สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 07 September 2021 22:19
- Hits: 958
สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 12 ด้าน
นโยบายหลัก |
มาตรการ/การดำเนินการ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
(1) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ยกระดับชุมชนท้องถิ่นสู่ชุมชนดิจิทัล และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนตั้งแต่ระบบการผลิต การแปรรูป และการตลาด จำนวน 61 ชุมชน (2) จัดกิจกรรมจิตอาสา ผ่านโครงการ “จิตอาสารักษ์แม่น้ำ” โดยเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในคลองและลุ่มน้ำสายหลัก รวมทั้งตรวจกำกับดูแลโรงงานที่ระบายน้ำลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จำนวน 300 โรงงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 243 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น สามารถจับกุมยาเสพติดประเภทยาบ้าได้ 322.13 ล้านเม็ด และประเภทกัญชา 17,392.93 กิโลกรัม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม |
(1) ติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยติดตามทับหลังและได้รับคืนจากสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา จำนวน 2 รายการ (2) เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัล “หอสมุดแห่งชาติ ไม่หยุดให้ความรู้ชวนอ่านหนังสือออนไลน์” ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม โดยให้บริการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จำนวน 2,200 เรื่อง หนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์จาก 100 ประเทศทั่วโลก จำนวน 60 ภาษา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก |
(1) พัฒนาระบบตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการตรวจลงตราแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยให้สะดวก รวดเร็ว และลดการสัมผัสระหว่างบุคคล โดยขยายการให้บริการ e-Visa ในสถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก (2) ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในมิติต่างประเทศ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีกับประเทศที่มีศักยภาพส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แสวงหาโอกาสทางธุรกิจให้ผลิตภัณฑ์และบริการ BCG และส่งเสริมให้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม BCG |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค |
ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีแรงงานในสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรม เข้ารับการฝึกอบรม 1,833 คน และจัดแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบในพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตปทุมวัน เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนผู้ประกอบการในพื้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 12 ประเภท |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก |
(1) จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce ผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com โดยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ขายสินค้า 5,670 ร้าน (2) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา จำนวน 14,762,717 คน วงเงินอนุมัติ 218 ล้านบาท |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
ออกประกาศแนวปฏิบัติการเก็บค่าเทอมลดภาระผู้ปกครองในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
จัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ รองรับผู้ป่วยได้ 224 เตียง และดำเนินโครงการสร้างเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการจัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ มี อสม. และหมอประจำบ้าน ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย 917,869 คน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน |
แก้ปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำ โดยจัดเก็บแล้ว จำนวน 750,949 ตัน และดำเนินโครงการสนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช. จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล จำนวน 4,862 แปลง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ |
ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Data) โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ชื่อ CO-link เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรักษาภายใน 24 ชั่วโมง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||
12) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม |
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีสำเร็จ จำนวน 9,993 เรื่อง ทุนทรัพย์ 5,965.07 ล้านบาท และขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยมีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน จำนวน 378 แห่ง และมีข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญาที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยสามารถยุติ 659 คดี |
2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน |
มาตรการ/การดำเนินการ |
|
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร เช่น ลดภาระดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตร 362,933 ราย และปรับปรุงแผนที่แปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 133,367 ไร่ |
|
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
(1) ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว 20,042.70 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่น ผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) 61,524.34 ล้านบาท (2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,148,363 คน |
|
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก |
(1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก โดยมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 3,735 ราย เกิดมูลค่าเจรจาการค้า 16,290.84 ล้านบาท (2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 1,951 ราย เกิดมูลค่าการค้า 3,766.27 ล้านบาท |
|
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม |
(1) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 จำนวน 1,448,861 ราย |
|
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
(1) โครงการจ้างงานระยะสั้นแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ดำเนินการจ้างเหมาบริการโดยการจัดซื้อจัดจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 105 คน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,500 บาท (2) โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โดยมีสถานประกอบการขอสินเชื่อ 51 ราย และสามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ 1,478 คน |
|
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
(1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดำเนินการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนฯ 145 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 73,480 ล้านบาท (2) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเมืองอัจฉริยะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ให้แก่บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 2 บริษัท |
|
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
(1) พัฒนาครูวิทยาการคำนวณ เพิ่มสมรรถนะการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการประชุมการปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณให้กับครูผู้สอน มีครูผ่านการอบรม 435 คน (2) ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) โดยจัดอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู รุ่น 2 ให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีผู้ผ่านการอบรม 141,354 คน |
|
8) การแก้ไขปัญหา ยาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ |
ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เช่น มอบเงินยังชีพรายเดือนแก่บุตรผู้เสียชีวิต/บาดเจ็บสาหัส/พิการ 4,879 ราย และมอบเงินยังชีพรายเดือนแก่ผู้พิการตามลักษณะความพิการ 785 ราย |
|
9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
(1) พัฒนางานบริการระบบบริการออนไลน์ (Digital Service) โดยพัฒนาระบบ MEASY ผ่าน www.eservice.mea.or.th ซึ่งประชาชนสามารถขอรับบริการในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น การลงทะเบียนคืนเงินหลักประกัน และการขอใช้ไฟฟ้าใหม่ (2) พัฒนาระบบศูนย์กลางการบริการประชาชนในการติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Citizen Portal) โดยเปิดระบบให้ประชาชนใช้บริการแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” มีบริการประชาชนกว่า 10 บริการ เช่น สิทธิประกันสังคม และสิทธิหลักประกันสุขภาพ |
|
10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
(1) โครงการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำในเขื่อนตามที่ร้องขอ โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 166.07 ล้านไร่ (2) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม โดยดำเนินการเจาะบ่อบาดาล 88 บ่อ และก่อสร้างระบบกระจายน้ำ 15 แห่ง มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 2,250 ครัวเรือน และปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 2.63 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A9216
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ