WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563

GOV

 

รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว

          สาระสำคัญ

          1. รายงานผลการดำเนินงานปีบัญชี 2563 เปรียบเทียบกับปีบัญชี 2562 

 

 

รายการ

 

ปีบัญชี

2563

ปีบัญชี

2562

เพิ่ม (ลด)

จากปีบัญชี 2562

จำนวน

ร้อยละ

สินทรัพย์รวม

 

139,788.93

118,846.80

20,942.13

17.62

- เงินลงทุนสุทธิ

 

5,098.75

2,493.16

2,605.59

104.51

- เงินให้สินเชื่อ

 

133,700.53

121,868.47

11,832.06

9.71

หนี้สินรวม

 

119,876.09

97,422.07

22,454.02

23.05

ส่วนของเจ้าของ

 

19,912.84

21,424.74

(1,511.90)

(7.06)

กำไรสะสม

 

7,114.40

8,625.62

(1,511.22)

(17.52)

รายได้รวม

 

5,544.70

6,353.93

(809.23)

(12.74)

ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า)

 

3,648.51

4,031.99

(383.48)

(9.51)

หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า

 

-

1,815.14

(1,815.14)

-

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

 

3,235.93

-

3,235.93

-

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

 

(1,339.74)

506.79

(1,846.53)

-

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

 

5,153.00

5,605.96

(452.96)

(8.08)

อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง

(ร้อยละ)

 

13.50

15.42

(1.92)

(12.45)

 

                 1.1 ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน

                 ธสน. มีสินทรัพย์ จำนวน 139,788.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.942.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.62 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเงินให้สินเชื่อมีการขยายตัว จำนวน 11,832.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.71 และเงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 2,605.59 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.51 มีหนี้สิน จำนวน 119,876.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,454.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.05

                 ธสน. ขาดทุนสุทธิ จำนวน 1,339.74 ล้านบาท และมีรายได้รวม จำนวน 5,544.70 ล้านบาท ลดลง 809.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.74 เมื่อเทียบกับปี 2562 มีค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 3,648.51 ล้านบาท ลดลง 383.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.51 เมื่อเทียบกับปี 2562 และปี 2563 มีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 3,235.93 ล้านบาท

ธสน. มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จำนวน 5,153.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.85 ของเงินให้สินเชื่อรวม ลดลง 452.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.08 เมื่อเทียบกับปี 2562

                 ธสน. มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ร้อยละ 13.50 โดยลดลงจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 15.42 อย่างไรก็ดี อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของ ธสน. ยังคงสูงกว่าเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5

          2. ผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อและรับประกัน

                 2.1 ผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อ ในปี 2563 ธสน. อนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยในต่างประเทศรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 54,518 ล้านบาท ลดลง 4,490 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่งผลให้มีวงเงินสินเชื่อสะสมที่อนุมัติจนถึงสิ้นปี 2563 จำนวน 313,950 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,379 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับปี 2562 สำหรับปริมาณธุรกิจสะสมที่ ธสน. สนับสนุนผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยในปี 2563 มีจำนวน 168,035 ล้านบาท ลดลงจำนวน 29,071 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14.75 เมื่อเทียบกับปี 2562

                2.2 การดำเนินงานด้านรับประกัน ในปี 2563 ธสน. ได้พัฒนาบริการประกันหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันตามลักษณะการทำธุรกิจทั้งบริการประกันการส่งออกระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และบริการประกันความเสี่ยงการลงทุน

                        2.2.1 บริการประกันการส่งออกระยะสั้น ในปี 2563 มูลค่าการส่งออกภายใต้การรับประกันการส่งออกระยะสั้นของ ธสน. เป็นจำนวน 131,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 13,256 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีรายได้เบี้ยประกันรับจำนวน 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.80 ทั้งนี้ ในปี 2563 สินค้าที่มีมูลค่าการรับประกันการส่งออกสูงสุด คือ อาหาร (ไม่รวมอาหารสด) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.26 ของมูลค่ารับประกันทั้งหมด

                        2.2.2 บริการประกันการส่งออกระยะกลางและระยะยาว ปัจจุบันผู้ส่งออกในภาคการผลิตและภาคบริการสนใจบริการประกันการส่งออกระยะกลางและระยะยาวเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำการค้ากับผู้ซื้อที่อยู่ในต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น กลุ่มประเทศ CLMV กลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง และยุโรป โดยในปี 2563 ธสน. ไม่มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประกอบการไทยภายใต้บริการดังกล่าว

                        2.2.3 บริการประกันความเสี่ยงการลงทุน ในปี 2563 ธสน. มีวงเงินรับประกันความเสี่ยงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวมจำนวน 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีรายได้เบี้ยประกันรับภายใต้บริการประกันความเสี่ยงการลงทุนจำนวน 38 ล้านบาท

          3. ทิศทางและแผนงานปี 2564 – 2568 ของ ธสน.

                 3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วยการสนับสนุนการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนไทยในประเทศตลาดใหม่ (New Frontiers) ผ่านการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ซื้อในต่างประเทศ และขยายภารกิจของ ธสน. ในกลุ่มประเทศดังกล่าว ผ่านสำนักงานผู้แทนและความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน

                 3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ (National Development) ด้วยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเศรษฐกิจสีเขียว รวมไปถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

                 3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุนไทยในต่างประเทศ (Risk Protection) เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการไทยด้วยบริการประกันการส่งออกและการลงทุน โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันในรูปแบบใหม่

                 3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นกลไกสำคัญในระบบนิเวศสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ (Ecosystem) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ

                 3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ก้าวเข้าสู่ธนาคารดิจิทัล (Digitalization) เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยการพัฒนาระบบงานที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

                 3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) เพื่อบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบด้วยการบริหารคุณภาพสินทรัพย์และความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างการเติบโต อย่างยั่งยืนและสมดุล

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8801

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!