WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Gathering of Cairns Group Ministers)

GOV 7

การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Gathering of Cairns Group Ministers)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบ (1) การเปลี่ยนแปลงชื่อการประชุมจากการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 42 เป็นการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการ (2) ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการ และ (3) แถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ วันที่ 23 มิถุนายน 2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 มิถุนายน 2564) เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 42 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ดังกล่าว] โดยเป็นการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เป็นหัวหน้าผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการประชุมในภาพรวม

          ที่ประชุมเห็นพ้องว่า การลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนการค้าควรเป็นผลลัพธ์ด้านการเจรจาสินค้าเกษตรที่ยอมรับได้ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 โดยกรอบการเจรจาเรื่องการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่จัดทำโดยกลุ่มเคร์นส์สามารถนำไปเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาเพื่อลดการอุดหนุนที่บิดเบือนการค้าสำหรับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการปฏิรูปทุกสาขาของการเจรจาสินค้าเกษตรอย่างเท่าเทียม เช่น การเปิดตลาดสินค้าเกษตร การยกเว้นการใช้มาตรการห้ามและจำกัดการส่งออกสำหรับอาหารที่ซื้อโดยโครงการอาหารโลก อีกทั้ง กลุ่มเคร์นส์ต้องขยายความร่วมมือและความสัมพันธ์กับสมาชิกนอกกลุ่มด้วย เช่น สหภาพยุโรปและกลุ่มแอฟริกา ทั้งนี้ ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกได้เน้นย้ำให้มีการปฏิรูปการเจรจาสินค้าเกษตรให้เป็นรูปธรรมหลังการเจรจามายาวนานกว่า 20 ปี และเห็นว่าความร่วมมือระหว่างกลุ่มเคร์นส์และกลุ่มแอฟริกาจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้สมาชิกองค์การการค้าโลกสามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา

          2. บทบาทและท่าทีของประเทศไทย (ไทย)

          ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญฯ) ได้กล่าวถ้อยแถลงเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของไทยในการผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก เช่น การสนับสนุนให้การค้าสินค้าเกษตรเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรมการลดการบิดเบือนทางการค้า และการลดอุปสรรคทางการค้า โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้เสนอให้กลุ่มเคร์นส์สร้างพันธมิตรเพื่อนกลุ่มเคร์นส์เพื่อผลักดันให้ข้อเสนอของกลุ่มได้รับการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น

          3. การรับรองแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์

          ที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเอกสารตามชื่อการประชุม แต่ยังคงมีสาระสำคัญตามหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มิถุนายน 2564) เห็นชอบแล้ว โดยมีการเพิ่มเติมประเด็น ดังนี้

                 3.1 เน้นย้ำถึงการปฏิรูปการเจรจาสินค้าเกษตร ได้แก่ การอุดหนุนภายในการเปิดตลาด และการแข่งขันการส่งออก ให้มีความก้าวหน้าและเป็นไปอย่างสมดุล

                 3.2 เรียกร้องให้มีข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 เกี่ยวกับการปฏิรูปการอุดหนุนภายในสินค้าเกษตรที่บิดเบือนรวมทั้งผลักดันให้ข้อเสนอของกลุ่มเคร์นส์เรื่องกรอบการเจรจาการอุดหนุนภายในเป็นพื้นฐานให้สมาชิกนำไปหารือต่อไป

                 3.3 ยืนยันถึงความสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินการตามพันธกรณีด้านความโปร่งใส โดยเฉพาะมาตรา 18 ของความตกลงว่าด้วยการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งการอุดหนุนภายใน ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกแจ้งการใช้มาตรการการอุดหนุนในระยะเวลาที่เหมาะสมต่อสำนักเลขาธิการองค์การการค้าโลกเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตร โดยให้สำนักเลขาธิการองค์การการค้าโลกปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์การอุดหนุนภายในของประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก

          4. ผลกระทบ

                 4.1 การเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์อย่างไม่เป็นทางการของไทยถือเป็นการส่งสัญญาณและประกาศเจตนารมณ์ในระดับนโยบายที่สำคัญในการผลักดันให้เกิดผลลัพธ์การเจรจาสินค้าเกษตรสำหรับการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12

                 4.2 แถลงการณ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ เป็นการมุ่งเน้นการปฏิรูปการเจรจาสินค้าเกษตรให้มีความสมดุลและเป็นธรรม ซึ่งหากประเด็นเหล่านี้มีความคืบหน้าจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของโลก เนื่องจากที่ผ่านมามีหลายประเทศที่ใช้นโยบายอุดหนุนการเกษตรที่บิดเบือนการค้า ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกผันผวน และกระทบต่อไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 สิงหาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8087

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!