WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและการปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

GOV3 copy copy

ขอขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและการปรับปรุงรายละเอียดของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 27)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบการปรับปรุงถ้อยคำในมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้กระทรวงแรงงานสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          2. เห็นชอบการขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 และมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำรายละเอียดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

          สาระสำคัญ

          1. การปรับปรุงถ้อยคำในมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

          สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน ได้ประสานขอปรับปรุงถ้อยคำในส่วนของมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) (ตามข้อกำหนดฉบับที่ 27) รวม 10 จังหวัด ตามข้อเสนอเรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 27) ของ สศช. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้

 

ข้อความตามข้อเสนอของ สศช.

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564

 

ข้อความที่เสนอขอปรับปรุงในครั้งนี้

2. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

(2) กลุ่มแรงงานตามมาตรา 33 สัญชาติไทยตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม ในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการให้ความช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมที่ได้มีการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างและนายจ้าง ตามข้อ 4 ของกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ .. 2563 ที่กำหนดว่าในกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตามหลักการข้อ 1) จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท

 

2. รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ

(2) กลุ่มแรงงานตามมาตรา 33 สัญชาติไทยตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน

(2) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย ตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) ที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

 

(2) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 สัญชาติไทย ไม่รวมข้าราชการและข้าราชการบำนาญ ในพื้นที่ 10 จังหวัด จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน

เห็นควรมอบหมายให้ สปส. รับไปพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) ให้ครอบคลุมจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม พื้นที่ และกิจการตามที่กำหนดเพิ่มเติม โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564

 

เห็นควรมอบหมายให้ สปส. รับไปพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) ให้ครอบคลุมจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม พื้นที่ และกิจการตามที่กำหนดเพิ่มเติม โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 และ/หรือ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564

 

          ทั้งนี้ ในขั้นการจัดทำโครงการเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือเยียวยาในกลุ่มต่างๆ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำรายละเอียดและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

          2. การขยายขอบเขตมาตรการบรรเทาผลกระทบและให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

                   สืบเนื่องจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2564 (ฉบับที่ 28) ได้มีการปรับปรุงเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพิ่มเติมจากข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 27 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด โดยเพิ่มเติมจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดการออกนอกเคหสถาน การเดินทางในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กำหนดเงื่อนไขสำหรับสถานประกอบการต่างๆ เพิ่มเติม โดยสรุปได้ดังนี้

                 2.1 พื้นที่ดำเนินการ : ขยายพื้นที่จากเดิม 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด โดยเพิ่มเติมจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                 2.2 กลุ่มเป้าหมายให้ความช่วยเหลือ : คงเดิม โดยครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่อยู่ในระบบประกันสังคม 

                 2.3 ประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือ : กิจการในระบบประกันสังคมจะครอบคลุม 9 สาขา และในกลุ่มผู้ประกอบการในระบบถุงเงินภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะในปัจจุบันที่ผ่านการคัดกรองแล้วและไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิ์จากกระทรวงการคลัง จำนวน 5 กลุ่ม

                 2.4 รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ : รูปแบบการให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามข้อเสนอเรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 27) ของ สศช. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 และที่ขอปรับปรุงถ้อยคำตามข้อ 1

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 20 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7622

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!