ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 10 August 2021 21:44
- Hits: 7050
ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่นได้มีข้อเสนอแนะหลายประการ ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารการจัดการด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพของผู้มีส่วนได้เสีย ด้านแหล่งรายได้และกองทุนทางด้านวัฒนธรรม ด้านการออกแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชน รวมทั้งเป็นการปรับโครงสร้างการทำงานของ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติในด้านต่างๆ โดยเป็นการพัฒนาจากรากฐาน และเป็นการพัฒนาที่เสริมสร้างรายได้ในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
มท. รายงานว่า ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 ซึ่งเห็นชอบกับข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ |
ผลการพิจารณา |
|
1. ด้านนโยบาย |
||
1.1 ควรมีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลาง และควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ งบประมาณของอปท. และการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของ อปท. และชุมชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป 1.2 ควรมีการปรับโครงสร้างด้านการบริหารงานบุคคลของ อปท. ให้สามารถรับบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยดำเนินการ 1.3 อปท. ต้องกำหนดให้มีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายสาธารณะของท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน โดยนำ “มิติวัฒนธรรม” มาใช้เป็นองค์ประกอบในการศึกษาการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งให้ความสำคัญของ “วัฒนธรรม” และบรรจุ “มิติวัฒนธรรม” ในการจัดทำนโยบายโครงการ การจัดทำงบประมาณ และองค์กรต่างๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ตลอดจนต้องมีกลไกสนับสนุนให้ อปท. สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้เอง 1.4 ควรเร่งรัดปรับปรุง พ.ร.บ. โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 04 เพื่อเป็นการกระจายอำนาจให้อปท. มีหน้าที่อำนาจในการดูแลโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความพร้อมของ อปท. ด้วย |
มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ได้ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำมาตรฐานการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของ อปท. สรุปได้ดังนี้ 1) มีแนวคิดพื้นฐานที่มุ่งให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ส่วน อปท. เป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพรวม 4 ด้าน คือ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย และการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ 2) มีการส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณี โดยมีแนวคิด ดังนี้ 2.1) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ และกิจกรรมที่จัดขึ้นในเทศกาลต่างๆ ตามประเพณีท้องถิ่น 2.2) รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2.3) วางแผนกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น 2.4) จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการส่งเสริมศาสนาฯ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะได้นำข้อเสนอแนะของ กมธ. ไปปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวต่อไป วธ. (กรมศิลปากร) ได้เร่งรัดปรับปรุง พ.ร.บ. โบราณสถานฯ เพื่อกระจายอำนาจและกำหนดให้ อปท. มีหน้าที่และอำนาจในการดูแลโบราณสถานโบราณวัตถุ |
|
2. ด้านการบริหารการจัดการ |
||
2.1 นำหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดทำฐานข้อมูล (Big data) ทางด้านวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ และสัมผัสไม่ได้ 2.2 ออกแบบและพัฒนาขั้นตอนของการมีส่วนร่วมในการทำงานของประชาชน เพื่อสร้างให้เป็นวิถีชุมชนและสร้างความเป็นปึกแผ่น รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและการดำเนินงานของรัฐสภาให้ทั่วถึง เช่น การใช้สื่อดิจิทัล การจัดให้มี Application software ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม และโบราณสถานให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนการดำเนินการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม |
วธ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ - การจัดทำฐานข้อมูล (Big data) ทางด้านวัฒนธรรมควรประกอบด้วย เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม ระบบเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ระบบตรวจสอบและรับฟังเสียงสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ YouTube ระบบตอบคำถามอัตโนมัติ ระบบสารานุกรมเสรีด้านวัฒนธรรม ระบบสืบค้นข้อมูลอัจฉริยะด้านวัฒนธรรม ระบบ กฤตภาคข่าวออนไลน์ และแอปพลิเคชัน - การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม และโบราณสถานให้เป็นที่รู้จักควรกำหนดกลไกให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องที่ - การดำเนินการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ควรให้ วธ. สภาวัฒนธรรมตำบล ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนทางสังคมร่วมกันขับเคลื่อนด้านวัฒนธรรมโดยวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มากขึ้น |
|
3. ด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพของผู้มีส่วนได้เสีย |
||
3.1 ควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ บริหารจัดการ และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เด็กและเยาวชน และควรจัดให้มีกองทุนวัฒนธรรม เพื่อให้ อปท. และชุมชนมีทรัพยากรในการดำเนินการ รวมทั้งควรจัดให้มีรางวัลตอบแทน อปท. ที่ประสบความสำเร็จ ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.2 พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาสังคม และสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายชุมชนในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของ อปท. ในเรื่องการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม โดยทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินและนักบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมที่เชี่ยวชาญ |
วธ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ - การปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์บริหารจัดการ และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ในการสืบทอดวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับทุกวัย โดยมีศิลปิน นักวิชาการ ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความรู้ ตลอดจนควรมีหลักสูตรท้องถิ่นให้ได้เรียนรู้ - ได้มีการดำเนินงานการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้มีความสืบเนื่องและยั่งยืนตาม พ.ร.บ. ส่งสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 59 รวมทั้งสร้างแนวทางความร่วมมือระหว่างชุมชนที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่เพื่อรวบรวมและจัดทำรายการเบื้องต้นในการประกาศขึ้นบัญชีมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีข้อมูลที่ไม่สามารถจับต้องได้อันเป็นข้อมูลทุติยภูมิทางวิชาการที่สามารถศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลเพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ประชาชนทั่วไป หรือองค์กรต่างๆ ได้ กค. เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนทางวัฒนธรรม ควรให้กองทุนดังกล่าวมีรายได้จากการจัดกิจกรรมและแหล่งการท่องเที่ยว งบประมาณของ อปท. การบริจาคจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอใน การดำเนินการ |
|
4. ด้านแหล่งรายได้และกองทุนทางด้านวัฒนธรรม |
||
ควรมีการออกแบบและจัดตั้งกองทุนทางด้านวัฒนธรรมโดยมีรายได้จากการจัดกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวงบประมาณของ อปท. การบริจาคจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน |
กค. เห็นว่า หากมีความจำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นแหล่งในการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 58 จะต้องจัดทำรายละเอียดเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของเงิน แผนการดำเนินการ และแผนการเงินของกองทุนเสนอต่อ คกก. นโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนตาม ม. 14 แห่ง พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียนฯและตาม ม. 63 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 61 |
|
5. ด้านการออกแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ อปท. และชุมชน ในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม |
||
ให้นำกระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนทางวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและ อปท. โดยการทำงานเป็นระยะต่างๆ คือ - ระยะเตรียมการที่ต้องมีการสำรวจ - ระยะต่อไป คือ การวางแผนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ โดยมี อปท.และชุมชนดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟู อนุรักษ์พัฒนา และสืบสาน - ระยะต่อมา คือ การติดตามและการพัฒนา รวมทั้งขยายผล ตลอดจนให้สภาองค์กรชุมชนระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกับการบริหารจัดการกองทุนทางวัฒนธรรมกับ อปท. ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 51 |
มท. ได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 64 มีสาระสำคัญ ดังนี้ - เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน - คกก. ชุมชนมีที่มาจากการเลือกโดยประชาชนในชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน มีวาระในการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 4 ปี - การดำเนินงาน การส่งเสริม และการสนับสนุน คกก. ชุมชน กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ให้คำแนะนำแก่ คกก. ชุมชน รวมทั้งกลั่นกรองข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและเทศบาล และเทศบาลอาจอุดหนุนงบประมาณให้แก่ คกก. ชุมชน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ มท. กำหนด |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 10 สิงหาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8309
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ