WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564

GOV 6

สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564 วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564 ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 เสนอ ดังนี้

          1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 ดังนี้

                 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น186,293,113 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 62 จาก 218 ประเทศทั่วโลก

                 2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 9 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม จำนวน 288,643 ราย (ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ จำนวน 1,786 คน ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 249,110 คน และติดเชื้อในเรือนจำและที่ต้องขัง จำนวน 37,747 คน

          2. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 13 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564

          3. การยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด – 19 และการปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร การยกระดับมาตรการของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีแนวความคิด คือจำกัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มของบุคคลขั้นสูงสุด รวมทั้งกำหนดเวลาการออกนอกเคหสถานควบคู่ไปกับการเร่งรัดมาตรการด้านการป้องกันโรค การฉีดวัคซีน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล รวมทั้ง การเยียวยาโดยมีข้อเสนอมาตรการ ดังนี้

                  1) การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร แบ่งเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 10 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 24 จังหวัด พื้นที่ควบคุม จำนวน 25 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 18 จังหวัด ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ดังนี้

 

ระดับพื้นที่

จังหวัด

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 

10 จังหวัด (คงเดิม)

กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา  สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา

พื้นที่ควบคุมสูงสุด

24 จังหวัด

(เพิ่มขึ้น 19 จังหวัด)

กระบี่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี  สมุทรสงคราม  สระบุรี  สิงห์บุรี  สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี

พื้นที่ควบคุม

25 จังหวัด

กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี

พื้นที่เฝ้าระวังสูง 

18 จังหวัด

(ลดลง 39 จังหวัด)

เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์

 

                  2) การห้ามออกนอกเคหะสถาน ระหว่างเวลา 21.00 . ถึง 04.00 . ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น

                  3) มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล

                          (1) จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด ดังนี้

                                   - กำหนดให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะทำงานนอกสถานที่ (Work from home) ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน

                                   - ระบบขนส่งสาธารณะ ปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 . ถึง 04.00 . ของวันรุ่งขึ้น

                                   - ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ให้ปิดเวลา 20.00 . ถึง 04.00 . ของวันรุ่งขึ้น

                                   - ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดบริการได้ถึง 20.00 . โดยเปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน

                                   - ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดบริการได้ถึง 20.00 . โดยห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน

                                   - ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม เป็นต้น

                                   - สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา หรือที่ออกกำลังกายที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00

                                   - ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป

                                   - ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดการอบรม สัมมนา หรือการประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

                                   - สถานศึกษาใช้การเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

                          (2) การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้

                          (3) กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (D-M-H-T-T-A) อย่างสูงสุด

                          (4) ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ (1) - (3) ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่างๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 24 ฉบับที่ 25 และฉบับที่ 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

                 4) การเดินทางข้ามจังหวัด ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น และให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรองการเดินทางจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด โดยให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 . เป็นต้นไป ทั้งนี้ กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังคับใช้บทลงโทษตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ .. 2558 

                 5) มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการสนับสนุน ดังนี้

                          (1) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เร่งจัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ โดยพิจารณาใช้ชุดอุปกรณ์ Rapid Test ที่มีคุณภาพอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

                          (2) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการนำระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรบัญชียาหลัก เช่น ยาฟ้าทะลายโจร เป็นต้น มาเสริมมาตรการรักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียงพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ

                          (3) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต (Intensive Care Unit: ICU) สนาม และโรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ

                          (4) กระทรวงสาธารณสุขปรับแผนการกระจายวัคซีน และเร่งการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

                          (5) ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ในการป้องกันส่วนบุคคล การตรวจหาเชื้อ และการรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ

                 6) ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบศ.) เร่งรัดกำหนดมาตรการเยียวยาสถานประกอบการหรือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดมาตรการในครั้งนี้ ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่

                 7) การปฏิบัติในจังหวัดอื่น โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการสนับสนุน ดังนี้

                          (1) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้ ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 . เป็นต้นไป โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 ฉบับที่ 25 

                          (2) ให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่างๆ ข้อความ และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 (ฉบับที่ 24 ฉบับที่ 25 และฉบับที่ 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้

                 8) การบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนดฯ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน (จนถึงวันที่ 25 กรกฎาคม .. 2564) เว้นแต่จะได้มีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์ต่อไป

                 ที่ประชุมมีความเห็น ดังนี้

                 1) มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19

                          (1) ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการยกระดับการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นเจ้าของกิจการและเจ้าของพื้นที่ที่ประชาชนปฏิบัติงานและรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนตระหนักและร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง

                          (2) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด มีการบังคับใช้ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นสถานที่เสี่ยงการติดเชื้อมากที่สุด โดยขอให้มีการดำเนินการที่ส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนน้อยที่สุด

                          (3) เตรียมการรองรับกิจกรรมอื่นๆ ในช่วงการยกระดับมาตรการฯ 14 วัน เช่น การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หรือประเพณีการจัดงานศพ เป็นต้น

                          (4) ควรเร่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะความคาดหวังในช่วงการประกาศมาตรการการยกระดับฯ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลงทันที แต่จะปรากฏผลในช่วงภายหลัง 2 สัปดาห์

                          (5) ควรมีการกำหนดมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ข้อมูลบิดเบือน หรือข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิด ให้สอดคล้องกับมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548

                          (6) สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำยาแพทย์แผนไทยและทางเลือกและการรับรองบทบาทหน้าที่ของแพทย์แผนไทยอย่างเป็นทางการ เนื่องจากปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำแพทย์แผนไทยมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคโควิด – 19 ที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการสีเหลือง อย่างไรก็ตาม ในหลักปฏิบัติแพทย์แผนไทยยังไม่มีการรองรับในการให้การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด - 19 ควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันที่ชัดเจน จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณารับรองสถานะของแพทย์แผนไทยในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 ร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบัน และให้พิจารณาใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่ายินดีสนับสนุนข้อมูลของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการนำการแพทย์แผนไทยมาใช้ในการรักษาโรคโควิด - 19 

                 2) มาตรการด้านการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด - 19

                          (1) เพื่อลดความแออัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ควรให้มีการใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ร่วมกับการตรวจแบบ Polymerase chain reaction (RT-PCR) โดยกระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวทางการกระจายชุดตรวจผ่านคลินิกสุขภาพกรุงเทพมหานคร และร้านขายยา ซึ่งได้มีการวางแนวทางส่งต่อผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) ผ่านเครือข่ายคลินิกสุขภาพกรุงเทพมหานคร แต่ในส่วนของการกระจายชุดตรวจผ่านร้านขายยายังอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาแนวทางเชื่อมต่อผู้ที่ตรวจพบเชื้อเข้ากับระบบการรักษา อย่างไรก็ดี
การใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการโดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนของผลตรวจและความเข้าใจของผู้ใช้ชุดเครื่องมือ ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแนวทางอย่างรอบคอบ ตลอดจนให้คำแนะนำและให้ข้อมูลเพื่อประกอบการใช้งานอย่างใกล้ชิด กำหนดวงรอบการตรวจซ้ำ และจัดเตรียมระบบส่งต่อผู้ติดเชื้อไม่ให้มีการกระจุกตัวจนเกิดข้อจำกัดของการรักษาพยาบาล รวมทั้งพิจารณาการใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นลำดับแรก

                          (2) กรณี Phuket Sandbox พิจารณาข้อเสนอเรื่องนำชุดทดสอบไวรัสโควิด 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) มาใช้กับกลุ่มคนไทย หรือคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อประกอบการอนุญาตเข้าพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

                          (3) กระทรวงแรงงานแจ้งว่าต้องการเพิ่มการตรวจคัดกรองแรงงานในแคมป์ (ที่พักคนงาน) เนื่องจากในปัจจุบันสามารถตรวจหาผู้ป่วยในแคมป์ได้เพียงร้อยละ 75 ของจำนวนแรงงานในแคมป์
                          ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ประสานไปยังโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมไว้พร้อมรองรับผู้ป่วย ประมาณ 3,000 เตียง ในการนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรคได้ขอให้กระทรวงแรงงานประสานผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดเพื่อหาทางแนวทางเพิ่มจุดตรวจและส่งต่อการรักษาแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรการในระดับพื้นที่

                 3) มาตรการคัดแยกและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา (Isolation)

                 ควรปรับระบบบริการรักษาพยาบาลด้วยการนำระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) มาช่วยสนับสนุน เพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีศักยภาพสามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ตลอดจนลดความแออัดของผู้ใช้บริการตรวจคัดกรองและการรักษาพยาบาล

                 4) มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19

                 ควรให้มีการพิจารณาขยายกลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผลกระทบของการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

                 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอในการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา

          4. แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19

                 1) สรุปผลการฉีดวัคซีนโควิด - 19 มีผู้ได้รับวัคซีนรายใหม่ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 จำนวน 356,378 ราย จำแนกเป็น ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 305,925 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 50,453 ราย โดยมีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 .. - 8 .. 2564 รวมทั้งสิ้น 11,975,996 ราย จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 8,800,155 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 3,175,841 ราย

                 2) การปรับแผนการฉีดวัคซีนโควิดป้องกันโรคโควิด - 19 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 75 เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงต้องระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง โดยกำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000,000 คน ในกรุงเทพมหานคร ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมวัคซีนกลุ่มนี้เป็นร้อยละ 80 รวมทั้งสำรองวัคซีนบางส่วนเพื่อใช้ควบคุมการระบาดในพื้นที่กรุงเทพเทพมหานคร และปริมณฑล (กลยุทธ์ขนมครก

                 3) ข้อเสนอแนวทางบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ แบ่งเป็น วัคซีน Pfizer จำนวน 1,500,000 โดส และวัคซีน AstraZeneca จำนวน 1,050,000 โดส ดังนี้

 

ประเด็น

วัคซีน Pfizer

 

วัคซีน AstraZeneca

กลุ่มเป้าหมาย

1. บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด - 19 ทั่วประเทศ

(ฉีดเป็น Booster dose จำนวน 1 เข็ม)

2. ผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง

3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง

4. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน Pfizer ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียนนักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น

 

1. ผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง 7 โรค

2. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยเน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง

3. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน AstraZeneca ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น

การกระจาย

สำหรับฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3 สัปดาห์ (ยกเว้นกรณีบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า Booster dose 1 เข็ม

- สัญชาติไทย 1,350,000 โดส

- ต่างชาติ 150,000 โดส (ร้อยละ 10)

 

สำหรับฉีดเป็นเข็มที่

- สัญชาติไทย 945,000 โดส

- ต่างชาติ 105,000 โดส (ร้อยละ 10)

พื้นที่เป้าหมาย

(พื้นที่ระบาดท่องเที่ยว)

- กรุงเทพมหานคร

- สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม

- ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา
(
มีการระบาดของสายพันธุ์ Beta)

 

- กรุงเทพมหานคร

- สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม

- ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต

การดำเนินงาน

ฉีดวัคซีน

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครบริหารจัดการผ่านโรงพยาบาลในพื้นที่กรณีชาวต่างชาติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานหลัก

 

          ทั้งนี้ การบริหารจัดการวัคซีนบริจาคสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19

          ที่ประชุมมีความเห็น ควรดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ควบคู่กับการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และมีความเสี่ยงสูง

          ที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 

          1) เห็นชอบการปรับแผนการจัดสรรวัคซีนโควิด - 19 เดือนกรกฎาคม 2564 โดยให้ครอบคลุมผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในกรุงเทพมหานครอย่างน้อยร้อยละ 80 

          2) ให้ระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก จำนวน 1,000,000 โดส ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ 

          3) เห็นชอบแนวทางการจัดสรรและบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ

          ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี

          1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ร่วมกับคณาจารย์ทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณารายละเอียดของชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ให้มีคุณภาพและตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ในการตรวจหาเชื้อในชุมชนหรือพื้นที่อื่นๆ เช่น จังหวัดภูเก็ต เกาะสมุย เป็นต้น โดยให้มีการระบุหลักเกณฑ์และวิธีการใช้งาน วงรอบระยะเวลาการตรวจซ้ำ รวมทั้งการใช้ชุดตรวจในสถานประกอบการภาคเอกชน การเชื่อมโยงกับกระบวนการตรวจคัดกรอง และการเข้ารับการรักษาให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของ ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมดำเนินการพิจารณาการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก โดยให้เร่งรัดนำระบบการแยกกักแบบการแยกกันที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักในชุมชน (Community Isolation: CI) ให้เหมาะสม เพียงพอ และให้ความรู้เกี่ยวกับการกักตัวในบ้านหรือในชุมชน รวมทั้งให้พิจารณาความเหมาะสม และกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย เช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น เข้ามามีส่วนช่วยรักษาโรคโควิด - 19 โดยกระทรวงการต่างประเทศ ยินดีสนับสนุนข้อมูลการนำการแพทย์แผนไทยไปใช้ในการรักษาโรคโควิด – 19 ในต่างประเทศ

          3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตรวจสอบคัดกรองการตรวจหาเชื้อ โดยจัดตั้งศูนย์คัดกรองในพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบและสามารถเข้าถึงจุดคัดกรองได้ จัดระบบบริหารจัดการการนำส่งตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา และเร่งจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต (Intensive Care Unit: ICU) สนาม และโรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็วและมีจำนวนที่มากพอ รวมทั้งจัดหาเตียง อุปกรณ์เสริม เวชภัณฑ์ ยา และระดมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากผู้ที่เกษียณอายุ และนักศึกษาแพทย์ ตลอดจนให้ทบทวนและปรับกระบวนการตรวจคัดกรอง คัดแยก การกักตัว การนำส่งการรักษา และการฉีดวัคซีนให้มีความประสานสอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งระบบครบวงจร

          4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) หารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปรับแผนบริหารจัดการกระจายวัคซีนที่เหมาะสม ทั่วถึง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ ทั้งนี้ ให้เร่งรัดฉีดให้แก่กลุ่มเป้าหมายและในพื้นที่การแพร่ระบาดที่มีการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

          5. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) : ศบศ.) สำนักงบประมาณ กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการร่วมกันพิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ โดยขยายให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม รวมทั้งให้มีการรวบรวมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนไปแล้วด้วย

          6. ให้กระทรวงมหาดไทย (จังหวัด) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) ร่วมรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ทั้งนี้ ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 . เป็นต้นไป

          7. ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 และระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ตลาดสด เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขอความร่วมมือภาคเอกชนให้ดูแลการบังคับการให้เป็นไปตามมาตรการฯ ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเตรียมการแก้ไขปัญหาด้านปริมาณสินค้าและระบบโลจิสติกส์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชน

          8. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำกับ ดูแล ตรวจสอบการนำเสนอข่าวปลอม (Fake News) และดำเนินการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด

          9. ให้กระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการสำรวจแรงงานต่างด้าวและนำมาขึ้นทะเบียน รวมทั้งให้บูรณาการการทำงานร่วมกับฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ดำเนินการสนธิกำลังในการตั้งด่านตรวจด่านสกัด เพื่อตรวจสอบและสกัดกั้นการหลบหนีเข้าเมือง ทำลายขบวนการลักลอบนำคนเข้าประเทศ และดำเนินการมาตรการทางกฎหมายกับโรงงานหรือผู้ประกอบการที่นำแรงงานมาปล่อยทิ้งนอกโรงงานหรือสถานประกอบการ

          10. ให้กระทรวงแรงงาน ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) สร้างความเข้าใจกับแรงงานและผู้ประกอบการในการดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการตรวจคัดกรอง การแยกกัก การรักษาโรค การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ และการตรวจหาภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อประเมินสถานการณ์ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะต้องตรวจหาเชื้ออีกครั้งเมื่อครบ 28 วัน หลังการทำ Bubble and Seal ทั้งนี้ ให้มีการจัดทำคู่มือที่เหมาะสมตั้งแต่กระบวนการคัดกรอง กักกัน มาตรการ Bubble and Seal และการป้องกัน/รักษาโรคโควิด - 19 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ

          11. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด – 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ทราบ ดังนี้

                   1) การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่สถานการณ์มีความซับซ้อนซึ่งรัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) บูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและมาตรฐานการปฏิบัติในการควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อรักษาความปลอดภัย และให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด รวมทั้งความพร้อมและการทำงานไปข้างหน้าของรัฐบาลทั้งในเรื่องการจัดหาจำนวนเตียง การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจ/ทดสอบหาเชื้อให้ได้อย่างรวดเร็ว การดำเนินการเรื่องวัคซีน และการพัฒนายาใหม่ๆ รวมถึงการนำสมุนไพรมาช่วยสนับสนุนในการป้องกันและรักษาโรคโควิด - 19

                   2) เหตุผลความจำเป็นและเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ และขอให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด – 19 และดำเนินการตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด

                   3) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ทั่วโลก สถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ข้อมูลสถานการณ์ของแต่ละประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต และมาตรการที่ประเทศต่างๆ ใช้ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด -19 โดยให้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7383

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!