WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564

GOV 7

การขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อ 1 – 4 ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ทั้งนี้ ให้ กนช. และหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายรับความเห็นของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กนช. รายงานว่า กนช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ที่มี รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561 – 2580) และพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้

          1. เรื่องมาตรการรับมือฤดูฝน 10 มาตรการ

                 1.1 กนช. รายงานว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้

 

ดำเนินการแล้วเสร็จ

 

อยู่ระหว่างดำเนินการ

มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ

 

มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำนวน 625 แห่ง ดำเนินการไปแล้ว 400 แห่ง

มาตรการที่ 2 บริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก

 

มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา โดยการดำเนินการร่วมกันของ 5 หน่วยงาน ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลประทาน กรมเจ้าท่า กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร

มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - ขนาดกลาง และเขื่อนระบายน้ำ

 

มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงการส่งน้ำ

มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ/สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน

 

มาตรการที่ 9 สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์

มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม และพื้นที่ฝนน้อยกว่าค่าปกติ

 

มาตรการที่ 10 ติดตามประเมินผลปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย

 

                  จากการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน 2564 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งในฤดูฝน ปี 25641 ดังนี้

 

เดือน

พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

กรกฎาคม

482 ตำบล 128 อำเภอ 31 จังหวัด

1,384 ตำบล 213 อำเภอ 24 จังหวัด

สิงหาคม

753 ตำบล 139 อำเภอ 29 จังหวัด

1,603 ตำบล 272 อำเภอ 34 จังหวัด

กันยายน

1,504 ตำบล 314 อำเภอ 54 จังหวัด

-

ตุลาคม

1,662 ตำบล 306 อำเภอ 58 จังหวัด

-

พฤศจิกายน

1,245 ตำบล 195 อำเภอ 39 จังหวัด

-

 

                  1.2 กนช. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงเสนอให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

                          1.2.1 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมในการป้องกันปัญหาปริมาณฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม 2564 โดยหาแหล่งเก็บกักน้ำเพิ่มเติม

                          1.2.2 ให้ทุกหน่วยงานเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและน้ำหลากในช่วงเดือนกันยายนและเดือนสิงหาคม 2564 รวมทั้งเตรียมแผนงานสำหรับการขอรับการสนับสนุนงบประมาณให้สามารถรับมือได้ทันสถานการณ์

                          1.2.3 ให้การประปานครหลวงและกรมชลประทานจัดทำแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงการส่งน้ำเพื่อลดความสูญเสียในระบบอย่างเป็นรูปธรรม

                          1.2.4 ให้กรมชลประทานวางแผนการจัดสรรน้ำตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งจัดสรรน้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็มตลอดช่วงฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564

                          1.2.5 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม เช่น การกำจัดผักตบชวาเพื่อรองรับฤดูฝนที่จะมาในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564

                 1.2.6 ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแผนการเติมน้ำใต้ดินตลอดฤดูฝนนี้ให้มากที่สุดเพื่อเป็นน้ำต้นทุนในฤดูแล้งหน้า

                 1.2.7 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนและส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย

                 1.2.8 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมฝนหลวงและการบินเกษตร) ดำเนินการทำฝนหลวงเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

          2. เรื่องการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการแผนงานเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ หรือระบบ Thai Water Plan (TWP)

                 2.1 กนช. รายงานว่า TWP เป็นเครื่องมือที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดทำ รวบรวม และวิเคราะห์แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำของประเทศเป็นฐานข้อมูลกลางที่มีความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ สามารถลดความซ้ำซ้อน จัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วนเพื่อใช้ในการกำหนดงบประมาณ รวมทั้งสามารถติดตามและประเมินผลโครงการด้านทรัพยากรน้ำที่เห็นผลสัมฤทธิ์ชัดเจน โดยแบ่งกระบวนการเป็น 3 ช่วง ดังนี้

                          2.1.1 หน่วยงานและจังหวัดจัดทำและยืนยันแผนปฏิบัติการในระบบตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564

                          2.1.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนกันยายน 2564 และคณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาแผนปฏิบัติการในเดือนตุลาคม 2564

                          2.1.3 การพิจารณาของ กนช. โดย สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. จะวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำของประเทศในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 และเสนอ กนช. พิจารณาในเดือนธันวาคม 2564 เพื่อให้ทันตามปฏิทินงบประมาณ ปี 2566

                 2.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำประจำปี 2566 และแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ 5 ปี (.. 2566 – 2570) ผ่านระบบ TWP และให้เชื่อมต่อกับระบบของสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป

          3. เรื่องการจัดทำทะเบียนแหล่งน้ำผ่านระบบ Thai Water Resources (TWR) 

                 3.1 กนช. รายงานว่า TWR เป็นฐานข้อมูลการบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ำทั่วประเทศสำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและบริหารจัดการน้ำของประเทศทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ โดยการดำเนินงานมี 3 ช่วง ดังนี้

                          3.1.1 การรวบรวมข้อมูลบัญชีแหล่งน้ำ .. 2562 โดย สทนช. ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดทำฐานข้อมูลบัญชีแหล่งน้ำและบูรณาการข้อมูลแหล่งน้ำทั่วประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                          3.1.2 การจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับขึ้นทะเบียน TWR

                          3.1.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดำเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ำผ่านระบบ TWR เมื่อดำเนินการขึ้นทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะทำให้ทราบหน่วยงานรับผิดชอบหลักและสามารถระบุแหล่งที่มาของงบประมาณได้ ซึ่งจะไปเชื่อมโยงกับระบบ TWP ทำให้การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำมีความพร้อมสามารถเสนอขอตั้งงบประมาณได้ตามแผนที่กำหนด

                 3.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. ดำเนินการ ดังนี้

                          3.2.1 ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. เร่งรัดดำเนินการลงทะเบียนแหล่งน้ำทั้งที่ดำเนินการมาแล้วและที่จะดำเนินการต่อไป ผ่าน TWR เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการเสนอขอตั้งงบประมาณ หากไม่ได้อยู่ในทะเบียนแหล่งน้ำจะไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของโครงการโดยการเชื่อมโยงกับระบบ TWP

                          3.2.2 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณารับรองแหล่งน้ำในระบบ TWR

                          3.2.3 เชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนแหล่งน้ำจากระบบ TWR กับระบบ TWP เพื่อใช้ในการพิจารณาแผนงานโครงการ

          4. เรื่องแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ำเพื่อให้แผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ำในระดับตำบลและระดับจังหวัดเกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม และตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ กนช. พิจารณาแล้วจึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องและ อปท. จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการขนาดเล็กด้านทรัพยากรน้ำ ดังนี้

                 4.1 การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำสามารถประยุกต์ใช้ดัชนีชี้วัดการจัดการน้ำ Water Management Index (WMI) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายและปรับให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของพื้นที่นั้นๆ

                 4.2 กระบวนการและวิธีการดำเนินการ

                          4.2.1 คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการขนาดเล็ก โดยดำเนินการสำรวจข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสภาพปัญหาในพื้นที่และปรับดัชนีชี้วัดการจัดการน้ำ WMI ให้เป็นปัจจุบัน

                          4.2.2 กำหนดพื้นที่เป้าหมาย และกำหนดประเภทโครงการตามที่ กนช. มีมติเห็นชอบ เช่น เพิ่มน้ำต้นทุน ระบบส่งน้ำ ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น

                          4.2.3 กรอบระยะเวลาดำเนินการเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 - กันยายน 2565

          5. เรื่องการทบทวนบทบาทภารกิจหน่วยงานในการบริหารทรัพยากรน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเด็นเป้าหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ำฝน ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561 – 2580) เนื่องด้วยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการได้มีการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 เพื่อพิจารณาข้อมูลพื้นที่เป้าหมายการดำเนินการของกรมทรัพยากรน้ำตามคำชี้แจงของ ทส. แล้วมีมติให้สำนักงาน ... ส่งข้อมูลเป้าหมายและหน่วยงานรับผิดชอบในพื้นที่เกษตรน้ำฝนตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561 – 2580) ที่ ทส. เสนอมา ให้ สทนช. พิจารณาและเสนอ กนช. เพื่อกำหนดเป้าหมายพื้นที่ดำเนินงานและขอบเขตความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรน้ำ

                 5.1 กนช. มีความเห็นในประเด็นดังกล่าว ดังนี้

                          5.1.1 การดำเนินการเพิ่มศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนนอกเขตชลประทานเป้าหมายจำนวน 87 ล้านไร่ ได้กำหนดหน่วยงานปฏิบัติที่รับผิดชอบภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อปท. กองทัพบก และมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ โดยไม่ระบุหน่วยงานเจ้าภาพหลักเป็นรายพื้นที่ จนกว่าจะมีการทบทวน ปรับปรุง บทบาทภารกิจ หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานให้สอดล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                          5.1.2 พื้นที่เกษตรน้ำฝนนอกเขตชลประทานเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่กำหนดหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานนั้นๆ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 เป็นต้นมา การบริหารทรัพยากรน้ำตามกฎหมายของหน่วยงานเหล่านั้นจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้

                          5.1.3 กนช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อกำหนดขอบเขต บทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจของหน่วยงานด้านการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศมาพิจารณาประเด็นเรื่องการกำหนดขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ยังไม่มีความชัดเจน และ กนช. ได้มีมติมอบให้เป็นหน้าที่คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดและคณะกรรมการลุ่มน้ำเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำแผนงานและแผนงบประมาณในเขตพื้นที่เกษตรน้ำฝนนอกเขตชลประทานจากทุกหน่วยงาน

                 5.2 กนช. พิจารณาแล้วเสนอให้สำนักงาน ... สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เป็นหลักในการพิจารณาบทบาทและภารกิจในองค์ประกอบของแต่ละหน่วยงาน และให้ ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ) พิจารณาบทบาท หน้าที่ ภารกิจ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

___________________________

1รายละเอียดพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยและภัยแล้งตามแผนที่การคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2564

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81047

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!