WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

GOV 6

มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

          ความเป็นมา

          1. ด้วยนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรองนายกรัฐมนตรี รวมทั้งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวด้วย ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจ (1) จัดทำข้อเสนอและกรอบแนวทางการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจ โดยแบ่งเป็นสองระยะ ประกอบด้วย (1.1) ระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (1.2) ระยะปานกลางและระยะยาวเพื่อยกระดับศักยภาพและวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตภายหลังจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุด (2) สั่งการส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอความร่วมมือภาคเอกชน ให้ดำเนินการเป็นไปตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วนที่กำหนด ... ฯลฯ ...

          2. ข้อเท็จจริง มีดังนี้

                 2.1 ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 มาตรา 102 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าการงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ (2) เหตุสุดวิสัย (3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย และ (4) เหตุอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐใช้ดุลพินิจให้ความช่วยเหลือเป็นรายสัญญาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง

                 2.2 เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 กรมบัญชีกลางได้ดำเนินการ ดังนี้

                          (1) กำหนดให้ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นเหตุสุดวิสัยตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง (2) และกำหนดแนวทางการบริหารสัญญาที่ได้รับผลกระทบจากกรณีโรคโควิด 19 ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ ลงวันที่ 24 เมษายน 2563

                          (2) กำหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับการพิจารณางดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญาหรือการขยายระยะเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลง ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีโรคโควิด 19 พร้อมหลักฐานหรือเอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณาตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ 423 ลงวันที่ 10 กันยายน 2563

          3. เนื่องจากพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่ใช้ดุลพินิจพิจารณา แต่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐใช้ดุลพินิจตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง พิจารณาและมีความเห็นไม่ตรงกันกับผู้ประกอบการที่เป็นคู่สัญญา หรือในบางกรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐไม่พิจารณาให้แก่คู่สัญญาเลยเนื่องจากเป็นการใช้ดุลพินิจที่ปลอดภัยจากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งคู่สัญญาไม่เห็นด้วยกับการใช้ดุลพินิจดังกล่าว จึงทำให้สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และผู้ประกอบการก่อสร้างรวมตัวกัน โดยได้มีหนังสือขอความเป็นธรรมเหตุอันเกิดจากโรคโควิด 19 มายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมทั้งร้องเรียนผ่านรองประธานวุฒิสภาถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีผลทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการได้ตามสัญญา เช่น การขาดแคลนแรงงาน ขาดวัสดุก่อสร้างบางชนิดที่นำเข้าจากต่างประเทศทำให้งานล่าช้า มีผลทำให้ผู้ประกอบการได้รับความเดือดร้อน และมีความประสงค์ขอให้รัฐบาลมีแนวทางการช่วยเหลือซึ่งเป็นการคิดในลักษณะเหมารวม เหมือนเช่นก่อนที่พระราชบัญญัติฯ จะมีผลใช้บังคับ (วันที่ 23 สิงหาคม 2560)

          ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 26/2563 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2563 เรื่อง การบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นควรมีแนวทางการช่วยเหลือเป็น 4 แนวทาง ดังนี้

          1. มาตรการช่วยเหลือโดยการหักกลบจำนวนค่าปรับ

                 1.1 หลักการ : ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อให้ความช่วยเหลือฯ ได้ จึงจะอาศัยระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง .. 2562 ข้อ 35 มาเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ ภายใต้วิธีคิดว่าจะไม่ใช้เงินงบประมาณ และไม่ควรให้ความช่วยเหลือกับผู้ประกอบการที่ปกติก็ทำงานล่าช้าอยู่แล้ว

                 1.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ

                          (1) การให้ความช่วยเหลือให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาจำนวนวันให้ความช่วยเหลือตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้

                          (2) สัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ มีดังนี้

                                   (2.1) สัญญาซื้อหรือจ้างยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้ และสัญญาดังกล่าวมีค่าปรับเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่ค่าปรับที่เข้าเงื่อนไขการงดหรือลดค่าปรับตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติฯ โดยพิจารณาให้ความช่วยเหลือสำหรับสัญญาซื้อหรือจ้าง ซึ่ง วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติได้มีค่าปรับเกิดขึ้นแล้วแต่ไม่เกินร้อยละ 25 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง

                                   (2.2) สัญญาซื้อหรือจ้าง ซึ่ง วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ได้มีค่าปรับเกินกว่าร้อยละ 25 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้าง ไม่ได้รับการให้ความช่วยเหลือตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในครั้งนี้

                          (3) ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาจำนวนค่าปรับตามสัญญา หลังจากนั้นให้นำจำนวนวันที่ให้ความช่วยเหลือตามข้อ (2.1) มาหักกลบ และเมื่อหักกลบแล้วยังมีค่าปรับเหลืออยู่ให้หน่วยงานของรัฐปรับและนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินหรือเป็นรายได้ของหน่วยงานของรัฐต่อไป

                          (4) วิธีการ กรมบัญชีกลางเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบมาตรการฯ

                          (5) ข้อดี ข้อเสีย

                          ข้อดี : แนวทางนี้รัฐบาลไม่มีภาระทางการคลัง เนื่องจากมาตรการนี้เป็นการนำจำนวนค่าปรับตามสัญญามาหักกลบตามมาตรการให้ความช่วยเหลือ หากจำนวนวันที่หักกลบตามมาตรการนี้มากกว่าจำนวนค่าปรับตามสัญญา กรณีนี้จะไม่มีค่าปรับใดๆ อีก แต่หากเป็นกรณีเมื่อหักกลบแล้วยังมีค่าปรับเหลืออยู่ให้หน่วยงานของรัฐปรับและนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินหรือเป็นรายได้ของหน่วยงานของรัฐต่อไป

                          ข้อเสีย : แนวทางนี้อาจขัดต่อหลักการรับเป็นรับ จ่ายเป็นจ่าย ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง

          2. เสนอให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาการงด หรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญาหรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา ตามพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ด้วย

                 2.1 หลักการ : เพื่อให้คณะรัฐมนตรี เป็นผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาการงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา ด้วย เพื่อจะสามารถออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภายใต้มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ต่อไปได้

                 2.2 วิธีการ : กรมบัญชีกลางจะดำเนินการแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ข้อ 6 จากเดิมผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ ได้แก่ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการตามระเบียบนี้ ได้แก่ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือ คณะรัฐมนตรี

                 2.3 ข้อดี ข้อเสีย

                 ข้อดี : แนวทางนี้รัฐบาลไม่มีภาระทางการคลัง

                 ข้อเสีย : เนื่องจากกฎหมายยังมีความไม่ชัดเจน จึงอาจมีปัญหาในการแปลความเรื่องอำนาจตามกฎหมายที่อาจจะขัดกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของบทบัญญัติกฎหมายได้ กล่าวคือ การพิจารณาตีความพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ว่า ผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาการงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทำการตามสัญญา หรือข้อตกลงตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 102 วรรคหนึ่ง จะสามารถขยายความรวมถึงคณะรัฐมนตรี ได้หรือไม่ รวมทั้งการกำหนดจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงจะสามารถกำหนดระยะเวลาตามประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ฉบับแรกนับเวลาต่อเนื่องมาจนถึงประกาศฉบับปัจจุบัน ได้หรือไม่ และหากจำเป็นต้องพิจารณาถึงเจตนารมณ์ในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา 102 วรรคหนึ่ง ในขณะนั้น กรมฯ อาจต้องมีหนังสือหารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อพิจารณาต่อไป

          3. การนำเงินงบประมาณหรือเงินอื่นมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ

                 3.1 หลักการ : นำเงินงบประมาณหรือเงินอื่นมาจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการรับเป็นรับ จ่ายเป็นจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง

                 3.2 วิธีการ

                          (1) กรมบัญชีกลางเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบประมาณเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการเท่ากับจำนวนวันที่รัฐบาลชดเชย กรมบัญชีกลางเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบประมาณเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือชดเชยให้แก่ผู้ประกอบการเท่ากับจำนวนวันที่รัฐบาลชดเชย จำนวนประมาณ 10,659.276 ล้านบาท โดยประมาณการมาจากข้อมูลในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) ซึ่งมีจำนวนสัญญา 6,889.472 สัญญา รวมมูลค่าสัญญาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1.973 ล้านล้านบาท เมื่อคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 เป็นเวลา 180 วัน โดยประมาณ

                          (2) หน่วยงานของรัฐยังคงมีหน้าที่ปรับตามสัญญาและนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินหรือรายได้ของหน่วยงานของรัฐตามปกติ

                          (3) ข้อดี ข้อเสีย

                          ข้อดี : ไม่ขัดต่อหลักการรับเป็นรับ จ่ายเป็นจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง

                          ข้อเสีย : มีภาระต่องบประมาณของรัฐบาล และเนื่องจากยังมีการปรับตามปกติ หากผู้ประกอบการได้รับเงินช่วยเหลือล่าช้า อาจส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการต่อไปได้

          4. การกำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ

                4.1 หลักการ : เมื่ออัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการก็จะไม่มีค่าปรับ ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้

                4.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้

                        (1) สัญญาที่ได้ลงนามก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และสัญญาดังกล่าวมีค่าปรับเกิดขึ้นแต่ไม่ใช่ค่าปรับที่เข้าเงื่อนไขการงดหรือลดค่าปรับตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติฯ หากจำนวนค่าปรับที่เกิดขึ้นมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละ 25 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2563 กรณีดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือ

                        สัญญาที่ได้ลงนามก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งยังมีนิติสัมพันธ์อยู่ และยังมิได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายก่อนวันที่มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังมิได้มีการตรวจรับพัสดุ และไม่เข้าตามเงื่อนไขตามวรรคหนึ่งให้คิดค่าปรับในอัตราร้อยละ

                        (2) สัญญาที่ได้ลงนามหลังวันที่ 26 มีนาคม 2563 ซึ่งยังมีนิติสัมพันธ์อยู่และยังมิได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้ายก่อนวันที่มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ยังมิได้มีการตรวจรับพัสดุ ให้คิดค่าปรับในอัตราร้อยละ

                        (3) สัญญาที่ได้ลงนามหลังวันที่มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แล้ว จะไม่ได้รับความช่วยเหลือตามมาตรการนี้

                        ทั้งนี้ การคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 ให้คิดตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงก่อนวันที่มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงทั่วราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้พิจารณางดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายระยะเวลาทำการตามสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ก็ให้นำจำนวนวันดังกล่าวมาหักออกจากจำนวนวันตามมาตรการนี้ และจำนวนวันที่เหลือ ให้คิดค่าปรับในอัตราร้อยละ

                        สำหรับค่าปรับส่วนที่เกินจำนวนวันตามมาตรการนี้ ให้คิดในอัตราที่กำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงตามปกติ โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ข้อ 183 ต่อไป

                  4.3 วิธีการ 

                  กรมบัญชีกลางจะเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (คณะกรรมการวินิจฉัย) โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง (4) เพื่ออนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ข้อ 162 ในเรื่องอัตราค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลง ซึ่งกำหนดว่า ให้สัญญาหรือข้อตกลงกำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01 – 0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ หรือกรณีการจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกันให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ต่ำกว่าวันละ 100 บาท โดยยกเว้นกรณีสัญญายังมีนิติสัมพันธ์อยู่ หากยังมิได้ส่งมอบงานงวดสุดท้าย หรือได้มีการส่งมอบงานงวดสุดท้าย แต่ยังมิได้มีการตรวจรับพัสดุ ให้คิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 และรายงานคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเพื่อทราบต่อไป

                  4.4 ข้อดี ข้อเสีย

                  ข้อดี : แนวทางนี้รัฐบาลไม่มีภาระทางการคลัง และสามารถดำเนินการได้เลย เนื่องจากอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่ง (4) 

                  ข้อเสีย : ไม่มี

           กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นว่า แนวทางตามข้อ 4. การกำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 เป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากกรมบัญชีกลางสามารถเสนอเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยพิจารณาอนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ข้อ 162 และรายงานคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐเพื่อทราบต่อไป ดำเนินการได้อย่างไม่ล่าช้า และไม่มีภาระต่อเงินงบประมาณแต่อย่างใด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8090

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!