WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564)

GOV 5

 

 

 

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 พฤษภาคม 2564) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

          1. นโยบายหลัก 12 ด้าน

 

 

นโยบายหลัก

 

มาตรการ/การดำเนินการ

1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์

 

(1) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ยกระดับชุมชนท้องถิ่นสู่ชุมชนดิจิทัล และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนตั้งแต่ระบบการผลิต การแปรรูป และการตลาด จำนวน 61 ชุมชน

(2) จัดกิจกรรมจิตอาสา ผ่านโครงการจิตอาสารักษ์แม่น้ำโดยเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในคลองและลุ่มน้ำสายหลัก รวมทั้งตรวจกำกับดูแลโรงงานที่ระบายน้ำลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จำนวน 300 โรงงาน

2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ

 

จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนพฤษภาคม .. 2564 จำนวน 243 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น สามารถจับกุมยาเสพติดประเภทยาบ้าได้ 322.13 ล้านเม็ด และประเภทกัญชา 17,392.93 กิโลกรัม

3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

 

(1) ติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยติดตามทับหลังและได้รับคืนจากสำนักงานสืบสวนเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ สหรัฐอเมริกา จำนวน 2 รายการ

(2) เปิดตัวห้องสมุดดิจิทัลหอสมุดแห่งชาติ ไม่หยุดให้ความรู้ชวนอ่านหนังสือออนไลน์ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม โดยให้บริการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) จำนวน 2,200 เรื่อง หนังสือพิมพ์และนิตยสารออนไลน์จาก 100 ประเทศทั่วโลก จำนวน 60 ภาษา

4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก

 

(1) พัฒนาระบบตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการตรวจลงตราแก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยให้สะดวก รวดเร็ว และลดการสัมผัสระหว่างบุคคล โดยขยายการให้บริการ e-Visa ในสถานเอกอัคราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในหลายประเทศทั่วโลก

(2) ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในมิติต่างประเทศ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีกับประเทศที่มีศักยภาพส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม แสวงหาโอกาสทางธุรกิจให้ผลิตภัณฑ์และบริการ BCG และส่งเสริมให้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม BCG

 

5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย

 

 

เรื่อง   มาตรการ/การดำเนินการ
(1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง   เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2564 มีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ 1,734,145.19 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 5.38 และมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน 402,774.87 ล้านบาท (รวมก่อหนี้) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 5.34 (ข้อมูล วันที่ 28 พฤษภาคม 2564)
(2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม  

(2.1) พัฒนาของเสียเป็นทรัพยากรทดแทนและสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อพัฒนาและประยุกต์ใช้วัตถุดิบแทนในอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์

(2.2) พัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงเทคโนยีหรือแนวโน้มการค้าโลก โดยดำเนินโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการ SMEs ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 614 โครงการ

(3) การพัฒนาภาคเกษตร   เฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) โดยดำเนินการแก้ไขและควบคุมการระบาด เช่น ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ และใช้วัคซีนควบคุมโรคจำนวน 60,000 โดส และส่งเสริมโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก จำนวน 264 ราย
(4) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว   ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยแนวคิด BCG Model เช่น การขับเคลื่อนแผนการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและกีฬาสีขาวและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเป้าหมายดำเนินโครงการมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย โดยยึดแนวทางและมาตรการป้องกันความเสี่ยงเรื่องโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำนวน 9,049 ราย และดำเนินโครงการพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) โดยการพัฒนาและยกระดับพื้นที่ท่องเที่ยวต้นแบบให้มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย เป็นธรรม 5 กลุ่มพื้นที่ต้นแบบ
(5) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค   จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน มีมูลค่า 1,027,632.41 ล้านบาท และผลักดันเปิดช่องทางผ่านแดนภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 2 แห่ง
(6) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน   ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า จำนวน 641 แห่ง และสนับสนุนการวิเคราะห์ทดสอบระบบรางรถไฟและส่วนเชื่อมต่อการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการไทยแบบครบวงจร มากกว่า 40 โครงการ
(7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ   ขยายโครงการอินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคมในพื้นที่ ดำเนินการนำร่อง เช่น โครงการนำร่องด้านเกษตรดิจิทัล ศูนย์ฝึกอบรมผาหมี จังหวัดเชียงราย และโครงการนำร่องสถานีอัจฉริยะ (Smart Station) ด้วยเทคโนโลยี 5G สถานีกลางบางซื่อ
(8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม   ส่งมอบห้องแยกโรคความดันลบสำหรับโรงพยาบาลสนาม รวม 15 ชุด และสนับสนุนการบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่ในสถานการณ์โควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครให้กับศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) โดยนำระบบบูรณาการข้อมูล iMap มาใช้ในการสนับสนุนการบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่
(9) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่   พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy: NEA) จำนวน 19,469 ราย และยกระดับผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพและศิลปหัตถกรรมไทยสู่สากลด้วยนวัตกรรมและคุณค่าแห่งศิลปาชีพ โดยมีผู้ประกอบอาชีพสร้างผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมได้รับการพัฒนาศักยภาพแล้ว จำนวน 280 ราย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเกิดมูลค่า 4,720,000 บาท
     

6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

 

ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีแรงงานในสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรม เข้ารับการฝึกอบรม 1,833 คน และจัดแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบในพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตปทุมวัน เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนผู้ประกอบการในพื้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 12 ประเภท

7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก

 

(1) จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce ผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com โดยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ขายสินค้า 5,670 ร้าน

(2) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี มีสมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา จำนวน 14,762,717 คน วงเงินอนุมัติ 218 ล้านบาท

8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย

 

ออกประกาศแนวปฏิบัติการเก็บค่าเทอมลดภาระผู้ปกครองในช่วงโควิด-19 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น และส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทุกช่วงวัย โดยส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก

9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม

 

จัดตั้งโรงพยาบาลสนามบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรเพื่อคนพิการ รองรับผู้ป่วยได้ 224 เตียง และดำเนินโครงการสร้างเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการจัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ มี อสม. และหมอประจำบ้าน ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วย 917,869 คน

10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

แก้ปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแหล่งน้ำ โดยจัดเก็บแล้ว จำนวน 750,949 ตัน และดำเนินโครงการสนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช. จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล จำนวน 4,862 แปลง

11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ

 

ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขนาดใหญ่ (Big Data) โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ชื่อ CO-link เพื่อแก้ปัญหาการจัดสรรผู้ป่วยเข้าสู่ระบบรักษาภายใน 24 ชั่วโมง

12) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม

 

ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีสำเร็จ จำนวน 9,993 เรื่อง ทุนทรัพย์ 5,965.07 ล้านบาท และขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท .. 2562 โดยมีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน จำนวน 378 แห่ง และมีข้อพิพาททางแพ่งและข้อพิพาททางอาญาที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยสามารถยุติ 659 คดี

 

          2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง

 

นโยบายเร่งด่วน

 

มาตรการ/การดำเนินการ

1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

 

ให้ความช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกร เช่น ลดภาระดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตร 362,933 ราย และปรับปรุงแผนที่แปลงที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 133,367 ไร่

2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

 

(1) ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว 20,042.70 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่น ผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) 61,524.34 ล้านบาท

(2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,148,363 คน

3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

 

(1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก โดยมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 3,735 ราย เกิดมูลค่าเจรจาการค้า 16,290.84 ล้านบาท

(2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 1,951 ราย เกิดมูลค่าการค้า 3,766.27 ล้านบาท

4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม

 

(1) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

(2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 จำนวน 1,448,861 ราย

5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน

 

(1) โครงการจ้างงานระยะสั้นแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ดำเนินการจ้างเหมาบริการโดยการจัดซื้อจัดจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 105 คน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 10,500 บาท

(2) โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โดยมีสถานประกอบการขอสินเชื่อ 51 ราย และสามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ 1,478 คน

6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต

 

(1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ดำเนินการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนฯ 145 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 73,480 ล้านบาท

(2) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษและเมืองอัจฉริยะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 2600 เมกะเฮิรตซ์ ให้แก่บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคม จำนวน 2 บริษัท

7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21

 

(1) พัฒนาครูวิทยาการคำนวณ เพิ่มสมรรถนะการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการประชุมการปฏิบัติการการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณให้กับครูผู้สอน มีครูผ่านการอบรม 435 คน

(2) ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) โดยจัดอบรมออนไลน์หลักสูตรการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสำหรับครู รุ่น 2 ให้แก่ครูระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีผู้ผ่านการอบรม 141,354 คน

8) การแก้ไขปัญหา ยาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

 

ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เช่น มอบเงินยังชีพรายเดือนแก่บุตรผู้เสียชีวิต/บาดเจ็บสาหัส/พิการ 4,879 ราย และมอบเงินยังชีพรายเดือนแก่ผู้พิการตามลักษณะความพิการ 785 ราย

9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

 

(1) พัฒนางานบริการระบบบริการออนไลน์ (Digital Service) โดยพัฒนาระบบ MEASY ผ่าน www.eservice.mea.or.th ซึ่งประชาชนสามารถขอรับบริการในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น การลงทะเบียนคืนเงินหลักประกัน และการขอใช้ไฟฟ้าใหม่

(2) พัฒนาระบบศูนย์กลางการบริการประชาชนในการติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Citizen Portal) โดยเปิดระบบให้ประชาชนใช้บริการแอปพลิเคชันทางรัฐมีบริการประชาชนกว่า 10 บริการ เช่น สิทธิประกันสังคม และสิทธิหลักประกันสุขภาพ

10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย

 

(1) โครงการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่การเกษตรและเติมน้ำในเขื่อนตามที่ร้องขอ โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 166.07 ล้านไร่

(2) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม โดยดำเนินการเจาะบ่อบาดาล 88 บ่อ และก่อสร้างระบบกระจายน้ำ 15 แห่ง มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 2,250 ครัวเรือน และปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 2.63 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9216

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!