ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 27 July 2021 22:21
- Hits: 11426
ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
เรื่องเดิม
1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ ได้แก่ 1) รัฐบาลควรดำเนินการ 1.1) กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า (Accessibility for All) ของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ และ 1.2) กำหนดให้มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เป็นมาตรการหนึ่งในการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Right : UNGP) 2) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยและสถาบันการเงินเร่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ธนาคารและสถาบันการเงินมี แนวทางการให้บริการคนพิการที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ 3) ธนาคาร สถาบันการเงิน และสมาคมธนาคารไทยควรดำเนินการ 3.1) กำหนดแนวปฏิบัติและจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อให้มีเจตคติและความรู้ที่ถูกต้องและสร้างสรรค์เกี่ยวกับคนพิการ 3.2) พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่เอื้อต่อการเข้าถึงโดยสะดวกของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ โดยนำหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรมเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design : UD) มาใช้ออกแบบระบบการให้บริการของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ 3.3) กำหนดให้มีหน่วยงานกลางที่สามารถติดต่อเพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะต่อเจ้าหน้าที่ประจำสาขาของธนาคารและสถาบันการเงินในการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภท 3.4) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ควรกำกับดูแลข้อมูลบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงได้โดยสะดวก และ 3.5) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทาง ออกระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่างๆ ของธนาคารและสถาบันการเงิน
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ธปท. ก.ล.ต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวและสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ข้อเท็จจริง
พม. เสนอว่าได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. อว. ดศ. ธปท. และ ก.ล.ต. โดยพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ตามข้อ 1 แล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ |
ผลการพิจารณาศึกษา |
|
1. รัฐบาลควรดำเนินการ 1.1 กำหนดนโยบายและมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้า (Accessibility for All) ของคนทุกกลุ่มรวมถึงคนพิการ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ |
- กค. ได้ขอความร่วมมือไปยัง ธปท. และ ก.ล.ต. เพื่อขอให้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควร เพื่อช่วยลดอุปสรรค ผลักดัน และปรับปรุงการให้บริการทางการเงินแก่คนพิการให้มีความเป็นรูปธรรม - อว. และ ดศ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่ารัฐบาลควรกำหนดให้หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดทำมาตรฐานการเข้าถึงและให้มีกระบวนการตรวจสอบการเข้าถึง เพื่อให้สถาบันการเงินนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโดยสะดวกถ้วนหน้ารวมถึงกลุ่มคนพิการ - พม. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าเนื่องจากประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมักมีผู้พิการร่วมด้วย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุที่คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ |
|
1.2 กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เป็นมาตรการหนึ่งในการปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธรุกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGP) |
- อว. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้หน่วยงานภาครัฐพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับคนพิการในเรื่อง ATM ให้ครอบคลุมกลุ่มคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มคนพิการทางการเห็น และกลุ่มคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย - ดศ. เห็นควรมีการจัดทำแอปพลิเคชันในการให้บริการทางการเงินที่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและเป็นไปตามหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรม เพื่อคนทั้งมวล (UD) - พม. เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภทโดยไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และสนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดการพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียม |
|
2. ธปท. ควรร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทยและสถาบันการเงิน เร่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนโดยสะดวกถ้วนหน้า เพื่อเป็นหลักประกันให้ธนาคารและสถาบันการเงินมีแนวทางการให้บริการคนพิการที่ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
- อว. เห็นควรกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านการเงินและการลงทุนโดยถ้วนหน้าให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ - ดศ. เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์แนวทางการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด - พม. เห็นควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนพิการซึ่งเป็นผู้รับบริการโดยตรง เพื่อให้การบริการสามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนพิการได้อย่างครอบคลุม |
|
3. ธนาคาร สถาบันการเงิน และสมาคมธนาคารไทยควรดำเนินการ 3.1 กำหนดแนวปฏิบัติและจัดอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 6 เดือน เพื่อให้มีเจตคติและความรู้ที่ถูกต้องและสร้างสรรค์เกี่ยวกับคนพิการ |
- อว. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้สมาคมคนพิการได้มีส่วนสร้างหลักสูตรและร่วมเป็นวิทยากร เพื่อสามารถสร้างความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติงาน - ธปท. ดำเนินการผลักดันให้สมาคมธนาคารไทยทบทวนแนวทางปฏิบัติในการให้บริการกับคนพิการทางการ ให้บริการที่เอื้อต่อคนพิการประเภทอื่นเพิ่มเติม และสื่อสารแนวปฏิบัติให้พนักงานสาขาทราบอย่างทั่วถึงด้วย - ก.ล.ต. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และ บริการอย่างมีคุณภาพ และปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึง “คนพิการ” ด้วยแล้ว |
|
3.2 พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ที่เอื้อต่อการเข้าถึงโดยสะดวกของคนทุกกลุ่ม รวมถึงคนพิการ โดยนำหลักการออกแบบที่เป็นสากล และเป็นธรรม เพื่อคนทั้งมวล (Universal Design : UD) มาใช้ออกแบบระบบการให้บริการของธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์ |
- อว. เห็นว่าการพัฒนาเทคโนโลยี FinTech ต้องสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและหลักการ UNGP ด้วย - ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปใช้ปฏิบัติสำหรับการดูแลการให้บริการแก่คนพิการ ได้แก่ หลักเกณฑ์เรื่องการบริหารจัดการด้านการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ (banking channel) |
|
3.3 กำหนดให้มีหน่วยงานกลางที่สามารถติดต่อเพื่อให้คำปรึกษาและชี้แนะต่อเจ้าหน้าที่ประจำสาขาของธนาคารและสถาบันการเงินในการให้บริการพื้นฐานต่อคนพิการทุกประเภทที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ |
- อว. และ พม. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรมีการอบรมเจ้าหน้าที่หน่วยงานกลางให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการทุกประเภท รวมถึงมาตรฐานการให้บริการแก่ คำปรึกษาและชี้แนะ |
|
3.4 ก.ล.ต. ควรกำกับดูแลข้อมูลบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้ทุกคน รวมถึงคนพิการสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รวมทั้งมีหลักประกันในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการลงทุนและการบริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป |
- ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของบริษัทหลักทรัพย์ให้สอดคล้องเป็นไป ร รวมถึงนำเทคโนโลยีตามหลักการ UNGP ไปใช้ในการให้บริการข้อมูล - ดศ. มีการดำเนินงานที่สนับสนุนการเข้าถึงบริการธุรกรรมทางการเงินของคนพิการ โดยการประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554 และตรวจสอบเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐตามมาตรฐานการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Web Accessibility) |
|
3.5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางออกระเบียบ ประกาศ และแนวปฏิบัติต่างๆ ของธนาคารและสถาบันการเงิน |
- อว. เห็นควรให้คนพิการได้เข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นผู้ร่วมทดสอบการเข้าถึงตามมาตรฐานอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ก่อนนำออกไปให้บริการจริง - ธปท. ประสานงานกับสมาคมธนาคารไทยจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาบริการทางการเงินสำหรับคนพิการ เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาของคนพิการทางการเห็นในการทำธุรกรรมผ่านตู้ ATM ในระยะแรก |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 27 กรกฎาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A7811
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ