รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในประเด็นสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ของรัฐบาล ของ อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการคณะต่างๆ ประจ
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 03 August 2021 22:58
- Hits: 11875
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในประเด็นสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ของรัฐบาล ของ อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการคณะต่างๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) เสนอดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และเห็นชอบข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. โดยให้รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และจังหวัด ที่มีประเด็นสมควรปรับปรุงแก้ไข รับข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการ พร้อมทั้งรายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อ ค.ต.ป. คณะต่างๆ ต่อไป
2. รับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่างๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ค.ต.ป. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในประเด็นสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ของรัฐบาล ของ อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงซึ่งได้มีการวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นการตรวจสอบระดับนโยบายกับระดับกระทรวง และจำแนกปัญหาเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เห็นถึงกลุ่มของปัญหาที่จะนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงเป้าหมาย และเป็นรูปธรรม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 ระดับที่ 1 ปัญหาและข้อเสนอแนะในระดับนโยบาย
ประเด็น/ข้อค้นพบ |
ข้อเสนอแนะในภาพรวม |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
||
ประเด็นที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนระดับฐานรากในพื้นที่ผ่านโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาท |
||||
(1) การอนุมัติโครงการภายใต้แผนงานโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 400,000 ล้านบาท ยังมีความล่าช้า ส่วนราชการ และจังหวัดเร่งเสนอโครงการในลักษณะเดิมจึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความเร่งด่วนและปัญหาในปัจจุบัน ทำให้ไม่เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และไม่เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง |
(1) ปรับเกณฑ์การจัดสรรเงินกู้โดยให้เป็นวงเงินรวม (Block Grant) เพื่อนำไปสนับสนุนโครงการในพื้นที่ โดยมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินโครงการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องก่อให้เกิดการจ้างงานในระดับพื้นที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด และต้องสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product: GPP) ให้สูงขึ้น |
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
|
||
(2) การนำเสนอโครงการของส่วนราชการทั้งส่วนกลางและจังหวัดยังขาดกระบวนการมีส่วนร่วม และต้องมีการผลักดันให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนมากขึ้น เนื่องจากพบว่าการนำเสนอโครงการยังไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนในพื้นที่ | 2) ศึกษาการจัดสรรงบประมาณในลักษณะวงเงินรวม (Block Grant) ให้แต่ละจังหวัดสามารถกำหนดเป้าหมายและการดำเนินงานในพื้นที่ได้ตรงกับความต้องการ | - สำนักงบประมาณ (สงป.) | ||
3) การจัดสรรงบประมาณผ่านแผนงานโครงการหน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับโครงการที่เสนอโดยภาคประชาชนเป็นลำดับแรก หรือโครงการที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและเกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง | - สศช. และ สงป. | |||
4) ปรับวิธีการทำงานของภาครัฐให้คำนึงถึงความชัดเจนในการกำหนดและถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติงานในระดับพื้นที่โดยผ่านกลไกการสื่อสารสร้างการรับรู้เชิงรุกกับทุกภาคส่วนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ ตั้งแต่การจัดทำโครงการและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 |
- สศช. และ สงป. | |||
ประเด็นที่ 2 การบริหารงานของภาครัฐในช่วงวิกฤต |
||||
(1) ภาครัฐยังไม่มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เมื่อภาครัฐมีมาตรการต่างๆ จึงทำให้เกิดความซ้ำซ้อน |
1) ควรมีหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในภาพรวมเพื่อให้ส่วนราชการมีแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ |
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)(สพร.) |
||
(2) ระบบการทำงานของภาครัฐยังไม่เป็นออนไลน์ทั้งระบบจึงเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งพบปัญหาอุปสรรคจากการที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ และแนวทางที่จะให้แต่ละหน่วยงานนำไปปฏิบัติยังไม่ชัดเจน | 2) ปรับระบบการทำงานของภาครัฐให้เป็นดิจิทัลเพื่อรองรับกับระบบงานที่สามารถปฏิบัติงานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทบทวนแนวทางการปรับระบบการทำงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบเพื่อให้เกิดความคล่องตัว ไม่ติดขัด | - ดศ. และ กพร. |
1.2 ระดับที่ 2 ปัญหาและข้อเสนอแนะของการจัดสรรงบประมาณทั้งในส่วนของเงินงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ
ประเด็น/ข้อค้นพบ |
ข้อเสนอแนะในภาพรวม |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
||
ประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนฐานรากในพื้นที่ผ่านกลไกการเกษตร |
||||
(1) การดำเนินโครงการส่วนใหญ่มีความล่าช้า ส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณมีความล่าช้า ทำให้ไม่มีการจ้างงานในพื้นที่ ซึ่งมีผลต่อการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 และเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง |
1) ในกรณีที่จะมุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือปัญหาเร่งด่วนควรมีการกำหนดรูปแบบการพิจารณากลั่นกรองงบประมาณที่ไม่ได้มาจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว และควรกำหนดระยะเวลาการดำเนินการที่เพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้ส่วนราชการสามารถพิจารณาทบทวนเพื่อเสนอโครงการที่เหมาะสมสอดคล้องกับปัญหา |
- สศช. และ สงป. |
||
(2) เงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดในโครงการกลายเป็นข้อจำกัดต่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนด (3) โครงการส่วนใหญ่ที่ได้รับการจัดสรรจากวงเงินกู้ 400,000 ล้านบาท เน้นการจ้างงานในระยะสั้นเป็นหลัก ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาที่มุ่งเป้าเรื่องการมีอาชีพ มีรายได้ไม่เกิดความยั่งยืน |
2) ควรกำหนดแนวทางการพัฒนาและขยายผลโครงการที่ได้รับจัดสรรจากเงินกู้เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งต้องกำหนดหลักเกณฑ์แนวทางการพิจารณาให้ชัดเจนโดยให้มีการถอดบทเรียนผลการดำเนินโครงการประกอบการพิจารณาเพื่อให้สะท้อนถึงประโยชน์ที่จะได้รับอย่างแท้จริง และเกิดการต่อยอดการสร้างองค์ความรู้ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาในระยะยาว | - สศช. และ สงป. |
1.3 ระดับที่ 3 ปัญหาและข้อเสนอแนะในระดับปฏิบัติ
ประเด็น/ข้อค้นพบ |
ข้อเสนอแนะในภาพรวม |
หน่วยงานที่รับผิดชอบ |
||
ประเด็นที่ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนฐานรากในพื้นที่ผ่านกลไกการเกษตร |
||||
(1) โครงการตามพระราชกำหนดเงินกู้ที่ลงไประดับพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเป็นโครงการที่กำหนดจากส่วนกลางและมีระยะเวลาจำกัดทำให้มีความเสี่ยงที่โครงการอาจไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เช่น โครงการโคก หนอง นาโมเดล และโครงการ 1 เกษตร 1 ทฤษฎีใหม่ ยังไม่มีการดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นกระบวนการ |
1) เร่งขยายผลและต่อยอดการดำเนินโครงการของมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ เนื่องจากเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่ต้นทาง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เกิดความเป็นเจ้าของสร้างการยอมรับ และสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
- กระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมการพัฒนาชุมชน) |
||
(2) การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กโดยเฉพาะที่อยู่นอกเขตชลประทานจะทำให้มีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น สามารถกระจายน้ำไปยังส่วนการผลิตภาคการเกษตรได้ และช่วยลดการอพยพย้ายถิ่น | 2) กำกับดูแลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการและซ่อมแซมแหล่งน้ำที่อยู่นอกเขตชลประทาน ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำขนาดเล็ก น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน ให้สามารถใช้งานได้ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการอุปโภค บริโภค และการเกษตร เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และลดภาระการจัดสรรงบประมาณในการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ | - มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) | ||
3) ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับโครงการในแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างการจ้างงานและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่มีการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ทั้งข้อมูลในการอนุมัติ อนุญาต และการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น เช่น การขุดบ่อ การสร้างฝาย และการขอใช้พื้นที่ในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการทำงานแบบครบวงจร และเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม |
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มท. กระทรวงแรงงาน (รง.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) |
|||
ประเด็นที่ 2 การลดผลประทบของประชาชนทางด้านเศรษฐกิจผ่านมาตรการเราไม่ทิ้งกันและมาตรการเยียวยาเกษตรกร |
||||
(1) ภาครัฐยังไม่มีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกัน ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน |
1) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการตามมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนเป็นปัจจุบัน มีความเพียงพอ และมีความพร้อมในการเชื่อมโยง ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบฐานข้อมูลของประชาชนตั้งแต่ต้นทาง เช่น ข้อมูลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลประกันสังคม และการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐที่ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย |
- สพร.
|
||
(2) มาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนบางส่วนเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล |
2) เร่งรัดให้ทุกส่วนราชการบูรณาการข้อมูลภาครัฐภายใต้มาตรฐานของ สพร. เพื่อเชื่อมโยงและใช้ข้อมูลร่วมกันในระบบเดียว รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูล ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้พร้อมในการบูรณาการข้อมูล |
- มท. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กษ. และ รง. | ||
(3) ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลสำหรับประชาชน ตามมาตรการของหน่วยงานรัฐ ทำให้ต้องลงทะเบียนใหม่ |
3) กำหนดแนวทางและมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและยินยอมให้ใช้ฐานข้อมูลเลข 13 หลัก ในการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ |
- ดศ. | ||
ประเด็นที่ 3 ผลกระทบและมาตรการเยียวยาเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC) |
||||
(1) สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเปลี่ยนไป ส่งผลให้ต้องมีการปรับวางตำแหน่งของอุตสาหกรรมใหม่ (Repositioning) และจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) จุดเน้นที่จะพัฒนาพื้นที่ EEC |
1) ดำเนินการ repositioning and prioritize ในอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve เพื่อรองรับกับเป้าหมายของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศึกษาวิเคราะห์และวางแผนกำลังคนที่ต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน และกำลังการผลิตผู้ที่จบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงานในอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve |
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) |
||
(2) การไม่มีข้อมูลอุปสงค์และอุปทานที่สะท้อนให้เห็นตัวเลขความต้องการที่แท้จริงของภาคอุตสาหกรรม | 2) กำหนดรูปแบบใหม่ของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การสร้างความร่วมมือในลักษณะ partnership ที่ชุมชนเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของผ่านการถือหุ้นและร่วมกำหนดแนวทางการทำงาน เพื่อลดผลกระทบเชิงลบจากประชาชน | - สกพอ. | ||
3) ศึกษา วิเคราะห์โมเดลการลงทุนใหม่ โดยกำหนดรูปแบบการลงทุนที่คาดการณ์ไปยังอนาคต เพื่อรองรับ New S-Curve ให้สามารถดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุน และให้มีมาตรการที่จะอำนวยความสะดวกสอดรับกับ 10 ข้อเสนอ เพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ 10 อันดับประเทศที่ประกอบธุรกิจได้ง่ายที่สุด (Ten for Ten) |
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) | |||
ประเด็นที่ 4 กฎระเบียบในการบริหารงานของภาครัฐช่วงวิกฤต |
||||
(1) กฎระเบียบในการบริหารงานภาครัฐยังไม่เอื้อให้สามารถทำงานแบบออนไลน์ทุกขั้นตอน ส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการทำงานที่บ้าน |
1) ดำเนินการตรวจสอบ กำกับการประเมิน Application ที่ใช้สำหรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้จริง |
ดศ. |
||
(2) ระบบการทำงานของภาครัฐยังไม่เป็นดิจิทัลในการรองรับระบบงานที่เปลี่ยนไปในสถานการณ์วิกฤต |
2) ศึกษาและทบทวนระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 ให้สามารถดำเนินการแบบออนไลน์ ครบวงจร และเร่งรัดพัฒนาระบบบริหารงบประมาณ การเงิน บัญชี และพัสดุ (Agency Financial Management Information System: AFMIS) เพื่อนำมาใช้เป็นต้นแบบและสนับสนุนการดำเนินงาน back office รวมทั้งประสาน ดศ. ทบทวนกฎหมายให้สามารถจัดการประชุมออนไลน์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างได้ (ปัจจุบันกรมบัญชีกลางได้แก้ไขระเบียบดังกล่าวแล้ว และแจ้งเวียนแนวทางให้ส่วนราชการถือปฏิบัติแล้ว) |
- กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และ ดศ.
|
||
3) เตรียมความพร้อมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด รวมทั้งกำลังคนเพื่อรองรับนโยบาย Work From Home | - ทุกส่วนราชการ | |||
4) ให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนการบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภททั้งในระดับหน่วยงาน ส่วนกลาง และหน่วยปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับให้มีการปฏิบัติตามแผน |
- ทุกส่วนราชการ | |||
ประเด็นที่ 5 การดำเนินงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในสภาวะวิกฤต |
||||
(1) การติดตามและประเมินผลด้าน ววน. ในภาพรวมของประเทศไม่มีการเชื่อมโยงและส่งต่อระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก อว. |
1) สนับสนุนงานวิจัยทางด้าน ววน. ให้มีลักษณะวิจัยแบบเร่งด่วนที่สามารถเห็นผลได้ในระยะสั้นหรือเร่งด่วนที่สามารถตอบโจทย์ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว |
- อว.
|
||
(2) การขาดกลไกการติดตามประเมินผลที่เข้มข้นและเป็นระบบ โดยเฉพาะการดำเนินงานจากงบประมาณที่ไม่ได้จัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. ทำให้ไม่สามารถนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาต่อได้ | 2) สนับสนุนทุนวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการแข่งข้นของประเทศนำไปสู่การต่อยอดและขยายผลได้ | - อว. | ||
3) ควรมีการทบทวนและประเมินผลงานนวัตกรรมที่ได้ดำเนินการในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต | - อว. |
2. ค.ต.ป. ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 และครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่างๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ (skill) 2) ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการ (knowledge) 3) การรายงานผลจากการตรวจสอบฯ (output) และ 4) การบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
(1) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 1 ค.ต.ป. มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ มีผลการประเมินสูง
(2) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 2 ค.ต.ป. มีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ มีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด
2.2 ความเห็นและข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. คณะต่างๆ ที่มีต่อแนวทางการตรวจสอบและกลไกการดำเนินงาน เช่น ควรมีกระบวนการติดตามความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องถึงความพึงพอใจต่อการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. คณะต่างๆ การจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการประชาสัมพันธ์งาน ค.ต.ป. เพื่อให้เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ นอกจากนี้ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลควรมุ่งเน้นการตรวจติดตามและประเมินผลภาคราชการในลักษณะที่เป็นการส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับปรุง แก้ไขปัญหาได้ทันที และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
2.3 ฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยได้จัดทำแผนประชาสัมพันธ์การดำเนินงานที่สำคัญของ ค.ต.ป. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจการดำเนินงานของ ค.ต.ป. ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ การสร้างกลุ่มไลน์เพื่อเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้ และเป็นช่องทางการติดต่อระหว่าง อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดแผนเพื่อให้มีการติดตามในลักษณะที่เป็นการส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) โดย อ.ค.ต.ป. คณะต่างๆ ได้เสนอประเด็นการตรวจสอบที่เห็นว่า มีความสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการกำหนดมาตรการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ทันสถานการณ์ เช่น ประเด็นการพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (OTOP/SME) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลในการดำเนินงานสวัสดิการภาครัฐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 สิงหาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8095
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ