WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา

GOV4 copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิหมุนเวียนในระดับชาติ (CE Grand Strategy and Driven Mechanism) 2) การส่งเสริมผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Transforming Enterprises toward CE) 3) การสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Market Development) 4) การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Technology and Innovation Promotion) 5) การสร้างความตระหนักให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Building Awareness of CE) และ 6) การปฏิรูปการบริหารจัดการขยะทั้งระบบ (Restructuring Waste Management System)

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ อก. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          อก. เสนอว่าได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. กษ. ทส. พณ. พน. มท. ศธ. สธ. อว. สศช. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ตามข้อ 1 แล้วสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณาศึกษา

1. การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชาติ (CE Grand Strategy and Driven Mechanism) 

     1.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

     1.2 การจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

ในระยะเริ่มต้นอาจพิจารณาใช้กลไกคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ อว. เป็นฝ่ายเลขานุการและเมื่อมีความพร้อมในการดำเนินงาน จึงนำไปสู่การจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชาติเป็นหน่วยงานกลางดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนา CE เป็นการเฉพาะต่อไป

ปัจจุบัน อว. ได้รับมอบหมายให้เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารฯ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ สาขา CE โดยหากมีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ควรยกระดับให้เป็น One-Stop Service ด้าน CE ของประเทศ ให้เหมือนกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 

ตลท. ดำเนินการจัดตั้งโครงการเชิงพื้นที่ Ratchada District : Care the Whale และขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่พันธมิตร เช่น นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร เป็นต้น

พน. โดย ปตท. กำหนดกลยุทธ์ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยยึดหลัก CE” เพื่อบริหารจัดการด้านความยั่งยืน

2. การส่งเสริมผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Transforming Enterprises toward CE)

     2.1 การกำหนดมาตรการหรือกลไกที่เป็นตัวเงิน

     2.2 การกำหนดมาตรการหรือกลไกสนับสนุนอื่นที่ไม่เป็นตัวเงิน

     2.3 การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนา

 

ภาครัฐควรมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการสร้างนวัตกรรม CE Lab ในแต่ละอุตสาหกรรม และบูรณาการหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการ CE ของต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคสังคม (Social Enterprise) ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบ Self-Assessment มาใช้ให้เกิดการพัฒนาธุรกิจ

การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ CE ได้อย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ควรมีการจัดทำระบบการติดตามการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น ปิโตรเคมี วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

อก. มีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผลักดันการออกกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการประกอบการ และสนับสนุนเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิด CE ผ่านกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ รวมทั้งจัดทำระบบการประเมินประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้หลักการ CE ในองค์กร และพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

พณ. มีการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ รวมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม เช่น โครงการ DEWA/DEWI โครงการ Circular Packaging โครงการ Design Excellence Award (DEMark) เป็นต้น

สสว. ดำเนินโครงการ SME Regular Level โครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ โดยกำหนดกลุ่มธุรกิจที่มีการนำแนวคิด CE ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลัก

พน. โดย ปตท. กำหนดแบบฟอร์มประเมินระดับการประยุกต์ใช้หลัก CE” และการจัดทำโครงการตามหลัก CE เช่น การจัดตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูงมาตรฐานสากล เป็นต้น

3. การสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Market Development)

 

ควรส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่ด้าน CE ผลักดันมาตรการอุดหนุนราคาสินค้าและบริการที่คำนึงถึง CE เสริมสร้างกระบวนการที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าหรือบริการที่เลือกใช้นั้น มาจากสินค้าหรือบริการที่คำนึงถึงระบบ CE อย่างแท้จริง ตลอดจนสนับสนุนการเปิดหรือขยายตลาดสินค้าและบริการ CE สู่ต่างประเทศ

อก. มีการสร้างและพัฒนาแผน/โครงการ การรับรอง จัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ CE ในองค์กร การจัดทำโครงการ CE Standard Platform : Thailand ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำมาตรฐาน CE สำหรับผลิตภัณฑ์

พณ. มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าและใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ

พน. โดย ปตท. มีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ตามแนวคิด CE การต่อยอดโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เพื่อนำขยะพลาสติกมาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น และการออกประกาศคู่มือเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Technology and Innovation Promotion)

 

ควรดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น สนับสนุนเงินทุนที่มีความคล่องตัว บูรณาการการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม สร้างนวัตกรรมที่เป็น Tokenization ที่คิดมูลค่าความยั่งยืนที่เกิดบน CE เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น

อก. มีการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทนสำหรับภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการออกแบบตามหลักการ CE เพื่อการใช้ทรัพยากรแร่และโลหะอย่างยั่งยืน

พน. ดำเนินการพัฒนาของเสียไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การนำ Waste Polymer กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับใช้ในการผลิตกล่องนาฬิกาแบรนด์เนมชั้นนำของโลก การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก HDPE มาผลิตเป็นทุ่นลอยน้ำสำหรับใช้กับแผงโซลาร์เซลล์ที่ปราศจากสารพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

กษ. จัดทำแนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ภาคการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน รวมทั้งวิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง โดยใช้ฐานข้อมูลภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม

5. การสร้างความตระหนักให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Building Public Awareness of CE)

 

ควรดำเนินการจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมในการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อน CE เพื่อให้เกิด CE Learning ตลอดจนส่งเสริมให้เกิด Awareness ในภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค

อก. ได้สร้างองค์ความรู้ด้าน Circular Economy ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล และการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านแร่ โลหะ และรีไซเคิลผ่านช่องทางออนไลน์ (e-Learning)

พณ. ได้ศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการจัดทำ FTA ในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ CE และขอความร่วมมือผู้ประกอบการห้างค้าส่งค้าปลีกสมัยใหม่ลดการใช้วัสดุที่ผลิตจากพลาสติก ถุงพลาสติก และโฟมบรรจุอาหาร

พน. โดย ปตท. ดำเนินการจัดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 : Tomorrow Together และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะให้กับชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและสามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

6. การปฏิรูปการบริหารจัดการขยะทั้งระบบ (Restructuring Waste Management System)

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มท. ทส. สธ. และ อปท. เป็นต้น ได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการขยะ 4 ด้านหลัก ได้แก่ การคัดแยกและขนส่ง การบริหารจัดการ การสร้างความตระหนักของสาธารณชน และการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างระบบ CE และนำไปสู่ Zero waste ในกลุ่มจังหวัดนำร่องอย่างเป็นรูปธรรม แล้วจึงขยายผลสู่กลุ่มจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยมีการกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการขยะหรือของเสียให้เป็นวัตถุดิบรอบสองที่ชัดเจนแนวทางจัดการขยะพลาสติกที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ

มท. ได้กำหนดแนวทางการคัดแยกขยะตั้งแต่จุดกำเนิดขยะและการขนส่งขยะที่เหมาะสม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประเทศไทยไร้ขยะและแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนจังหวัดสะอาดบูรณาการการจัดการขยะในระดับประเทศและจังหวัดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมและผลักดันการแปลงขยะที่ไม่สามารถผ่านกระบวนการ recycling หรือ upcycling ไปเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งปรับปรุงและออกกฎระเบียบในการจัดการมูลฝอย

อก. มีการพัฒนาระบบติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตราย และการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ

ตลท. ได้พัฒนาโครงการ Ratchada District Care the Whale เป็น Climate Care Platform เพื่อให้เกิด CE จาก Waste Management ได้อย่างครบวงจร

พน. โดย ปตท. ดำเนินการร่วมทุนในการผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูงมาตรฐานสากล และหาแนวทางนำขยะพลาสติกจากร้านคาเฟ่อเมซอนไปใช้ประโยชน์ผลิตเป็นแก้ว Tumbler Upcycling

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7386

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!