WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

GOV6

การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ จำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (องค์กรร่วม) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. งบประมาณปี 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีรายละเอียดเปรียบเทียบกับงบประมาณปี 2564 ดังนี้

                 1. ที่มาของงบประมาณประจำปี 2565 จำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ องค์กรร่วมฯ ได้เสนอขอใช้เงินที่ได้รับจากการขายปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จำนวน 3,190,725 ดอลลาร์สหรัฐ และงบประมาณเหลือจ่ายของปี 2563 จำนวน 909,275 ดอลลาร์สหรัฐ

                 2. แผนการดำเนินงานในปี 2565 ประกอบด้วย ด้านการสำรวจ ด้านการพัฒนาปิโตรเลียม และด้านการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ดังนี้

 

แปลง

ผู้ดำเนินงาน

ตัวอย่างกิจกรรมสำคัญ

A-18

Carigali Hess Operating

Company Sdn. Bhd.

สำรวจและประมวลผลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ ในพื้นที่ West Flank

เจาะหลุมปิโตรเลียมในแหล่ง Bumi Deep Phrase I จำนวน 5 หลุม และเจาะหลุม BMA-15

ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ

ปรับปรุงหลุมผลิต และกระบวนการผลิต

B-17

และ

C-19

Carigali – PTTEPI Operating Company

Sdn. Bhd

มีแผนเจาะหลุมปิโตรเลียมใหม่ จำนวน 20 หลุม (แท่นหลุมผลิต TPB จำนวน 12 หลุมและแท่นหลุมผลิต MDG จำนวน 8 หลุม)

ศึกษาการพัฒนาแหล่งน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการศึกษาก่อนการออกแบบวิศวกรรม (Front End Engineering Design: FEED) และข้อเสนอโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมัน

สร้างแบบจำลอง 3 มิติ จากการรายงานผลการเจาะหลุมที่แท่นหลุมผลิต Tapi-B (TPB) และแท่นหลุมผลิต Muda-G (MDG)

ก่อสร้างแท่นหลุมผลิตบนบกและแนวเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สำหรับการพัฒนาแหล่งในระยะที่ 5 จำนวน 2 แท่น

รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุด 275 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

B-17-01

ดำเนินการด้านวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างของแท่นหลุมผลิต Andalas-C (ACD) และแท่นหลุมผลิต Jengka-C (JKC) ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565

ดำเนินการขายและขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว

ซ่อมแซมหลุมผลิตเดิมและเจาะผนังหลุมผลิตเพิ่ม เพื่อรักษาอัตราการผลิตของหลุม

 

          การดำเนินงานขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ได้รับการยอมรับจากชุมชนระหว่างประเทศว่า เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมร่วมกันและแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ นอกจากนี้จากการประเมินศักยภาพปิโตรเลียม พบว่าในพื้นที่ขององค์กรร่วมฯ จะยังคงมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไทยและมาเลเซียต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี และยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมสู่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงของทั้งสองประเทศด้วย อาทิ ส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบและการจ้างแรงงาน กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นานาประเทศในการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตพื้นที่ทับซ้อนในทะเลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (.. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทยมาเลเซีย .. 2533 ข้อ 3 กำหนดให้การเสนองบประมาณประจำปีขององค์กรร่วมฯ ต้องเสนอต่อรัฐบาลแต่ละฝ่าย เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมฯ ฉบับลงนาม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 ก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าห้าเดือน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9474

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!