ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 18 August 2021 00:14
- Hits: 8171
ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
|
1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 1.1 ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ |
- การจัดทำโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้ประเมินผลและเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของ สศช. เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย (1) การทบทวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) การทบทวนห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการสำคัญฯ ก่อนประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญ และนำไปจัดลำดับความสำคัญของโครงการก่อนเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป - การรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563 สศช. ได้รายงานสรุปผลการดำเนินการดังกล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ ฎาคม 2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นและมีประเด็นอภิปรายในภาพรวม เช่น (1) ควรพิจารณาปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือปัญหาที่สำคัญของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงตัวชี้วัดของแผนงาน/โครงการในงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) ควรเร่งรัดการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานรัฐเพื่อพัฒนาสมรรถนะของระบบราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าวไปเป็นกรอบและแนวทางสำหรับพัฒนาการขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนการรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2563 ต่อวุฒิสภา จำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากการงดการประชุมวุฒิสภาตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) - ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. ได้ประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดส่งข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการของ ศจพ. ในระดับจังหวัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและการบริหารจัดการในพื้นที่ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สศช. คาดว่าจะจัดประชุมคณะกรรมการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยของเศรษฐกิจพอเพียงในเดือนกันยายน 2564 เพื่อนำเสนอรายงานความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการดำเนินการของ ศจพ. ในระดับต่างๆ - การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผน 3 ระดับ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีแผนระดับที่ 3 ที่หน่วยงานส่งมายัง สศช. รวมทั้งสิ้น 117 แผน แบ่งเป็น ารด้าน... ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว จำนวน 84 แผน (2) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่อยู่ระหว่างพิจารณากลั่นกรองหรือเห็นสมควรทบทวนปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จำนวน 30 แผน (3) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่ยกเลิกการดำเนินการ จำนวน 2 แผน และ (4) แผนปฏิบัติการด้าน... ที่ผ่านกระบวนการพิจารณารอบเดือนเมษายน-มิถุนายน 2564 จำนวน 2 แผน คือ ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2565) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการว่าด้วยการส่งเสริมการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G ของประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2564 - 2569) ทั้งนี้ สศช. ได้พัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผลการพิจารณากลั่นกรองแผนระดับที่ 3 ในส่วนของแผนปฏิบัติการด้าน... ของ สศช. เพื่อให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) สามารถตรวจสอบผลการพิจารณาดังกล่าวก่อนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี |
|
1.2 ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ |
- นำเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2563 ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นและมีประเด็นอภิปรายในภาพรวม เช่น (1) ควรปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานของรัฐ โดยให้นำเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศเป็นกรอบในการวิเคราะห์โจทย์และปัญหาในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชน รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับโครงการที่ขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้งในส่วนของงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ (2) ควรเร่งรัดการดำเนินในเป้าหมายที่สถานการณ์ยังอยู่ในขั้นวิกฤตและมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายโดยนำประเด็นบริบทของประเทศด้านความขัดแย้งทางการเมือง การรวมกลุ่มธุรกิจระดับภูมิภาค และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้สอดคล้องและรองรับกับประเด็นและบริบทดังกล่าว และ (3) ควรให้ความสำคัญกับการทบทวนและการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าวไปเป็นกรอบและแนวทางสำหรับพัฒนาการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป - คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กรกฎาคม 2564) รับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) และ สลค. ได้เสนอรายงานดังกล่าวไปเพื่อรัฐภาทราบแล้ว |
|
1.3 ผลการดำเนินการอื่นๆ |
- อยู่ระหว่างปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอและการประมวลผลข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ดังนี้ (1) แสดงข้อมูลในรูปแบบหรือมุมมองเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเข้าสู่ข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาสั่งการได้โดยง่ายต่อไป (2) รองรับการนำเข้าข้อมูลข้อเสนอโครงการสำคัญประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีหลายหน่วยงานที่ไม่รายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของโครงการ/การดำเนินการทุกสิ้นไตรมาส ซึ่งส่งผลกระทบและเป็นอุปสรรคต่อการติดตามและประเมินผล จึงเห็นควรเร่งรัดให้หน่วยงานต่างๆ รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวให้ครบถ้วนสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอต่อไป - สร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีสส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยจัดทำสื่อวีดิทัศน์โครงการสร้างการตระหนักรู้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่เป็นพลังบวกในการขับเคลื่อนประเทศที่สำคัญในอนาคต และจัดทำเพจ Facebook “คบเด็กสร้างชาติ-สร้างพลังบวก” เพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระของคนรุ่นใหม่และการแบ่งปันเรื่องราวที่ดีผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
|
2. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ : การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต |
เนื่องจากคะแนนความสามารถในการแข่งขันการพัฒนาทุนมนุษย์ด้านทักษะ (Skill) ของไทยและอัตราการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานในปี 2563 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะแรงงาน ตั้งแต่ปี 2560-2564 เป็นลักษณะโครงการอบรม สัมมนา และพัฒนาทักษะ ที่ยังไม่ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงทักษะในการทำงานจริงกับการจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจัง ดังนั้น ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งรัดการดำเนินโครงการต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น เช่น (1) การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (2) การเพิ่มศักยภาพให้แก่ผู้ถ่ายทอดความรู้ (3) การยกระดับการอบรมและพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (4) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแรงงาน และ (5) การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้กับแรงงาน ทั้งในระบบและนอกระบบได้พัฒนาทักษะความรู้และเพิ่มศักยภาพของตนเอง และ (6) การปรับปรุงการประเมินความสำเร็จของโครงการให้มุ่งตอบโจทย์การวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการและตอบสนองต่อเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 17 สิงหาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8583
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ