ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 24 August 2021 20:06
- Hits: 919
ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการ การชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
ข้อเท็จจริง
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยคณะกรรมาธิการ ฯ เห็นว่าการผิดนัดชำระหนี้ เกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่นความยากจน การขาดวินัยทางการเงิน ปัญหาทางเศรษฐกิจ การตกงาน การขาดความรู้ความเข้าใจในการชำระเงินกองทุน จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 4 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางในการบริหารจัดการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในกรณีเร่งด่วน 2) แนวทางการการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) แนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต และ 4) แนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างในการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตาม พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ กค. ได้พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ |
ผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะฯ |
|
1. แนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในกรณีเร่งด่วน โดยจัดกลุ่มของลูกหนี้แยกประเภทของลูกหนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมในการชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้กู้ยืมประมาณ 6.22 แสนล้านบาท และสามารถให้เงินกู้ยืมฯ โดยรัฐไม่ต้องอุดหนุนงบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 แต่ กยศ. ก็ยังคงประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้สูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ |
1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปัจจุบันได้กำหนดมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้กู้ยืมเงินในกรณีเร่งด่วน ดังนี้ 1. กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้อำนาจ กยศ. ผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้ ระงับการเรียกให้ชำระหนี้ และลดหย่อนหนี้ได้ 2. กลุ่มที่ 2 กองทุนฯ ได้จัดให้มีการเจรจาหรือไกล่เกลี่ยการผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่ศาลพิพากษา ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาลดเบี้ยปรับหากสามารถผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. กลุ่มที่ 3 ผู้กู้ยืมเงินที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ สามารถทำบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี เพื่อผ่อนชำระหนี้ได้อีก 1 - 6 ปี อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจ กยศ. สามารถแปลงหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น กยศ. จึงจำเป็นต้องดำเนินการติดตามหนี้และบังคับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (10 ปี นับแต่ศาลมี งนี้ ลูกหนี้สามารถขอไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี โดยขอผ่อนชำระหนี้ได้อีก 1 - 6 ปี หรือชำระหนี้ปิดบัญชี โดย กยศ. สามารถลดหย่อนหนี้ให้ได้ และอาจขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันที่มีทรัพย์เป็นหลักประกันและขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินปลดภาระหนี้สินกับกองทุนฯ โดยมีระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้มากขึ้น และลดการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน 2. ศย. เห็นควรให้ กยศ. นำระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี เพื่อเจรจาข้อพิพาทระหว่าง สะดวก รวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ |
|
2. แนวทางการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น ควรพิจารณาปรับแก้ไขหลักเกณฑ์ เงื่อนไขรวมถึงวิธีการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนที่ผู้ได้รับผลกระทบต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสถานะของตนเองและครอบครัว และกำหนดมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 |
1. อว. ได้ออกประกาศขอให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่นิสิตและนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เช่น จัดให้มีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่ประสานงานรับคำร้องให้ความช่วยเหลือแก่นิสิตและนักศึกษา จัดหางบประมาณสนับสนุนมาตรการเยียวยา จัดตั้งกองทุนเยียวยาเพื่อให้นิสิตและนักศึกษากู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย ประสานงานการกู้ยืมเงินจาก กยศ. เป็นต้น 2. กยศ. ได้กำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เช่น 1) เพิ่มส่วนลดเงินต้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ที่มาปิดบัญชีในคราวเดียว 2) เพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้คงค้างให้เป็นปกติ 3) เพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้ (รวมผู้กู้ยืมเงินที่มีคำพิพากษาแล้วที่ชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว) |
|
3. แนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต เช่น การทบทวนและปรับปรุงระบบและกลไกการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา |
1. กยศ. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนและกำหนดเพิ่มเติมให้บุคคลที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นผู้นำชุมชนที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถรับรองรายได้ครอบครัวให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้มากขึ้น และได้มีการทบทวนและปรับเกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับรายได้ต่อครอบครัวของผู้กู้ยืมเงินจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี เป็น 360,000 บาทต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ป็นต้นไป 2. อว. เห็นควรพิจารณาทบทวนระบบการรับรองรายได้ครอบครัว ในกรณีบุคคลซึ่งมิได้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือประกอบอาชีพที่สามารถตรวจสอบรายได้ที่แน่นอน เช่น ค้าขาย รับจ้าง อาชีพอิสระ เป็นต้น และเห็นควรให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการคัดกรองนักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการคัดกรองนักศึกษาที่จะกู้ยืมเงิน |
|
4. แนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างในการบริการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ |
1. อว. เห็นควรให้ อว. และ กค. ในฐานะผู้กำกับดูแล กยศ. หารือร่วมกัน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องนี้ต่อไป และ กยศ. ควรพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืนภายหลังจากสำเร็จการศึกษาจากเดิม 2 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินมีเวลาหางานทำและมีรายได้เพื่อนำมาชำระเงินคืน 2. กค. เห็นควรให้ กยศ. หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการ กยศ. ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบัน 3. สคก. เห็นว่า หาก กค. เห็นชอบในหลักการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 แล้ว สคก. จะร่วมพิจารณาเพื่อปรับแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป |
นอกจากนี้ กค. เห็นว่า การดำเนินงานในเรื่องนี้ จำเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนและรอบครอบ โดยเฉพาะสภาพคล่องและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำเนินงานของ กยศ. รวมทั้งต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณของภาครัฐในอนาคต
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 สิงหาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8802
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ