WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural Reform Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

GOV9

ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural Reform Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3 ผ่านระบบการประชุมทางไกล

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านการปฏิรูปโครงสร้าง (APEC Structural Reform Ministerial Meeting: SRMM) ครั้งที่ 3 โดยมอบหมายให้ สศช. ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการยกระดับและขับเคลื่อนการยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปคสำหรับปี 2564-2568 (Enhanced APEC Agenda for Structural Reform: EAASR) และแผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจระยะที่ 3 รวมทั้งการสร้างความชัดเจนถึงบทบาทของประเทศไทย (ไทย) เอเปคโดยยึดเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยในการประชุม SRMM ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนิวซีแลนด์เป็นเจ้าภาพการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. รัฐมนตรี SRMM ได้หารือและแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย

                 1.1 แนวทางการฟื้นตัวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง โดยเลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้นำเสนอแนวทางการจัดทำนโยบายเชิงโครงสร้างเพื่อการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ซึ่งจะเป็นรากฐานในการเสริมสร้างความเท่าเทียมและยั่งยืนของเขตเศรษฐกิจในอนาคต โดยเขตเศรษฐกิจควรคำนึงถึง 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (1) การสร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืน (2) การอำนวยความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากรในการเพิ่มผลิตภาพและส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และ (3) การสนับสนุนประชากรในช่วงเปลี่ยนผ่าน

                 1.2 ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและจุลภาคที่ส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างมีประสิทธิภาพจากสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทั้งนี้ รัฐมนตรี SRMM ได้ตระหนักถึงความสำคัญของทั้งนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจจุลภาคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืน

                 ที่ประชุมฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายชัดเจน ผ่านการปฏิรูปตลาดและนโยบายทางการเงิน รวมถึงการใช้นวัตกรรมทางการเงินสีเขียวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยตั้งเป้าไปที่การลงทุนในโครงการหรืออุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสนับสนุนการลงทุนและการจ้างงานของภาคเอกชนและ MSMEs เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดทำมาตรการการคุ้มครองทางสังคม ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีความครอบคลุมและทั่วถึง

          2. รัฐมนตรี SRMM ได้รับรองแถลงการณ์ร่วมฯ รวมทั้งให้ความเห็นชอบในหลักการต่อเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) การยกระดับวาระการปฏิรูปโครงสร้างเอเปคปี 2564 - 2568 ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการเติบโต ขจัดอุปสรรคด้านการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมถึงเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และ (2) แผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องความยากง่ายในการดำเนินธุรกิจระยะที่ 3 ซึ่งให้ความสำคัญใน 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเข้าถึงเครดิต การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง การคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย การจดทะเบียนทรัพย์สิน และการแก้ไขปัญหาการล้มละลาย โดยได้กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาตัวชี้วัดอยู่ที่ร้อยละ 12 ภายในปี 2568

          ทั้งนี้ ข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ประกอบด้วย

          1. เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะยาวผ่านการปฏิรูปโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ โดยประเทศไทย (ไทย) ให้ความสำคัญกับนโยบายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน หรือการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

          2. แลกเปลี่ยนแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของไทย ซึ่งประกอบด้วย 5 แนวทางที่สำคัญ ได้แก่ (1) การดำเนินการตามแผน 30/30 จะผลิตรถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ ร้อยละ 30 ภายในปี 2573 (2) การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่มีต้นทุนที่แข่งขันได้ เป็นธรรม และเข้าถึงได้ (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทุกสาขาร้อยละ 30 ภายในปี 2580 ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน (4) การผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติของไทยในการพื้นตัวอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหลังสถานการณ์โควิด-19 และ (5) การส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9206

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!