WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล)

GOV1 copy copy

ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน .. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          ดศ. รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 46,600 คน ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2564 เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการสำรวจ

                 1.1 การทำงานที่บ้าน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานที่บ้าน (ร้อยละ 81.5) โดยมีเหตุผลหลักเพราะอาชีพไม่เหมาะกับการทำงานที่บ้าน ในขณะที่ประชาชนที่ได้ทำงานที่บ้านส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาในการทำงาน ทั้งนี้ ปัญหาที่ประชาชนประสบในการทำงานที่บ้าน เช่น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี

                 1.2 การเรียนออนไลน์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 42.0 มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนที่เรียนออนไลน์ ร้อยละ 14.7 มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้เรียนออนไลน์ และร้อยละ 43.3 ไม่มีบุตรหลานที่อยู่ในวัยเรียน โดยปัญหาที่ประสบจากการเรียนออนไลน์ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ไม่ค่อยเข้าใจในวิชาที่เรียน (2) ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (3) ไม่มีสมาธิ (4) สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี และ (5) อุปกรณ์ไม่ทันสมัย

                 1.3 แผนการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ประชาชนมีแผนการรับมือ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้านทุกครั้งและหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านหากไม่จำเป็น (ร้อยละ 95.4) (2) นำเงินออมออกมาใช้จ่าย (ร้อยละ 32.6) โดยพบในกลุ่มอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และ (3) กู้ยืมเงินหรือจำนำ/ขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 22.8) โดยพบในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป/ขับรถรับจ้าง/กรรมกรในสัดส่วนที่สูงกว่าอาชีพอื่น

                 1.4 การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในบ้าน พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 70 ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ เช่น ล้างมือด้วยน้ำสะอาด/สบู่/เจลแอลกอฮอล์ สังเกตอาการผิดปกติของสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ และงดใช้ของส่วนตัวร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว อย่างไรก็ตาม มีบางมาตรการที่ประชาชนปฏิบัติตามน้อยกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และแยกกันรับประทานอาหาร/แยกห้องอยู่อาศัย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากสภาพการอยู่อาศัยที่แออัด

                 1.5 การปฏิบัติตัวเมื่อออกจากบ้าน พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ เช่น สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์ และตรวจวัดไข้ก่อนเข้าไปยังสถานที่ต่างๆ

                 1.6 การเปิดเผยข้อมูลประวัติการเดินทาง (Timeline) ของตนเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยอมเปิดเผยข้อมูล (ร้อยละ 98.9) มีเพียงร้อยละ 1.1 ที่ไม่เปิดเผย โดยให้เหตุผลว่าเกรงจะถูกสังคมประณามและถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล

                 1.7 การใช้งานอินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนร้อยละ 81.9 ใช้อินเทอร์เน็ต โดยส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาในการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีเพียงร้อยละ 18.1 ที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยให้เหตุผล เช่น ไม่มีพื้นฐานความรู้ ใช้งานไม่เป็น และไม่ต้องการใช้งาน ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนการใช้งานแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line Whatsapp และ Facebook มากที่สุด (ร้อยละ 97.6) รองลงมาคือ แอปพลิเคชันด้านความบันเทิง เช่น Netflix YouTube และ TikTok (ร้อยละ 80.6) แอปพลิเคชันด้านการเงิน เช่น เป๋าตัง ถุงเงิน (ร้อยละ 78.6) และแอปพลิเคชันของธนาคารต่างๆ (ร้อยละ 78.6) 

                 1.8 การติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลแต่ไม่ส่งต่อ (ร้อยละ 42.4) โดยผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์จะพบเห็นเรื่องที่ผิดกฎหมายบนระบบอินเทอร์เน็นในสัดส่วน ดังนี้

 

เรื่องผิดกฎหมาย

สัดส่วนการพบเห็น (ร้อยละ)

พบเห็นด้วยตัวเองและใช้บริการ/หลงเชื่อ

พบเห็นด้วยตัวเองแต่ไม่ใช้บริการ/หลงเชื่อ

ไม่พบเห็น

เดือดร้อน

ไม่เดือดร้อน

ข่าวปลอม

2.8

1.0

69.1

27.1

เว็บพนันออนไลน์

1.4

0.4

62.8

35.4

การซื้อ/ขายของผิดกฎหมาย

0.6

0.3

24.8

74.3

สื่อลามก/อนาจาร/การค้าประเวณี

0.3

0.2

30.1

69.4

การซื้อขายยาเสพติด

0.3

0.0

11.7

88.0

 

                  1.9 เรื่องที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้ประชาชนปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จัดหา WiFi ฟรีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ร้อยละ 66.7) (2) จัดหาอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนในราคาถูก (ร้อยละ 60.0) (3) จัดหาอินเทอร์เน็ตให้นักเรียน/นักศึกษาฟรี (ร้อยละ 47.6) (4) จัดหาอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ให้ประชาชนในราคาถูก (ร้อยละ 42.2) และ (5) จัดให้มีสถานที่กลางในการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียนที่ขาดแคลน (ร้อยละ 33.0)

                 1.10 เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ลดภาระค่าสาธารณูปโภค (ร้อยละ 67.3) (2) จ่ายเงินชดเชย/เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (ร้อยละ 60.7) และ (3) ช่วยเหลือด้านค่าครองชีพ (ร้อยละ 58.7) 

                 1.11 โครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ (1) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 76.2) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 66.7) (3) มาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ (ร้อยละ 65.4) (4) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 61.2) และ (5) โครงการ . 33 เรารักกัน (ร้อยละ 43.3)

                 1.12 การลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้สิทธิมาตรการเยียวยาของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 55.7 ไม่ประสบปัญหา ร้อยละ 17.6 ไม่เข้าข่ายรับสิทธิ/ไม่ได้ใช้งาน และร้อยละ 12.2 ประสบปัญหา เช่น การลงทะเบียนมีขั้นตอนยุ่งยาก/ซับซ้อน ไม่มีทักษะ/ลงทะเบียนเองไม่ได้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี/ไม่ครอบคลุม และอุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่ทันสมัย/ขาดประสิทธิภาพ

          2. สสช. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในบ้าน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (2) ควรสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนทำงานที่บ้านและจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับนักเรียน/นักศึกษา พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ในการทำงาน/การเรียนการสอน และ WiFi ฟรี หรืออินเทอร์เน็ตราคาถูกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (3) ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ (4) ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชน และ (5) ควรให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ควรกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการลงทะเบียนที่ยุ่งยากซับซ้อน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9482

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!