก 4) จัดทำระบบตรวจสอบ ติดตาม แจ้งเตือนมลพิษทางทะเลและสัตว์ทะเลมีพิษ 5) จัดทำร่างแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ
|
ทส. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) |
|
มาตรการที่ 2 บริการจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน งบประมาณ 673 ล้านบาท |
||
แนวทาง |
ตัวอย่างตัวชี้วัด |
|
1) แบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามแนวคิดการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ Marine Spatial Planning (การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล) 2) บริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเล ประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์มทะเลตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) บริหารจัดการทรัพยากรสินแร่และแหล่งพลังงานในทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 4) ส่งเสริม สนับสนุนการปรับเปลี่ยนการท่องเที่ยวในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานศักยภาพการรองรับของพื้นที่และกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม 5) เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการขนส่ง การเดินทาง ทางทะเลอย่างปลอดภัย เชื่อมโยงเป็นระบบ ควบคุมได้ และไม่กระทบกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม |
1) ต้นฉบับแผนที่การจำแนกเขตทางทะเลและชายฝั่งในลักษณะ One Marine Chart จำนวน 1 ฉบับ 2) พื้นที่หาดสมดุลได้รับการปกป้องและกำหนดมาตรการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 จำนวน 10 กลุ่มหาดภายในปี 2565 3) ร้อยละของความสำเร็จในการบริหารจัดการการประมงทะเล โดยมีการทำประมงไม่เกินศักยภาพการผลิตของปริมาณสูงสุดของสัตว์น้ำที่จะจับมาใช้ประโยชน์ได้ (MSY) ซึ่งคำนวณโดยกรมประมง 4) ลดระดับการทำการประมง IUU ผ่านการควบคุม ตามระบบการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance System : MCS) 5) ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (Ocean Health Index) มีค่ามากกว่าร้อยละ 75 ในปี 2565 |
|
ตัวอย่างโครงการ |
ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ |
|
1) โครงการจัดทำแผนที่การจำแนกเขตทางทะเลและชายฝั่งในลักษณะ One Marine Chart 2) โครงการจัดทำระบบส่งเสริมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีศักยภาพสำหรับอาชีพประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะ 3) แผนงานกำกับการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาและการใช้ประโยชน์จากสินแร่และแหล่งพลังงานในทะเลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับลักษณะของทะเลไทย 4) แผนงานการศึกษาและประเมินสถานการณ์แหล่งท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวภายใต้การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5) จัดตั้งเขตสงวนรักษา 17 แห่ง และเขตการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 50 แห่ง
|
ทส. กษ. คค. มท. ศรชล. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สศช. |
|
มาตรการที่ 3 เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเน้นการมีส่วนร่วมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง งบประมาณ 5,203.7 ล้านบาท |
||
แนวทาง |
ตัวอย่างตัวชี้วัด |
|
1) บริหารจัดการเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด และมีการประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัดในกรณีที่จังหวัดมีพื้นที่อยู่ในระบบหาดเดียวกัน 2) เสริมสร้างศักยภาพและบทบาทคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระดับจังหวัดโดยการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการ 3) มีฐานข้อมูลสารสนเทศการใช้ประโยชน์พื้นที่ทะเลด้านต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดชายทะเล 4) จัดตั้งศูนย์พิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ มีการแลกเปลี่ยนจากทุกแหล่งทั้งหน่วยงานราชการและเครือข่ายทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดชายทะเล เพื่อการสั่งการและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 5) ส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ชายฝั่ง 6) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรมในการร่วมอนุรักษ์ ติดตาม เฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7) ปรับสมดุลโครงสร้างองค์กรในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 8) บริหารจัดการองค์ความรู้ และส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 9) ส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ จิตสำนึก ความตระหนัก ความเข้าใจในบริบทการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนอย่างต่อเนื่อง
|
1) จำนวนชุมชนชายฝั่ง อปท. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมบทบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ต่อปี 2) ระดับความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อนุรักษ์ คุ้มครอง เฝ้าระวัง ขององค์กรเอกชน สมาคม ชมรม และสังคมต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร้อยละ 80 ในปี 2565 3) ศูนย์พิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1 แห่ง และจำนวนเครือข่าย ครบทั้งสิ้น 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล 4) เผยแพร่องค์ความรู้ทางทะเลและสามารถบริหารจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 เรื่องต่อปี 5) ระบบฐานข้อมูลสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ Near Real Time 1 ระบบ |
|
ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ |
||
ทส .คค. มท. |
||
ตัวอย่างโครงการ |
||
1) แผนงานกำหนดขอบเขต (Zoning) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) โครงการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติและเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 3) แผนงานความร่วมมือเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง |
||
มาตรการที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาความร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณจากแผนการปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน |
||
แนวทาง |
ตัวอย่างตัวชี้วัด |
|
1) สร้างความเข้มเเข็งด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทางทะเลให้ทันสมัยและสอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 |
1) แนวทางและ Road Map ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการปกป้อง รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล จำนวน 1 เรื่อง 2) แนวทาง และ Road Map ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea : UNCLOS) 3) จำนวนความร่วมมือกับต่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีกิจกรรมการดำเนินงานในแต่ละปีเพิ่มขึ้น 2 เรื่องต่อปี |
|
ตัวอย่างโครงการ |
ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ |
|
1) โครงการดำเนินการศึกษากฎหมายทางทะเล และจัดทำ Road map 2) โครงการอนุวัติตามและแสวงหาประโยชน์จากความตกลงทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งในระดับทวิภาคีพหุภาคี และนานาชาติ 3) แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาความร่วมมือด้านต่างประเทศ สร้างและรักษาผลประโยชน์ชาติ |
กต. กษ. คค. พน. มท. อก. ศรชล. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 กันยายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A9485
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ