ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 14 July 2021 00:11
- Hits: 12651
ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ในวงเงินสินเชื่อรวม 1,800 ล้านบาท กรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโดรงการ จำนวน 273.85 ล้านบาท โดยเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 270 ล้านบาท สำหรับผู้กู้รายบุคคล ในอัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.50 ต่อปี) โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MRR - 3 (หรือปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3.5 ต่อปี) และผู้กู้ที่เป็นนิติบุคคล ในอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MLR - 3 (หรือปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.875 ต่อปี) โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้ เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ตามขั้นตอนต่อไป สำหรับค่าดำเนินการโครงการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ จำนวน 3.85 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงพิจารณาหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จึงเห็นสมควรให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
อย่างไรก็ดี เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและเกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งประโยชน์ที่ภาครัฐ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องจะได้รับอย่างยั่งยืน เห็นสมควรให้กระทวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม และตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องในการขอสินเชื่อให้เป็นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ตลอดจนมีการประเมินผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการเป็นรายปี เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วน สำหรับประกอบการกำหนดนโยบายของภาครัฐที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. ปัจจุบันในประเทศไทยมีจระเข้ที่อยู่ในระบบการเพาะเลี้ยงทั้งสิ้น 1,319,395 ตัว โดยการเลี้ยงใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี จึงจะนำออกจำหน่าย ซึ่งมีต้นทุนการเลี้ยงประมาณ 3,500 บาทต่อตัว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องการส่งออกจระเข้และผลิตภัณฑ์จากจระเข้1 ทำให้ต้องเน้นดำเนินการภายในประเทศเป็นสำคัญ และ มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์ของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้ ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้จึงไม่สามารถประกอบอาชีพและทำธุรกิจได้ตามปกติและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจระเข้ต่อไป เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาเรื่องขาดสภาพคล่องทางการเงินและขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ
2. กษ.(กรมประมง) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้โดยการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ครอบครองจระเข้ ผู้เพาะพันธุ์จระเข้ ผู้ประกอบการค้าจระเข้มีชีวิต และผู้ประกอบการค้าซาก/ผลิตภัณฑ์2 ในวงเงินสินเชื่อ 8,660 ล้านบาท โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นจำนวนเงิน 1,299 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ เป็นจำนวนเงิน 3.85 ล้านบาท (ตามหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ กษ. 0515.5/4018 ลงวันที่ 30 กันยายน 2563) อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ส่งเรื่องคืน กษ. เพื่อพิจารณาทบทวนแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กค.) และ สงป. ไปประกอบการพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป
3. ในครั้งนี้ กษ. (กรมประมง) จึงได้นำเสนอโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยปรับแก้สาระสำคัญตามความเห็นของส่วนราชการดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
สาระสำคัญ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดภาระค่าใช้จ่าย และสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบธุรกิจต่อเนื่อง (ผู้ประกอบการแปรรูปจระเข้) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมาย/ วงเงินสินเชื่อ |
วงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จำนวน 1,800 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลา ดำเนินการ |
- ระยะเวลาโครงการ 6 ปี นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ (ปี 2565 - 2570) - ระยะเวลาการยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการภายใน 6 เดือน หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อจะหมด - กำหนดชำระคืนเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับแต่วันกู้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณ จากรัฐบาล |
- กรอบวงเงินค่าใช้จ่าย จำนวน 273.85 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้ เป็นระยะเวลา 5 ปี จากวงเงินสินเชื่อ 1,800 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 270 ล้านบาท (ให้ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 และในปีถัดๆ ไป ตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินการโครงการ) 2) ค่าดำเนินการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ เป็นจำนวนเงิน 3.85 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กรมประมง รายละเอียด ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประเภทสินเชื่อ |
- เงินกู้ระยะสั้น ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออื่นๆ ตามที่ ธ.ก.ส. กำหนด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน ในการประกอบอาชีพ - เงินกู้ระยะยาวเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ในการขอรับการ สนับสนุนสินเชื่อ |
ให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ ติดต่อขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. โดยพิจารณาจากแบบการขออนุญาตที่แจ้งไว้กับกรมประมง กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 1 ประเภท ให้สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 1 ประเภท โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิธีการดำเนินงาน/ แผนการดำเนินงาน |
โครงการฯ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
|
_______________________
1จระเข้น้ำจืดและจระเข้น้ำเค็มของไทยเป็นสัตว์ป่าตามบัญชี 1 ท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ซึ่งห้ามนำมาค้าขายโดยเด็ดขาด ยกเว้นเป็นการค้าเพื่อการศึกษา วิจัย และเพาะพันธุ์ โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าและได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ (CITES แล้วเท่านั้น (ปัจจุบันประเทศไทยมีฟาร์มจระเข้ที่ขึ้นทะเบียนกับ สำนักเลขาธิการ CITES จำนวน 28 ฟาร์ม)
2ณ เดือนตุลาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ครอบคลุม 76 จังหวัด จำนวน1,093 ราย ดังนี้
- ผู้เพาะพันธุ์จระเข้ : 31 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้น้อยกว่า 500 ตัว : 643 ราย
- ผู้ค้าจระเข้มีชีวิต : 293 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้ 500 - 1000 ตัว : 39 ราย
- ผู้ค้าซาก/ผลิตภัณฑ์จระเข้ : 55 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้มากกว่า 1000 ตัว : 36 ราย
3บสย. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากธนาคาร ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 กรกฎาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A7389
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ