WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 ประจำปี 2563

GOV 6

รายงานตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ .. 2544 ประจำปี 2563

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (กองทุนฯ) เสนอรายงานประจำปี 2563 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ .. 2544 มาตรา 36 ที่บัญญัติให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อพิจารณาภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี (ครบกำหนดวันที่ 29 มีนาคม 2564) รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของ กองทุนฯ ในปีที่ล่วงมาแล้ว พร้อมทั้งงบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี] สรุป          สาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. สถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสุขภาพและผลงานเด่นในปี 2563 ประกอบด้วย (1) สู้วิกฤตโควิด-19 ด้วยการสร้างเสริมสุขภาพวิถีใหม่ ฉบับ New Normal สสส. (2) พัฒนากลไกลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาวะในหลายมิติ (3) สร้างต้นทุนชีวิตเสริมพลังสุขภาวะประชากรกลุ่มเปราะบาง (4) สานพลังชุมชนเข้มแข็งขับเคลื่อนสังคมชุมชนคือ รากฐานสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ และ (5) พลังคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค...สู่เส้นทางการสร้างเสริมสุขภาวะ

          2. ผลการดำเนินงานสำคัญตามเป้าประสงค์ 6 ประการ ดังนี้

 

เป้าประสงค์ที่ 1 ลดปัจจัยเสี่ยงหลัก ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 5 แผน ได้แก่

1) แผนควบคุมยาสูบ เช่น สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต .. 2561 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการการลดนักสูบหน้าใหม่ สนับสนุนการพัฒนาข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน/ผลักดันนโยบายด้านยาสูบ 2) แผนควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสิ่งเสพติด เช่น สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พัฒนาข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการบำบัดผู้ติดสุรา 3) แผนการจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เช่น ขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายตำบลขับขี่ปลอดภัย สนับสนุนองค์กรเอกชนและสถานศึกษาดำเนินการสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย 100 เปอร์เซ็นต์ 4) แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่น สนับสนุนให้เกิดมาตรการจัดกิจกรรมวิ่งเพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในสถานการณ์โควิด-19 พัฒนาต้นแบบการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม และ 5) แผนอาหารเพื่อสุขภาวะ เช่น สนับสนุนให้เกิดพื้นที่ต้นแบบเกษตรกรรมในเมือง 15 แห่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่ปลูกผักและผลไม้อินทรีย์เพื่อการบริโภค สนับสนุนการขับเคลื่อนลดการบริโภคอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ

 

เป้าประสงค์ที่ 2 พัฒนากระบวนการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอื่นๆ ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 3 แผน ได้แก่

1) แผนควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น สนับสนุนให้เกิดแนวทางการบริการที่ปลอดภัยสำหรับวัยรุ่นและหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม พัฒนากระบวนการฟื้นฟูจิตใจผ่านคลินิกจิตสังคมในระบบศาลเพื่อช่วยลดการกระทำผิดซ้ำและกลับคืนสู่สังคมได้ 2) แผนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว เช่น การพัฒนาแนวปฏิบัติป้องกันโควิด-19 ตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 315 แห่ง พัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้ที่บ้านสำหรับเด็กเล็กในช่วงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปิดทำการ และ 3) แผนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ เช่น สนับสนุนการพัฒนาชุดเครื่องมือสื่อสารให้ความรู้ในการปฏิบัติและป้องกันตนเองและครอบครัวจากการติดโควิด-19 ในประชากรกลุ่มเฉพาะโดยมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ 11 ภาษา ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ

 

เป้าประสงค์ที่ 3 พัฒนาต้นแบบสุขภาวะ ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 2 แผน ได้แก่

1) แผนสุขภาวะชุมชน เช่น พัฒนาสื่อที่ช่วยให้ชุมชนเข้าใจมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ง่าย และพัฒนาเครื่องมือประเมินความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำผลประเมินไปกำหนดเป็นแผน/ยุทธศาสตร์การพัฒนาของชุมชน และ 2) แผนการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร เช่น ขับเคลื่อนให้เกิดมาตรการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กร โดยสถานประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนาการสร้างสุขภาวะองค์กรไปลดหย่อนภาษีได้ ทำให้เกิดองค์กรสุขภาวะที่บุคลากรในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพดีขึ้น 559 องค์กร

 

เป้าประสงค์ที่ 4 สร้างความตื่นตัวและค่านิยมใหม่ในสังคม ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 2 แผน ได้แก่

1) แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา เช่น พัฒนาศักยภาพและทักษะการเป็นผู้ใช้และสร้างสรรค์สื่อที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพของเยาวชน ให้เป็นนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา 3,880 คน พัฒนาโครงการคลองเตยปันกันอิ่ม ช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับชุมชน และ 2) แผนเสริมสร้างความเข้าใจสุขภาวะ เช่น พัฒนาชุดข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพคนไทยปี 2563 (Thaihealth Watch) พัฒนาโครงการรณรงค์เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจสุขภาวะ 11 โครงการ โดยประชาชนรับรู้โครงการฯ ร้อยละ 86.26

 

เป้าประสงค์ที่ 5 ขยายโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 1 แผน

แผนสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมสุขภาวะ เช่น สนับสนุนการกระจายโครงการสร้างเสริมสุขภาวะระดับชุมชนไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาส 2,165 โครงการ รวมถึงเกิดโครงการสร้างเสริมสุขภาพที่สร้างสรรค์ 420 โครงการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในกลุ่มเด็กเยาวชน คนพิการ และชาติพันธุ์ สร้างความเข้มแข็งชุมชนให้มีกลไกการจัดการและรับมือโรคโควิด-19 โดยนำนโยบายด้านสาธารณสุขมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน

 

เป้าประสงค์ที่ 6 ส่งเสริมสมรรถนะของระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ ประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน 2 แผน ได้แก่

1) แผนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผ่านระบบบริการสุขภาพ เช่น สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในการดำเนินงานเกี่ยวกับโควิด-19 พัฒนาระบบการค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 เชิงรุกนำร่องในหมู่บ้านจัดสรร/อาคารชุด 30 หมู่บ้าน ช่วยให้มีกลไกการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เขตเมืองอย่างเป็นระบบ รวมถึงสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายวิชาชีพพยาบาล และ 2) แผนพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น จัดตั้งสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ โดยสามารถพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ 628 คน และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มประเทศอาเซียน

 

          3. การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการทำงานในปี 2563

                 3.1 รายงานของคณะกรรมการประเมินผล ผลการประเมินการดำเนินงานในภาพรวมของปีงบประมาณ .. 2563 ตามหลัก balanced scorecard (เป็นกรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ .. 2553) ได้คะแนน 4.92 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี (.. 2560 – 2563) ที่ได้ 4.63 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนสูงที่สุดตลอดระยะเวลาที่องค์กรได้ประเมินผลการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี .. 2544 จนถึงปัจจุบัน และผลการประเมินการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลได้คะแนนเฉลี่ย 9.39 คะแนน (คะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) ได้รับผลการประเมินระดับ “A” โดยได้คะแนนในภาพรวมสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ .. 2562 ในทุกตัวชี้วัด

                 3.2 รายงานการตรวจสอบภายในของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการตรวจสอบภายใน กองทุนฯ ได้ให้ความสำคัญต่อข้อสังเกตของฝ่ายตรวจสอบภายในและมีการติดตามผลการปฏิบัติงานและปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่เป็นข้อสังเกต/จุดอ่อนการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการบริหารงานและดำเนินงานได้มีการพัฒนาให้สอดคล้องตามหลักธรรมาภิบาลภายใต้ระบบการควบคุมภายในที่ดี ซึ่งเป็นผลดีต่อการยกระดับการบริหารองค์กรเชิงคุณภาพยิ่งขึ้น

                 3.3 รายงานผลการตรวจสอบงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบรายงานการเงินของกองทุนฯ และรับรองรายงานการเงินดังกล่าวแล้วเห็นว่า รายงานการเงินฯ ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7635

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!