WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

GOV

แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อผลการศึกษาฉบับสุดท้ายของแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 (โควิด-19) และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ว่าด้วยแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (Joint Media Statement of the ASEAN Tourism Ministers on the Post-COVID-19 Recovery Plan for ASEAN Tourism) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองผลการศึกษาฉบับสุดท้ายของแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ว่าด้วยแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยการแจ้งเวียน (ad-referendum) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. ผลการศึกษาฉบับสุดท้ายของแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโนนา 2019 (โควิด-19) เป็นหนึ่งในผลลัพธ์สำคัญทางเศรษฐกิจ (Key Priority Economic Deliverables) ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนปี 2564 ของบรูไนดารุสซาลาม รวมทั้งเป็นแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการฟื้นคืนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และได้มีการพัฒนาสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี .. 2559 – 2564 และปฏิญญาพนมเปญมุ่งสู่การท่องเที่ยวอาเซียนที่ยั่งยืน ครอบคลุม และฟื้นตัวได้เร็ว โดยผลการศึกษาดังกล่าวประกอบด้วยข้อเสนอแนะและแนวปฏิบัติ 5 เสาหลัก ดังนี้

          เสาหลักที่ 1 สนับสนุนธุรกิจการท่องเที่ยวด้วยการฟื้นฟูและการปรับตัว เช่น สนับสนุนทางการเงินเพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจในระยะสั้น จัดฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูของภาคการท่องเที่ยว พัฒนาโครงการเฉพาะสำหรับสตรี ตามกรอบการพัฒนาในมิติทางเพศของอาเซียน (ASEAN Gender and Development Framework) จัดตั้งกลไกสนับสนุนอย่างเป็นทางการสำหรับ MSMEs ด้านการท่องเที่ยว

          เสาหลักที่ 2 ฟื้นฟูการเดินทางภายในภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อ เช่น ส่งเสริมภูมิภาคอาเซียนในวงกว้างเพื่อเปิดการเดินทางอีกครั้ง ส่งเสริมมาตรฐานและแนวปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Standards and Protocols) ในภูมิภาคอาเซียน สร้างกระบวนการพัฒนาและติดตามการเดินทางในรูปแบบระเบียงท่องเที่ยว (Travel Bubble) สร้างกลไกการสื่อสารที่ชัดเจนกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ผู้ชื้อ ผู้ประกอบธุรกิจ และนักเดินทาง เพื่อการทบทวนและจัดทำข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) บนเว็บไซต์การท่องเที่ยวอาเซียนให้เป็นปัจจุบัน

          เสาหลักที่ 3 สร้างความมั่นใจในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวให้เป็นไปตามหลักการของความยั่งยืนและมีความครอบคลุม เช่น สร้างมาตรการใหม่ที่มุ่งสู่ความสำเร็จของภาคการท่องเที่ยว วางรากฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวทางความยั่งยืนของอาเซียนด้านการท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในแหล่งท่องเที่ยวร่วมกับหน่วยงานเทศบาลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแผนงานการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว การส่งเสริมการบูรณาการด้านการขนส่งสีเขียว (Green Transportation) และการใช้พลังงานหมุนเวียนในแผนงานการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ส่งเสริมการต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางเพศ แรงงานทาสยุคใหม่ (Modern Slavery) และสนับสนุนมาตรการคุ้มครองแรงงานเด็ก

          เสาหลักที่ 4 นำเสนอรูปแบบใหม่ของการบริการด้านการท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนการแข่งขัน เช่น ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนเพื่อตอบสนองแนวโน้มการท่องเที่ยวใหม่ๆ ผ่านกองทุนพิเศษสำหรับธุรกิจ Start-up จัดลำดับความสำคัญของภาคส่วนที่จะเริ่มต้นดำเนินการเพื่อการฟื้นฟู

          เสาหลักที่ 5 สนับสนุนการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้เร็วในระยะยาวและการเตรียมพร้อมในภาวะวิกฤต เช่น จัดทำโครงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการเดินทางและการท่องเที่ยว รวบรวมทรัพยากรเพื่อรองรับภาคการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤต ยกระดับการใช้งานและความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการท่องเที่ยวผ่านการใช้งานและการจัดเก็บข้อมูลแบบ Big Data เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบ Machine Learning

          2. ถ้อยแถลงข่าวร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ว่าด้วยแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (Joint Media Statement of the ASEAN Tourism Ministers on the Post-COVID-19 Recovery Plan for ASEAN Tourism) มีสาระสำคัญที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน สมาคมการท่องเที่ยว ชุมชนและองค์กรระหว่างประเทศ พันธมิตรภายนอก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรอาเซียนเฉพาะสาขา (ASEAN Sectoral Bodies) เพื่อดำเนินการปฏิบัติงานและกิจกรรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และควบคู่ไปกับการทำงานเพื่อประสานนโยบายและแนวปฏิบัติระดับภูมิภาคเพื่อการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว ยั่งยืน และครอบคลุม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81034

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!