WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ

1aaaD

สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ ระหว่างวันที่ 13 – 19 กรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอดังนี้

          1. การคาดหมายลักษณะอากาศ การสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม และการช่วยเหลือ

          สภาพอากาศ (ระหว่างวันที่ 19 - 25 กรกฎาคม 2564)

          ในช่วงวันที่ 19 - 23 กรกฎาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศเมียนมาและลาว ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ในช่วงวันที่ 24 - 25 กรกฎาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

          อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันคาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนในระยะต่อไป

          ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19 - 23 กรกฎาคม 2564 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

          2. การแจ้งเตือนและสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม

          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันเหตุการณ์

          3. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สั่งการให้กองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2564 ดังนี้

          1) การเตรียมความพร้อม

                 1.1 การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ให้จัดตั้งคณะทํางานติดตามสถานการณ์โดยมี หน่วยงานด้านการพยากรณ์หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำ ฝ่ายปกครองในพื้นที่ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากภาคประชาสังคมหรือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมทําหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัยในช่วงฤดูฝน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อํานวยการแต่ละระดับ สำหรับใช้ในการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่

                 1.2 การจัดทําแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัด ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                 1.3 การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ให้มอบหมายกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับดําเนินการอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะตามรอยต่อเขตรับผิดชอบที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน

                 1.4 การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ / กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ พนังกั้นน้ำ ให้มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบจัดทีมวิศวกรเข้าสํารวจตรวจสอบ และปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับกรณีฝนตกหนัก หรือน้ำไหลเข้า / ผ่านในปริมาณมาก รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่

                 1.5 การแจ้งเตือนภัย เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มขึ้นในพื้นที่ให้ดําเนินการแจ้งเตือนไปยังกองอํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุ และเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบในทุกช่องทางทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ อาทิ สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจําหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูล และการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในกรณีจังหวัดที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกันให้มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกัน และแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด

          2) การเผชิญเหตุ

                 เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ ให้ยึดแนวทางการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ .. 2558 และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยดําเนินการตามแนวทาง ดังนี้

                 2.1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อําเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอํานวยการหลักในการระดมสรรรพกําลัง ตลอดจนการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรสาธารณกุศล

                 2.2 ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นําชุมชน ตลอดจนอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สําคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สําคัญต่างๆ และร่วมกันกําจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ หากมีกรณีน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนให้เร่งกําหนดแนวทางการระบายน้ำ พร้อมทั้งสั่งใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ของหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชน เพื่อเร่งระบายน้ำ และเปิดทางน้ำในพื้นที่

                 2.3 จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดํารงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล โดยอย่าให้เกิด ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ และเชิญชวนประชาชนจิตอาสามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย

                 2.4 กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการหน่วยงานเป็นทีมช่างในพื้นที่ทั้งหน่วยทหาร ตํารวจ ฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว

                 2.5 กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ให้จัดทําป้ายแจ้งเตือนพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อํานวยความสะดวกการจราจร แนะนําเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย รวมทั้งจัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชํารุด / ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว

                 2.6 เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง

                 2.7 ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มที่เกิดขึ้นต่อกองอํานวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์และเสนอ ความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจสั่งการในเชิงนโยบายต่อไป

 

          สรุปสถานการณ์น้ำไหลหลาก และดินสไลด์

          ระหว่างวันที่ 13 - 19 กรกฎาคม 2564

          น้ำล้นสปิลเวย์

          จังหวัดลําปาง วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 02.30 . เกิดฝนตกหนักทําให้อ่างเก็บน้ำแม่แก่งมีน้ำล้นสปิลเวย์ในพื้นที่อำเภอเถิน ตำบลแม่ถอด (หมู่ที่ 7) ประชาชนได้รับผลกระทบ 3 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          น้ำป่าไหลหลาก 

          1. จังหวัดน่าน วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมและดินสไลด์ในพื้นที่อำเภอสองแคว ตำบลยอด (หมู่ที่ 5) ประชาชนได้รับผลกระทบ 3 ครัวเรือน เสาไฟฟ้าล้ม 1 ต้น พื้นที่ทางการเกษตร 20 ไร่ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          2. จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.10 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย ตำบลแม่ลาน้อย (หมู่ที่ 10) ประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 21.30 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอ เมืองแม่ฮ่องสอน ตำบลปางหมู (หมู่ที่ 11) ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          3. จังหวัดตาก วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.00 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด ตำบลสามหมื่น (หมู่ที่ 1, 2, 4) ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน สะพาน 4 แห่ง รถยนต์ 3 คัน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          4. จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.45 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมถนน ในพื้นที่อำเภอด่านขุนทด และอำเภอสีคิ้ว บริเวณถนนทางหลวงหมายเลข 2148 (ด่านขุนทด - หนองสรวง) และหมายเลข 201 (สีคิ้ว - ชัยภูมิ) ช่วงหลักกม. ที่ 29-30 หลัก กม. ที่ 33-34 และหลัก กม. ที่ 41-42 

          5. จังหวัดสระบุรี วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.00 . เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอวังม่วง ตำบลแสลงพัน (หมู่ที่ 5) ประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ครัวเรือน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

 

          สรุปสถานการณ์วาตภัย

          ระหว่างวันที่ 13 - 19 กรกฎาคม 2564

          1. จังหวัดพะเยา วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30 . เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอภูซาง ตำบลป่าสัก (หมู่ที่ 7, 9) ตำบลภูซาง (หมู่ที่ 1, 5, 9, 13) ตำบลทุ่งกล้วย (หมู่ที่ 1, 2, 10) ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 33 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          2. จังหวัดปัตตานี วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 เวลา 17.30 . เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอทุ่งยางแดง ตำบลปากู (หมู่ที่ 2) ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          3. จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.45 . เกิดวาตภัยในพื้นที่อำเภอด่านขุนทด ตำบลด่านขุนทด (หมู่ที่ 11) ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 4 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          4. จังหวัดชัยภูมิ วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.00 . เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอบ้านเขว้า ตำบลลุ่มน้ำชี (หมู่ที่ 6, 18) ทำให้ยุ้งข้าวได้รับความเสียหาย 2 หลัง โรงรถ 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          5. จังหวัดหนองบัวลําภู วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.30 . เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ตำบลโพธิ์ชัย (หมู่ที่ 3) บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 2 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          6. จังหวัดปัตตานี วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.30 . เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอ ยะหริ่ง ตำบลตันหยงดาลอ (หมู่ที่ 1) ต้นไม้ล้มทับบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 1 หลัง รถจักรยานยนต์ 1 คัน ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

 

          สรุปสถานการณ์ไฟป่า

          ข้อมูล วันที่ 19 กรกฎาคม 2564

          จังหวัดสงขลา วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.45 . เกิดเหตุไฟไหม้ป่าพรุกระจูด ในพื้นที่อำเภอเทพา ตำบลเกาะสบ้า (หมู่ที่ 3, 7) พื้นที่ป่าประมาณ 200 ไร่ อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย

          การให้ความช่วยเหลือ : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด หน่วยทหารในพื้นที่ อำเภอ อปท. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิเข้าทำการดับไฟ ปัจจุบันสามารถควบคุมไฟได้ และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง

 

          สรุปสถานการณ์อุบัติภัย และเหตุการณ์สำคัญ

          ระหว่างวันที่ 13 - 19 กรกฎาคม 2564

          1. จังหวัดสงขลา วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.15 . เกิดอุบัติเหตุทางถนนรถเสียหลักตกคลองในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าให้การช่วยเหลือ

          2. จังหวัดปทุมธานี วันที่ 17 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.50 . เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่พักคนงาน บริเวณตรงข้ามสถานีบริการน้ำมันคาลเท็กซ์ ในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลสามโคก อำเภอสามโคก เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 11.05 . เพลิงลุกไหม้ได้รับความเสียหาย 6 ห้อง และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          3. จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เวลา 22.00 . เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในโรงงานผลิตปูนขาว และกําจัดของเสียของบริษัท เอกอุทัย จํากัด (มหาชน) สาขากลางดง ตั้งอยู่เลขที่ 499 หมู่ที่ 1 ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 00.20 . เพลิงลุกไหม้ถังเก็บเชื้อเพลิงผสม (ประเภท 9) ได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

          4. จังหวัดสงขลา วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.20 . เกิดเหตุเพลิงไหม้บริษัท เซาท์เทิร์น กรีนเนอร์จี จํากัด ประกอบกิจการคัดแยกขยะ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7624

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!