WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภ

GOV1 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่ง (กลุ่มคนไร้บ้าน) เพื่อการส่งเสริมศักยภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ รวม 6 ประเด็น ได้แก่ (1) ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งจัดทำระบบการติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน (2) ควรสร้างมาตรการและกลไกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน (3) ควรมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในรูปแบบการให้บริการสวัสดิการเคลื่อนที่อย่างทั่วถึง และให้บริการแบบศูนย์พักพิงชั่วคราว (4) ควรปรับปรุงและดำเนินมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะ (5) ควรให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานและเชื่อมประสานการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่ และ (6) ควรให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและ ความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง 

          พม. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ

 

ผลการพิจารณา

1. ควรจัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อรวบรวมข้อมูลและรายงานสถานการณ์คนไร้ที่พึ่ง รวมทั้งจัดทำระบบการติดตามสถานการณ์ปัญหาที่เป็นปัจจุบัน

 

- พม. มีระบบจัดเก็บข้อมูลผู้ทำการขอทานและคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ มีระบบบริการทางสังคม เพื่อเก็บข้อมูลและการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม โดยระบบทั้งหมดมีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นควรให้มีการออกแบบระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ กับฐานข้อมูลกลาง และปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลร่วมกันและจัดประเภทกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนและควรมีการออกแบบระบบป้องกันกลุ่มเป้าหมายที่มีอาการทางจิตเวช

- ที่ประชุมเห็นควรให้มีการจัดทำระบบข้อมูลกลางในการบันทึกข้อมูลคนไร้ที่พึ่ง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเข้าข้อมูลคนไร้ที่พึ่งลงในระบบข้อมูลกลางและมีการกำหนดสิทธิบุคคลในการเข้าถึง

2. ควรสร้างมาตรการและกลไกการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งร่วมกับท้องถิ่นและชุมชน

 

- พม. ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการให้ความคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งผู้ทำการขอทาน รวมทั้งมีกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมเพื่อให้องค์กรสาธารณประโยชน์หรือองค์กรสวัสดิการชุมชนขอรับการสนับสนุนเงินเพื่อจัดทำโครงการด้านสวัสดิการสังคม

- ปัจจุบันยังไม่มีองค์กรที่ดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับคนไร้ที่พึ่ง โดยที่ประชุมเห็นควรให้มีการส่งเสริมให้มีองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งส่งเสริมให้มูลนิธิ สมาคม และวิสาหกิจชุมชนมายื่นจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อรับการส่งเสริมจาก สวส. ต่อไป

3. ควรมีมาตรการให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในรูปแบบการให้บริการสวัสดิการเคลื่อนที่อย่างทั่วถึงและให้บริการแบบศูนย์พักพิงชั่วคราว

 

- พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีการให้บริการในรูปแบบสถานีสวัสดิการเคลื่อนที่ในทุกจังหวัดเพื่อสำรวจคนไร้ที่พึ่ง และประชาสัมพันธ์แจ้งสิทธิให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน โดยที่ผ่านมามีสถานีสวัสดิการจำนวน 77 แห่ง รวมทั้งมีการให้บริการสถานแรกรับโดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศ และมีการทดลองเปิดบริการที่พักชั่วคราว หรือบ้านปันสุข

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นว่าการลงพื้นที่ในรูปแบบหน่วยเคลื่อนที่ควรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และควรใช้กลไกการทำงานตามบันทึกความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว

- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองและจัดสวัสดิการแก่คนไร้ที่พึ่ง เช่น การแก้ไขสถานะทางทะเบียนราษฎรการให้สิทธิรักษาพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งจัดตั้งศูนย์พักชั่วคราวในรูปแบบต่างๆ ให้สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนไร้ที่พึ่งในแต่ละพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเป็นผู้ดำเนินการและ มีภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน

4. ควรปรับปรุงและดำเนินมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งคนไร้ที่พึ่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายเฉพาะ

 

- กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการมีการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายโดยไม่จำกัดเฉพาะคนไร้ที่พึ่ง แต่รวมถึงผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งการให้บริการแก่กลุ่มบุคคลข้างต้นจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะ โดยในปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะให้การคุ้มครองในเบื้องต้นและประสานส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เนื่องจากการให้บริการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการไม่ใช่บริการที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาว่าไม่สามารถส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตามกฎหมายเฉพาะได้ เนื่องจากสถานคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะรับกลุ่มเป้าหมายเต็มจำนวน ซึ่งจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการคุ้มครองกลุ่มเป้าหมายเฉพาะต้องมีความพร้อมในการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งเห็นควรให้มีการทบทวนกฎหมาย คำสั่ง และประกาศ เพื่อให้มีการประสานส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5. ควรให้อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานและเชื่อมประสานการช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งในพื้นที่

 

- พม. ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนา อพม. โดยมีการจัดทำระบบข้อมูลการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพ อพม. ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งตระหนักถึงการมีค่าตอบแทนเพื่อ อพม. สามารถปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ความเดือดร้อนของกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันมี อพม. ทั้งสิ้น 134,400 คน ครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ

- ที่ประชุมเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของ อพม. ซึ่ง พม. มีเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวน อพม. ให้ครบ 547,000 คน เพื่อรองรับการให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายทางสังคมทั่วประเทศในสัดส่วน อพม. 1 คนให้การดูแล 40 ครัวเรือน รวมทั้งให้มีระบบสนับสนุนการทำงานและผลักดันสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับ อพม. โดยเทียบเคียงกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

6. ควรให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

- ปัจจุบันภายใต้พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง .. 2557 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง และคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด เป็นกลไกในการขับเคลื่อนทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เพื่อเสนอนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง

- พม. โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในชุมชนตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง .. 2557 ซึ่งในอนาคตจะพิจารณาขยายจำนวนศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งในชุมชนให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศตามความจำเป็นและสภาพปัญหา

- ที่ประชุมเห็นควรให้มีการส่งเสริมให้องค์กรที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือมีส่วนร่วมในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งให้สามารถจัดบริการสวัสดิการแก่คนไร้ที่พึ่งได้ตามมาตรฐานการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง โดยรัฐให้การสนับสนุนงบประมาณ ทรัพยากรในการดำเนินงาน และองค์ความรู้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9219

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!