การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 21 July 2021 00:51
- Hits: 17599
การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอดังนี้
1. แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. กรอบและแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
สาระสำคัญของเรื่อง
ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบใน 2 ประเด็นที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัด ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการและจังหวัดในภาวะวิกฤตมีการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินผลกระทบ ก.พ.ร. จึงกำหนดให้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [ซึ่งเป็นการปรับแนวทางไปจากเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมตีให้ความเห็นชอบไว้ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 15 กันยายน 2563)] โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ให้ส่วนราชการและจังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดต่อสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อใช้ในการติดตาม (Monitoring) แต่จะไม่นำผลไปจัดประเภทตามเกณฑ์การประเมินในระดับคุณภาพ ระดับมาตรฐาน และระดับต้องปรับปรุง
1.2 ให้ส่วนราชการและจังหวัดถอดบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบและการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่องส่งสำนักงาน ก.พ.ร.
1.3 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. สรุปบทเรียนการบริหารจัดการผลกระทบในภาพรวมของส่วนราชการและจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานและการให้บริการประชาชนได้ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพหากเกิดภาวะวิกฤตในอนาคต
2. กรอบและแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
||||||||||||||||||||
หลักการและแนวทาง |
มุ่งเน้นให้กระทรวงมีบทบาทหลักในการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ซึ่งพิจารณาจากประเด็นสำคัญในการบูรณาการและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ และแผนระดับชาติอื่นๆ มากำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกระทรวงและถ่ายทอดลงสู่ระดับกรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหาร จำนวน 153 ส่วนราชการ และ 76 จังหวัด ทั้งนี้ ได้เชื่อมโยงการประเมินส่วนราชการกับการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลที่ดำเนินการโดยสำนักงาน ก.พ. ด้วย โดยนำผลการประเมินตามมาตรการดังกล่าวไปเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติงานรายบุคคลในระดับหัวหน้าส่วนราชการ (ปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าอธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด) ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำแนวทางการเชื่อมโยงการประเมินดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 |
||||||||||||||||||||
องค์ประกอบ และประเด็นการประเมิน |
ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ดังนี้
|
||||||||||||||||||||
กลไกการประเมิน |
1. ส่วนราชการ แบ่งกลไกการประเมินเป็น 2 ระดับ สรุปได้ ดังนี้ ระดับ 1 คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ (คณะทำงานฯ) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาและให้ความเห็นต่อความเหมาะสมของตัวชี้วัดระดับกระทรวงและจังหวัด ระดับ 2 คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ (คณะกรรมการฯ) แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (1) ส่วนราชการระดับกระทรวง 18 กระทรวง (ยกเว้น กห. และสำนักนายกรัฐมนตรี) ให้มีคณะกรรมการฯ ในกระทรวงที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมีหน้าที่กำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย รวมถึงกำกับ ติดตามและให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกระทรวงและส่วนราชการในสังกัดเป็นไปตามแนวทางและเป้าหมายที่กำหนด (2) ส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง (ยกเว้น กอ.รมน. และ ตช.) จำนวน มนตรีที่กำกับส่วนราชการมีหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการฯ ในระดับกระทรวง 2. จังหวัดใช้กลไกการประเมินผ่านคณะทำงานฯ ของจังหวัด เช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 |
||||||||||||||||||||
เกณฑ์การประเมิน |
พิจารณาจากคะแนนในภาพรวม แบ่งเกณฑ์การประเมินเป็น 3 ระดับ ดังนี้
|
||||||||||||||||||||
รอบระยะเวลา การประเมิน |
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบการรายงานผลการประเมินส่วนราชการ (Electronic Self Assessment Report : e-SAR) และหากส่วนราชการมีผลการดำเนินงานรอบ 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน สามารถรายงานผ่านระบบดังกล่าว |
||||||||||||||||||||
กลุ่มเป้าหมาย ในการประเมิน |
ประกอบด้วย ส่วนราชการและจังหวัด สำหรับส่วนราชการสังกัด กห. กอ.รมน.และ ตช. ให้นำแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสังกัดฝ่ายบริหารไปประยุกต์ใช้ และส่งผลการประเมินให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีพร้อมกับส่วนราชการ |
||||||||||||||||||||
ผู้ประเมิน |
1) นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2) รัฐมนตรีว่าการหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการ 3) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ประเมินเบื้องต้น) |
หมายเหตุ : ขั้นตอนการพิจารณากรอบและแนวทางการประเมินเริ่มต้นจากคณะกรรมการฯ พิจารณาในเรื่องต่างๆ (เช่น ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายกำกับ ติดตาม และประเมินผล) เสนอต่อคณะทำงานฯ อ.ก.พ.ร. และ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาตามลำดับ โดยในส่วนของการจัดทำรายงานผลการประเมินส่วนราชการเบื้องต้นดำเนินการโดยสำนักงาน ก.พ.ร เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี/รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับต่อไป
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 กรกฎาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A7637
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ