WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

GOV1 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary Health Care) ของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขมาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ รวม 11 ประเด็น ได้แก่ (1) ควรกำหนดทิศทางและนโยบายของระบบสุขภาพปฐมภูมิให้มีความชัดเจน รวมทั้งบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (2) ควรให้มีการสำรวจและศึกษาเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีความเหมาะสม (3) ควรให้มีการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิตามบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน (4) ควรมุ่งเน้นการพัฒนาการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตพื้นที่ชนบท (5) ควรทบทวนกรอบอัตรากำลังและบทบาทหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 (6) ควรเพิ่มการผลิตและเพิ่มการคงอยู่ในระบบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (7) เร่งรัดการพัฒนาระบบสารสนเทศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 ให้ครอบคลุมหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ (8) ควรทบทวนหลักเกณฑ์การโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ายังมีความเหมาะสมหรือไม่ (9) ควรเร่งรัดจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิ เพื่อให้มีหน่วยงานและผู้รับผิดชอบหลัก (10) ควรเร่งรัดการออกประกาศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และ (11) ควรพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้สามารถรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคตได้

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงาน .. สำนักงาน ... สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          สธ. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของ

คณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1.การกำหนดทิศทางและนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิให้มีความชัดเจน

 

• ในการกำหนดทิศทางการดำเนินการดังกล่าว คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ (คณะอนุกรรมการฯ) ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ 6/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ได้พิจารณาร่างแผนปฏิบัติการระบบสุขภาพปฐมภูมิ (.. 2564 - 2573) ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 โดยมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทเฉพาะกิจภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอันเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด – 19 .. 2564 - 2565 แผนการปฏิรูปประเทศ กิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายของคณะรัฐมนตรี และแผนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานสังกัด สธ. ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งประกอบด้วย

      1. เพิ่มศักยภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิทุกรูปแบบที่ขับเคลื่อนโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

      2. พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ

      3. พัฒนาระบบสารสนเทศ การวิจัย และนวัตกรรมระบบสุขภาพปฐมภูมิ

      4. พัฒนากลไกและกระบวนการสร้างหลักธรรมาภิบาลในการอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิ

      5. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการจัดการสุขภาพ

2. การสำรวจและศึกษาเพื่อแบ่งเขตพื้นที่การบริการสุขภาพปฐมภูมิให้เหมาะสม

 

• สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแบ่งเขตพื้นที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยได้จัดทำแผนการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิในระยะเวลา 10 ปี ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

      1. กรณีการขอขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิหรือเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้รับบริการในเขตพื้นที่รับผิดชอบระหว่างจำนวน 8,000 - 12,000 คน ทั้งนี้ เมื่อได้พิจารณาถึงความปลอดภัย และความสะดวกของผู้รับบริการและสภาพพื้นที่แล้ว อาจพิจารณากำหนดเกณฑ์จำนวนผู้รับบริการในเขตพื้นที่รับผิดชอบตามความเหมาะสมก็ได้

      2. การแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ในแต่ละเขตพื้นที่รับผิดชอบควรมีลักษณะเป็นพื้นที่ติดต่อกันโดยคำนึงถึงจำนวนผู้รับบริการในแต่ละเขตพื้นที่ให้ใกล้เคียงกัน

3. การจัดบริการตามบริบทพื้นที่ที่แตกต่างกัน

 

• การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นการปรับรูปแบบบริการโดยนำหลักเวชศาสตร์ครอบครัวมาใช้ในการดูแลประชาชนในความรับผิดชอบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและทีมสหวิชาชีพ โดยได้มีการแบ่งบริบทพื้นที่ ดังนี้

      1. พื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและมีโครงสร้างการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพที่ซับซ้อน เนื่องจากมีหน่วยบริการจากหลายสังกัด ทั้งโรงพยาบาลสังกัด กทม. โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ โรงพยาบาลเอกชน คลินิกเอกชน และศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. บูรณาการการทำงานร่วมกัน ซึ่งออกแบบการดำเนินการ โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ กทม. โดยมีสำนักอนามัย กทม. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำงานร่วมกับ สธ.

      2. พื้นที่เมืองใหญ่ เน้นการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมินอกโรงพยาบาลและทำงานร่วมกันในลักษณะที่หลากหลายเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยความร่วมมือของหน่วยบริการสังกัดอื่นทั้งเทศบาลและภาคเอกชน

      3. พื้นที่เขตเมือง เน้นการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมินอกโรงพยาบาลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิมากขึ้น โดยใช้พื้นที่ร่วมกับเทศบาล รพ.สต. และสถานที่ของทางราชการ

      4. พื้นที่เขตชนบท ใช้ที่ตั้งของ รพ.สต. ที่อยู่ในสังกัดของ สธ. และที่ถ่ายโอนภารกิจไปอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นพื้นที่ในการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ และปรับปรุงระบบบริการในโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขนาดเล็ก ให้มีการจัดบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อให้ประชาชนมีหมอประจำตัวที่จะติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง

      5. พื้นที่เฉพาะอื่นๆ พนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ร่วมจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ค่ายทหารกับกระทรวงกลาโหม (กห.)

4. ควรเน้นพัฒนาในเขตพื้นที่ชนบท และ รพ.สต. เป็นลำดับแรก

 

สธ. ให้ความสำคัญในการจัดตั้งหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยกำหนดเป้าหมาย 6,500 หน่วย ซึ่งในปี 2563 มีการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ จำนวน 1,991 หน่วย โดยเป็นหน่วยบริการที่เป็น รพ.สต. หรือสถานีอนามัย (สอน.) จำนวน 1,298 หน่วย และในปี 2564 จะขยายการจัดตั้งหน่วยบริการเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 หน่วย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิได้ จำนวน 25 ล้านคน โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและสหวิชาชีพเป็นที่ปรึกษาปัญหาต่างๆ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นคุยกับหมอ

5. การทบทวนกรอบอัตรากำลังและบทบาทหน้าที่ของ รพ.สต.

 

• สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิได้ร่วมกับกองบริหารทรัพยากรบุคคล ดำเนินการ ดังนี้

      1. พิจารณาทบทวนกรอบอัตรากำลังของ รพ.สต. ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันที่พบว่ามีการขยายตัวของสังคมเมืองมากขึ้น รวมทั้งให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 โดยต้องพิจารณาแผนการกระจายอัตรากำลังลงพื้นที่ตามภาระงานต่อไป

      2. ร่วมวางระบบในการสรรหาแพทย์เพื่อปฏิบัติงานเป็นแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ .. 2564 รับราชการต่อไป และได้กำหนดหน้าที่ของหน่วยบริการปฐมภูมิตามประกาศคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ .. 2563

6. ควรเพิ่มการผลิตและการคงอยู่ในระบบของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

 

• สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ และสำนักบริหารโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ร่วมกับแพทยสภา ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป/เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทยมีเจตจำนงร่วมกันในการพัฒนางานเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งด้านการพัฒนากำลังคนด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ด้านการสร้างคุณค่าและการยอมรับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ได้พัฒนาหลักสูตรการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ดังนี้

      1. การพัฒนาแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวภายใต้การปฏิบัติงานเพื่อการสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว (In service Training/Formal Training)

      2. หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับแพทย์ปฏิบัติงานในคลินิกหมอครอบครัว .. 2562”

      3. หลักสูตรพื้นฐานเวชศาสตร์ครอบครัวสำหรับแพทย์ปฐมภูมิ (Basic Course of Family Medicine for Primary Care Doctor)

7. เร่งรัดการพัฒนาระบบสารสนเทศ

 

• การพัฒนาระบบสารสนเทศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 มีคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตามคำสั่งคณะกรรมการระบบสุขภาพปฐมภูมิ ที่ 9/2563 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ร่วมพัฒนาออกแบบระบบการจัดการข้อมูล การคุ้มครองข้อมูล ระบบลงทะเบียนข้อมูลสุขภาพประชาชนรายบุคคล และพัฒนาระบบส่งต่อ โดยปัจจุบันมีการดำเนินการ ประกอบด้วย

      1. จัดทำต้นแบบระบบยืนยันตัวตนดิจิทัลและ Health Information Exchange Platform ซึ่งสามารถใช้งานโปรแกรมในส่วนกระบวนการลงทะเบียน การพิสูจน์ตัวตน การยืนยันตัวตน และการอนุญาตเฉพาะผู้มีสิทธิเข้าถึง

      2. จัดทำโปรแกรม Private Chat ภายใต้ชื่อแอพพลิเคชันคุยกับหมอซึ่งเป็นบริการในโครงการนวัตกรรมสุขภาพทางไกลผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถปรึกษาสุขภาพแบบส่วนตัวกับแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำคลินิกหมอครอบครัว

8. ทบทวนหลักเกณฑ์การโอนภารกิจ รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

• สธ. ได้ดำเนินการถ่ายโอน รพ.สต. ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2542 โดยมีหลักเกณฑ์การถ่ายโอน ดังนี้

      1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านการประเมินความพร้อมการจัดบริการสาธารณสุขโดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ประสบการณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดหรือการมีส่วนร่วมจัดการด้านสาธารณสุข (2) มีแผนการเตรียมความพร้อมในการจัดการด้านสาธารณสุขหรือแผนพัฒนาการสาธารณสุข (3) วิธีการบริหารและการจัดการด้านสาธารณสุข (4) การจัดสรรรายได้เพื่อการสาธารณสุข และ (5) ความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพร้อมในการจัดบริการด้านสาธารณสุข

      2. บุคลากรสาธารณสุขสมัครใจถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างพิจารณาตัดหลักเกณฑ์การถ่ายโอนตามข้อ 2 ออก เพื่อให้หลักเกณฑ์มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

            • ปัจจุบันสำนักงานสาธารณสุขจะเป็นผู้ประเมินคุณภาพ รพ.สต. ที่ได้ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว เพื่อให้ รพ.สต. ดังกล่าวผ่านเกณฑ์คุณภาพ รพ.สต. ติดดาว รวมทั้งได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการภายในจังหวัดด้วย

            • พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 ได้กำหนดให้ส่งเสริมและพัฒนาการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชนในพื้นที่ในการส่งเสริมและพัฒนา รพ.สต. โดยการปรับรูปแบบการบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวดูแลประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้สามารถจัดบริการได้ตามคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการ

9. จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิ

 

• พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 ได้กำหนดให้มี กองสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว โดยปัจจุบันได้มีการจัดทำคำขอจัดตั้งกองดังกล่าวและผ่านมติที่ประชุมคณะทำงาน แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง สธ. เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการ สธ. ต่อไป

10. การออกประกาศตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

 

• พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 มีกฎหมายลำดับรอง จำนวน 34 ฉบับ ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว 21 ฉบับ ไม่มีความจำเป็นต้องจัดทำ 1 ฉบับ และคงเหลือที่ต้องจัดทำอีก 12 ฉบับ โดย สธ. ได้จัดทำแผนเสนออนุบัญญัติภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ .. 2562 เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาในการดำเนินการจัดทำอนุบัญญัติดังกล่าวด้วยแล้ว

11. ควรพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้สามารถรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคตได้

 

• จากบทเรียนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สธ. เห็นว่า ระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เข้มแข็งจะเป็นกลไกในระบบสุขภาพที่สำคัญในการรองรับกับการแพร่ระบาดของโรคในอนาคต โดยต้องดำเนินการ ดังนี้

      1. บูรณาการในพื้นที่ โดยใช้กลไกของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่

      2. พัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับปฐมภูมิ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้ความสามารถในการควบคุมป้องกันโรค โดยปรับปรุงหลักสูตรต่างๆ ให้เพิ่มประเด็นการเฝ้าระวังควบคุมโรคเข้าไว้ด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 17 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8581

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!