WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564

GOV 3

รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2564 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ที่ประชุม กนง. เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และ 23 มิถุนายน 2564 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าลงและไม่ทั่วถึงมากขึ้นเมื่อเทียบกับประมาณการเดิม และคาดว่าในปี 2564 และ 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 และ 3.9 ตามลำดับ ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังเผชิญกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงด้านต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ (1) ความยืดเยื้อของการระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) เม็ดเงินเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอาจน้อยกว่าคาด (3) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการอาจได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่จนต้องปิดกิจการและเลิกจ้างแรงงานจำนวนมาก และ (4) ปัญหาห่วงโซ่การผลิตหยุดชะงัก (Supply Disruption) และต้นทุนค่าขนส่งทางเรือที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจส่งออกของประเทศไทย (ไทย) มากกว่าที่คาด

          ทั้งนี้ กนง. เห็นว่าโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน คือ การจัดหาและการกระจายวัคซีนที่เหมาะสมให้เพียงพอและทันการณ์และควรเร่งดำเนินมาตรการทางการเงินโดยเฉพาะสินเชื่อฟื้นฟูและการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะช่วยภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและทุกภาคส่วนต้องเร่งผลักดันมาตรการต่างๆ ให้เห็นผลโดยเร็วเพื่อช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในระยะ 6 เดือนข้างหน้า

          2. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน

                 2.1 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่อเนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคบริการที่ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและผลของมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ประกอบกับได้รับแรงส่งจากการส่งออกในเอเชียที่ขยายตัวดีและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดที่คลี่คลายและความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนในหลายประเทศ รวมถึงนโยบายการคลังที่ออกมาเพิ่มเติมและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดย กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าในปี 2564 และ 2565 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 และ 4.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาครัฐทั่วโลกได้ดำเนินมาตรการการเงินการคลังอย่างต่อเนื่องเพี่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาและธนาคารกลางอังกฤษเริ่มส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนทิศทางนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องและแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อกลับมาอยู่ที่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืนซึ่งอาจทำให้ภาวะการเงินโลกเริ่มตึงตัวขึ้นในระยะต่อไป

                 2.2 ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย

                          2.2.1 ภาวะการเงินไทยโดยรวมยังผ่อนคลาย อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะปานกลางและระยะยาวปรับลดลงตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตระยะยาวของสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ประกอบกับมีอุปสงค์จาก นักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ การออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 25641 (... ให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ) มูลค่า 5 แสนล้านบาทส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับสูงขึ้นบ้างตามการคาดการณ์ปริมาณพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อ้างอิงของธนาคารพาณิชย์โดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ปรับลดลงโดยเฉพาะวงเงินขนาดใหญ่

                          2.2.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่า ลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนตามสถานการณ์การระบาดระลอกสามในไทยและการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดย กนง. เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนให้ผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

                          2.2.3 เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังคงเปราะบางจากผลกระทบของโควิด-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและมีความไม่แน่นอนมากขึ้นจากฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อ่อนแอ นอกจากนี้ระบบการเงินไทยยังเผชิญความเสี่ยงในระยะข้างหน้าจากการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังไม่แน่นอนสูง ทำให้ต้องพึ่งพาความต่อเนื่องของมาตรการช่วยเหลือด้านการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบและยังต้องติดตามฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด

          3. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย

                 3.1 ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตาม การออก ... ให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ และแผนการจัดหาและ การกระจายวัคซีนของไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะช่วยเป็นแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยชะลอลงไม่มากนัก ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่า จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.9 โดยยังมีเม็ดเงินสนับสนุนเศรษฐกิจจากภาครัฐต่อเนื่องและคาดว่าไทยจะสามารถสร้างระดับภูมิคุ้มกันหมู่ได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ซึ่งจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวและสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น

                 3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2564 และ 2565 มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 17.3 และ 4.9 ตามลำดับ โดยการส่งออกสินค้าในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวดีตามแนวโน้มเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

                 3.3 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2564 มีแนวโน้มขาดดุลโดยคาดว่าจะขาดดุล 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและต้นทุนขนส่งและราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ส่วนปี 2565 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงจากการประเมินครั้งก่อนอยู่ที่ 12.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับรายรับจากนักท่องเที่ยวที่ปรับลดลงตามประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

                 3.4 การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนจะทยอยฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จากมาตรการให้เงินเยียวยาและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมของภาครัฐและการกระจายวัคซีนที่มีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับดีขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายในภาคการท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัวได้ในปี 2565 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.0 และ 6.0 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ

                 3.5 ประมานการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในปี 2564 และ 2565 โดยอัตราเงินเฟ้อในปี 2564 ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่ ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ การครั้งก่อนจากผลของมาตรการลดค่าไฟฟ้าที่จะสิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ ขณะที่ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงเป็นร้อยละ 0.2 และ 0.3 ในปี 2564 และ 2565 ตามลำดับ ตามแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการระบาดหลายระลอก

__________________________

1... ให้อำนาจ กค. กู้เงินได้ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9217

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!