โครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 13 July 2021 23:03
- Hits: 14507
โครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปีงบประมาณ 2566 - 2570) จำนวน 50 ทุน (ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 25 ทุน และทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 25 ทุน) โดยอนุมัติวงเงินงบประมาณ จำนวน 59.05 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณผู้รับทุนต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2574 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ. รายงานว่า
1. กษ. ได้จัดทำโครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากร กษ. ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เพื่อสนับสนุนบุคลากรของ กษ. ทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิจัยให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการผลิตและการพัฒนาสินค้าเกษตร รวมทั้งจากการประเมินผลการดำเนินการจัดสรรทุนภายใต้โครงการที่ผ่านมาได้ระบุถึงความต้องการให้มีการดำเนินการจัดสรรทุนศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. กษ. ได้ดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อฯ ระยะที่ 1 - 3 แล้วเสร็จ และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการฯ ระยะที่ 4 (ปี 2561 - 2565) ซึ่งได้รับงบประมาณในการจัดสรรทุน รวมจำนวนทั้งสิ้น 133 ทุน คิดเป็นร้อยละ 66.5 ของจำนวนทุนที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 วันที่ 10 เมษายน 2555 และวันที่ 3 กรกฎาคม 2561) จำนวน 200 ทุน แบ่งเป็น ทุนระดับปริญญาโท 100 ทุน และทุนระดับปริญญาเอก 100 ทุน โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
ผลการดำเนินการรวม 4 ระยะ (จำนวนทุน) |
||
ทุนระดับปริญญาโท |
ทุนระดับปริญญาเอก |
รวม |
|
1. คณะรัฐมนตรีอนุมัติ |
100 |
100 |
200 |
2. ได้รับการจัดสรร |
63 |
70 |
133 |
3. ผู้รับทุนสำเร็จการศึกษา |
58 |
48 |
106 |
4. ผู้รับทุนอยู่ระหว่างการศึกษา |
4 |
16 |
20 |
5. ผู้รับทุนยกเลิกการศึกษา |
1 |
6 |
7 |
สำหรับการติดตามผลของผู้รับทุนซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาทุกภาคการศึกษา และการประเมินติดตามผลเมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถสรุปผลการพัฒนาได้ ดังนี้
2.1 ด้านองค์ความรู้ การเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียช่วยพัฒนาความรู้ทางวิชาการ ทักษะการวิจัย ช่วยให้ผู้รับทุนนำมาใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจและสาขาที่ได้รับทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรได้เป็นอย่างดี
2.2 ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ผู้รับทุนมีพัฒนาการและสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษา
2.3 ด้านมุมมอง ความคิด วิสัยทัศน์ ผู้รับทุนได้เปิดมุมมองให้กว้างไกลยิ่งขึ้น สร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และวางแผนการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยการได้รับโอกาสศึกษาเพิ่มเติม เป็นแรงจูงใจเสริมเชิงบวกต่อข้าราชการผู้รับทุนด้านการสร้างคุณค่า การพัฒนาตนเอง การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาตนเองและหน่วยงาน
3. กษ. ได้ทบทวนผลการดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อฯ ที่ผ่านมา โดยพบว่า กษ. มีอัตรากำลังประเภทวิชาการ จำนวน 20,923 คน เป็นนักวิชาการในสายงานหลักที่ปฏิบัติงานวิจัย จำนวน 3,640 คน ซึ่งกำลังจะขาดแคลนเนื่องจากการเกษียณอายุราชการและต้องการทดแทนภายในปี 2574 จำนวน 840 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 (ข้อมูลจากการสำรวจ ณ วันที่ 20 มกราคม 2564) จึงเห็นควรจัดทำโครงการทุนการศึกษาต่อฯ ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570) กรอบวงเงิน 59.05 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หัวข้อ |
รายละเอียด |
วัตถุประสงค์โครงการ |
- เพื่อยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร การวิจัย และนวัตกรรมด้านการเกษตร - เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร กษ. ให้มีความรู้ด้านภาษา ความรู้ด้านเทคโนโลยี และความรู้ในการดำเนินธุรกิจ Supply Chain ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิชาหรือหลักสูตรที่สนับสนุนภารกิจหลักของ กษ. หรือองค์ความรู้ใหม่ - เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาทดแทนอัตรากำลังที่จะมี การเกษียณอายุราชการหรือเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ |
เป้าหมายโครงการ |
- ข้าราชการในสังกัด กษ. ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยในสาขาวิชาต่างๆ ที่จำเป็นต่อภารกิจขององค์กร และสามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 50 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) แบ่งเป็น ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 25 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 25 คน (เปิดรับสมัคร ปีละ 10 คน) - มีผลงานวิจัยและเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมถึงระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต |
สาขาวิชา (ซึ่งสอดคล้องกับ ความต้องการของ กษ.) |
1 . School of Engineering and Technology (SET) เป็นภาควิชาที่มีการเรียนการสอนในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงสาขาวิชา เช่น Computer Science, Information Management, Remote Sensing and Geographic Information Systems, Information and Communications Technologies, Water Engineering Management, Geotechnical and Earth Resources Engineering ซึ่งในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์จะมีการเรียนเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นวิชาพื้นฐาน 2. School of Environment, Resources and Development (SERD) เป็นภาควิชาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการธุรกิจการเกษตร เช่น Agri-business Management, Aquaculture and Aquatic Resources Management, Natural Resources Management, Regional and Rural Development Planning 3. School of Management (SOM) เป็นภาควิชาที่มีการสอนด้านการบริหารธุรกิจ เช่น Finance, Human Resources, International Public Management, Marketing |
การชดใช้ทุน |
ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติราชการในส่วนราชการสังกัด กษ. เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุน กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ให้ไว้ต่อ กษ. ผู้ได้รับทุน จะต้องชดใช้เงินทุนที่ กษ. ได้จ่ายไปแล้ว และจะต้องชดใช้เงินอีก 1 เท่าของเงินทุนดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย (สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศของสำนักงาน ก.พ.) |
ระยะเวลาโครงการ |
โครงการจะเริ่มจัดสรรทุน ปี 2566 - 2570 และผูกพันงบประมาณผู้รับทุนต่อเนื่องต่อไปจนจบการศึกษาตามหลักสูตรในปีงบประมาณ 2574 |
ค่าใช้จ่ายตลอดการ ศึกษาต่อทุน รวม 59.05 ล้านบาท |
ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 4 ภาคการศึกษา (หากยังไม่สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาดังกล่าว สามารถขอขยายเวลาได้อีก 1 ภาคการศึกษา รวม 5 ภาคการศึกษา) จำนวน 901,000 บาท/ทุน วงเงิน 22.525 ล้านบาท ทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 7 ภาคการศึกษา (หากยังไม่สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาดังกล่าว สามารถขอขยายเวลาได้อีก 2 ภาคการศึกษา รวม 9 ภาคการศึกษา) จำนวน 1,461,000 บาท/ทุน วงเงิน 36.525 ล้านบาท |
4. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา รายละเอียด ดังนี้
ปีงบ ประมาณ |
ระดับปริญญาโท (ทุน) |
ระดับปริญญาเอก (ทุน) |
จำนวนทุนทั้งหมด (ทุน) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
|||
ทุนใหม่ |
ทุนต่อเนื่อง |
ทุนใหม่ |
ทุนต่อเนื่อง |
ทุนใหม่ |
ทุนต่อเนื่อง |
||
2566 |
5 |
- |
5 |
- |
10 |
- |
2.77 |
2567 |
5 |
5 |
5 |
5 |
10 |
10 |
7.81 |
2568 |
5 |
10 |
5 |
10 |
10 |
20 |
10.61 |
2569 |
5 |
10 |
5 |
15 |
10 |
25 |
11.21 |
2570 |
5 |
10 |
5 |
20 |
10 |
30 |
11.81 |
2571 |
- |
10 |
- |
20 |
- |
30 |
9.04 |
2572 |
- |
5 |
- |
15 |
- |
20 |
4.00 |
2573 |
- |
- |
- |
10 |
- |
10 |
1.20 |
2574 |
- |
- |
- |
5 |
- |
5 |
0.60 |
รวม |
25 |
- |
25 |
- |
50 |
- |
59.05 |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 กรกฎาคม 2564
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A7387
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ