WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ....

GOV6

ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้

          1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง .. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

          2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

          3. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า

          1. ที่ผ่านมาได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญโดยการเฝ้าระวังผู้พ้นโทษที่มีลักษณะพิเศษ จำนวน 7 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ต้องโทษในฐานความผิด 1) ฆ่าหรือข่มขืนเด็ก 2) ฆ่าข่มขืน 3) ฆาตรกรต่อเนื่อง 4) ฆาตรกรโรคจิต 5) สังหารหมู่ 6) ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์โดยการฆ่า และ 7) นักค้ายาเสพติดรายสำคัญ พบว่า ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์บางประเภทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง เช่น การฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่ เมื่อได้รับการจำคุกจนพ้นโทษแล้วจะได้รับการปล่อยตัวสู่สังคมโดยอิสระ แม้จะมีการติดตามจากเจ้าพนักงานตำรวจหรือฝ่ายปกครองบ้างแต่ก็ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ส่วนหนึ่งยังมีความเสี่ยงที่จะไปกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงซ้ำในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกัน ซึ่งประเทศไทยยังขาดกฎหมายเพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดให้มีการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ หรือการคุมขังภายหลังพ้นโทษ

          2. ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมายเฉพาะเพื่อรองรับมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาการก่ออาชญากรรมสะเทือนขวัญหรือการกระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์และลดอัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษ เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสม รวมทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านพัฒนาพฤตินิสัยและบริหารความยุติธรรม จึงเป็นความท้าทายต่อกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทั้งในการดำเนินคดี การพิจารณาตัดสินคดี การบังคับโทษ การบำบัดฟื้นฟู และการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง รวมถึงการติดตามสอดส่องและการสงเคราะห์ผู้พ้นโทษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับส่วนราชการในกระบวนการยุติธรรมทุกภาคส่วน

          3. ยธ. ได้ศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลทางวิชาการและสถิติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศออสเตรเลียและประมวลกฎหมายอาญาของประเทศฝรั่งเศส จึงยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง .. .... ขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 มกราคม 2563 และ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ ยธ. ครั้งที่ 3/2564 วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว

          4. ยธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม องค์กรอิสระ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป โดยมีการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายและการบังคับใช้ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings และรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ www.oja.go.th ระหว่างวันที่ 11 - 26 มิถุนายน 2564 รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Poll) จำนวน 2,000 คนทั่วประเทศ และจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบซึ่งอาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าว พร้อมเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ www.oja.go.th และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย .. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว

          สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

          กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ได้แก่ ให้มีคณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ กำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย การเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ (supervision order) การคุมขังภายหลังพ้นโทษ (detention order) การคุมขังฉุกเฉิน (emergency detention order) และการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีประวัติเป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง รายละเอียด ดังนี้

          1. กำหนดบทนิยามความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง เช่น ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส เป็นต้น ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงหมายความว่า ผู้ซึ่งกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป การเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ” “การคุมขังภายหลังพ้นโทษ” “มาตรการทางการแพทย์เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำเป็นต้น

          2. กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ได้แก่

                 2.1 ให้มีคณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ และอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและทิศทางในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำของผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง กำหนดมาตรฐานการดำเนินงานต่างๆ ของพนักงานคุมประพฤติ เป็นต้น

                 2.2 กำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย โดยในคดีที่จำเลยถูกฟ้องในข้อหาความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ก่อนมีคำพิพากษาให้ศาลเรียกสำนวนการสอบสวนจากพนักงานอัยการและสั่งให้พนักงานคุมประพฤติดำเนินการสืบเสาะและพินิจเกี่ยวกับอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ สิ่งแวดล้อม สภาพความผิด การรู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น เหตุอื่นอันควรปรานี และเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับจำเลย แล้วทำรายงานและความเห็นให้ศาลเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษา เพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษ และเพื่อการกำหนดมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย ทั้งนี้ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ใช้มาตรการฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะรายก็ได้

                 2.3 กำหนดการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ (supervision order) ก่อนที่กรมราชทัณฑ์จะปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงให้กรมราชทัณฑ์ส่งรายชื่อนักโทษเด็ดขาดที่เป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงให้กรมควบคุมประพฤติพิจารณาดำเนินมาตรการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ ได้แก่ ผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงได้รับการปล่อยตัวเพราะเหตุต้องโทษจำคุกครบกำหนดตามคำพิพากษา อภัยโทษ พักการลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ให้กรมคุมประพฤติจัดทำสำนวนการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษสำหรับนักโทษเด็ดขาดแต่ละราย พร้อมทั้งเสนอความเห็นว่าควรจะเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษหรือไม่ แล้วเสนอพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ

                 2.4 กำหนดการคุมขังภายหลังพ้นโทษ (detention order) ให้ศาลมีอำนาจสั่งคุมขังผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรงได้ ไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้นั้นพ้นโทษ เพื่อป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ

                 2.5 กำหนดการคุมขังฉุกเฉิน (emergency detention order) ในกรณีที่ปรากฏต่อพนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้วแต่กรณี ว่าผู้ถูกเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษแสดงพฤติการณ์ใกล้ที่จะกระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง และไม่มีมาตรการอื่นใดที่ยับยั้งได้ ให้พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบร้องขอต่อศาลเพื่อออกคำสั่งคุมขังฉุกเฉิน

                 2.6 การพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีประวัติเป็นผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์ที่ใช้ความรุนแรง ให้ศาลพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจรายงานผลการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเฉพาะราย และสำนวนการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษประกอบการพิจารณาด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8103

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!