WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 รวม 2 ฉบับ

GOV2 copy copy

รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประจำปีงบประมาณ .. 2562 และ .. 2563 รวม 2 ฉบับ

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประจำปีงบประมาณ .. 2562 ซึ่งได้ปรับปรุงรูปเล่ม ปรับเพิ่มเนื้อหาข้อมูลผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพการใช้จ่ายของกองทุนฯ ตามความเห็นของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรายงานประจำปีกองทุนฯ .. 2563 รวม 2 ฉบับ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เสนอ

          สาระสำคัญของรายงานฯ

          1. รายงานประจำปีกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2562

                1.1 ผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการ

                          1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 14.6 ล้านคน ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดสรรสวัสดิการเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้ลงทะเบียนทุกคนที่เข้ามาลงทะเบียนตามโครงการฯ

                          2) รัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้ เนื่องจากเป็นการเติมวงเงินในบัตรฯ โดยไม่ใช้เงินสด ไม่ผ่านคนกลาง มีวงเงินสม่ำเสมอ และเข้าตรงเวลาทุกเดือน ซึ่งผู้มีบัตรดังกล่าวจะต้องไปใช้จ่ายยังร้านค้าที่กำหนด เช่น ร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ทำให้เงินที่ภาครัฐใช้จัดสรรสวัสดิการรวม 93,147 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2562 ไม่รั่วไหล ถึงมือประชาชนทั้งหมดและการใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์

                1.2 ผลต่อความยากจน

                          1) การจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตร ช่วยลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เส่นความยากจนของประเทศไทย ในปี 2561 อยู่ที่ 2,710 บาทต่อคนต่อเดือน ในขณะที่มูลค่าเฉลี่ยของสวัสดิการพื้นฐานที่จัดสรรให้ผ่านบัตร อยู่ที่ 2,927.50 บาทต่อคนต่อเดือน และหากผู้มีบัตร เข้าร่วมมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้มีบัตรฯ จะได้รับวงเงินสวัสดิการ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,090 บาทต่อคนต่อเดือนซึ่งพ้นเส้นความยากจน 

                          2) ผลจากการดำเนินมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้มีบัตร พ้นจากเส้นความยากจน (ประมาณ 30,000 บาทต่อคนต่อปี) รวม 1,252,922 ราย

                 1.3 ผลต่อผู้มีรายได้น้อย

                 ภาครัฐพิจารณาจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้มีบัตรฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน ได้แก่ มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ค่าเดินทางไปตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ และมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดปีการศึกษา

                 1.4 ผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย

                 ผลของการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ รวม 136,380.9 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2562 (ร้อยละ 0.8 ของ GDP) มีส่วนสำคัญที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2561 ไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ของปี 2562 ขยายตัวถึงร้อยละ 5.2 5.4 4.9 4.6 และ 4.2 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนได้รับผลประโยชน์ส่วนหนึ่งจากบัตรฯ รวมทั้งช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมไม่ชะลอตัวลงมาก และเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

                 1.5 ผลด้านอื่นๆ

                 โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น รัฐบาลสามารถนำมาสร้างโครงการบูรณาการข้อมูลมหัต (Big Data) และแผนภาพสรุปข้อมูล (Visualization Dashboard) เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงลึก ไปปรับปรุงนโยบายบรรเทาความยากจนและความเหลื่อมล้ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นประชาชนผู้มีบัตรฯ ก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัลไปสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) และสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากเงินสด (Cashless Society) ภาครัฐก้าวข้ามกำแพงโลกดิจิทัลโดยการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินนโยบายและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานรับลงทะเบียนและหน่วยงานตรวจสอบและ Big Data สามาถใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือได้เป็นรายพื้นที่

          2. รายงานประจำปีกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2563 

                2.1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

                 กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม .. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชน ผู้มีรายได้น้อยหรือเพื่อสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบาก ทุกประเภท

                2.2 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

                 ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประกอบด้วยสวัสดิการให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใน 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) สวัสดิการที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นสวัสดิการเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเดินทาง และ (2) สวัสดิการที่กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นสวัสดิการตามมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้แก่ผู้มีบัตรฯ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงเวลา เช่น มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรฯ โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีรายได้น้อยได้ชำระ

                2.3 ส่วนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

                          2.3.1 ผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการ

                                   1) โครงการฯ มีเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่ควรจะได้รับสิทธิ ได้แก่ มีรายได้ มีทรัพย์สินทางการเงิน และมีอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด จึงทำให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้มีรายได้น้อยตัวจริงและสมควรได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษจากภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนรวม 14.6 ล้านคน (13.8 ล้านคน เดือนกันยายน 2563) ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดสรรสวัสดิการ

                                   2) รัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรฯ อย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยไม่ใช้เงินสด ไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งผู้มีบัตรฯ จะต้องนำไปใช้จ่ายยังร้านค้าที่กำหนด ทำให้เงินที่ภาครัฐใช้จัดสรรสวัสดิการกว่า 46,760.32 ล้านบาท ในปีงบประมาณ .. 2563 ไม่รั่วไหลถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วยและใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์

                          2.3.2 ผลต่อความยากจน

                          การจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรฯ ช่วยลดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีรายได้น้อยได้ชำระอยู่ที่ 2,553.33 บาทต่อคนต่อเดือน โดยถือเป็นการช่วยค่าใช้จ่ายของบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าอุปโภคที่จำเป็นพื้นฐานขึ้นต่ำของการดำรงชีพของประชาชน

                          2.3.3 ผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย

                          การเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนฯ ผ่านมาตรการต่างๆ ในบัตรฯ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย เกิดการไหลเวียนของเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และช่วยพยุงเศรษฐกิจ

                          2.3.4 ผลด้านอื่นๆ

                          ข้อมูลของผู้มีบัตรฯ รวม 14.6 ล้านคน ทำให้รัฐบาลสามารถนำมาพัฒนาโครงการบูรณาการข้อมูลมหัต (Big Data) และแผนภาพสรุปข้อมูล (Visualization Dashboard) ผ่านการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ประชาชนผู้มีบัตรฯ ก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัลไปสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) และสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากเงินสด (Cashless Society) ภาครัฐก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัล และ Big Data สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือได้เป็นรายพื้นที่

                 2.4 ส่วนที่ 4 รายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม วันที่ 30 กันยายน 2563 กองทุนฯ มีสินทรัพย์สุทธิรวม 7,244.69 ล้านบาท มีรายได้รวม 40,000 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 46,713.20 ล้านบาท

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8803

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!