ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความมั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 24 August 2021 19:53
- Hits: 1000
ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความมั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความมั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
คณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ COVID-19 กับผลกระทบต่อความมั่นคง ดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก และ 2) ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์ภายในประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ |
ผลการพิจารณา |
|
1. ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศควรเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงในมิติอื่นๆ |
- มท. เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนฯ ที่รองรับสถานการณ์ด้านความมั่นคง ควรทบทวนแผนฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มสถานการณ์ในระยะต่อไป รวมทั้งควรประสานความร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้รองรับการดำเนินการตามแผนฯ |
|
2. ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์ภายในประเทศ 2.1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) |
- มท. เห็นว่า ควรเพิ่มการใช้เครื่องมือของภาครัฐประเภทอื่นที่มีอยู่มาสนับสนุนการดำเนินการ อาทิ ระบบบริหารจัดการข้อมูล การพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) - ดศ. ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดติดตามและเฝ้าระวังบุคคล เพื่อบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ และดำเนินการผ่านทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti - Fake News) เสนอข้อเท็จจริงของข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ |
|
2.2 การเพิ่มบทบาทของหน่วยงานด้านความมั่นคงในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านดิจิทัลและสาธารณสุข |
- มท. ได้กำหนดมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย เช่น การควบคุมการเดินทางเข้าออกทางบกของผู้ที่มีสัญชาติไทยที่กลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดน การยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ โดยจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเดินทางกลับภูมิลำเนาเข้ามาในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน การจัดตั้งสถานที่กักกันตัว (Local Quarantine) ในส่วนภูมิภาค การปิดสถานที่หรืองดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตรการช่วยเหลือประชาชน เช่น การช่วยเหลือผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การช่วยเหลือประชาชนโดยลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา มาตรการป้องกันและสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมือง เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมือง ที่อาจเป็นปัจจัยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส และแจกจ่ายหน้ากากอนามัยต่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค จัดทำและแจกจ่ายหน้ากากอนามัยชนิดผ้าต่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค - กห. ได้สนับสนุนการบริหารจัดการสถานที่กักกันตัวในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC) สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ พื้นที่ต่างๆ - พณ. ได้ประสานการปฏิบัติกับ สธ. เพื่อจัดหาและเพิ่มกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และกำกับดูแลสินค้าเจลล้างมือและแอลกอฮอล์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มีราคาจำหน่ายที่เหมาะสม และไม่เกิดภาวการณ์กักตุนสินค้า - สธ. เห็นว่าควรให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีบทบาทเพิ่มเติมในด้านการป้องกันการลักลอบเข้าเมืองและด้านการจัดส่งเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกัน/ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 สิงหาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8800
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ