WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการตามกฎกหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

GOV2 copy copy

ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการตามกฎกหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริม การมีงานทำของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะรวม 8 ประเด็น ได้แก่ (1) รัฐบาลควรเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย (2) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ (3) เร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน (4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบตรวจสอบการจ้างงานคนพิการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ (5) หารือและสร้างความเข้าใจให้แก่สถานประกอบการเกี่ยวกับแนวทางการจ้างงานคนพิการ (6) จัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในการสร้างความเข้มแข็งและประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงาน และศูนย์บริการทั่วไป (7) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนพิการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของคนพิการ และ (8) ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ และเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีของมาตรการคงแรงงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ให้กับบริษัทที่มีการจ้างงานคนพิการด้วย

          2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงาน .. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          พม. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2. เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. เร่งรัดหน่วยงานของรัฐให้จ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย

 

- รง. ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน (อนุกรรมการฯ) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 โดยที่ประชุมได้ มีมติ ดังนี้

     1. มอบหมายกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) เสนอคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐต่อไป

     2. เห็นชอบให้ รง. แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ (คณะทำงานฯ) เพื่อส่งเสริมการจ้างงานคนพิการให้เพิ่มขึ้น

     3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อศึกษาวิจัยเรื่องการจ้างงานคนพิการ และใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและอัตราส่วนการจ้างงานคนพิการที่เหมาะสม

- สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะที่กำหนดให้รัฐบาลควรเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วน โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานสำหรับกรณีที่จะให้หน่วยงานของรัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยหักจากงบประมาณของหน่วยงานรัฐที่ไม่จ้างคนพิการหรือจ้างไม่ครบนั้น เห็นว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งเงินดังกล่าวแต่อย่างใด

- พม. โดย พก. มีแนวทางการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อน การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ ดังนี้

     1. ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานของรัฐ เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย

     2. ขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ โดยเข้าพบผู้บริหารระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า

     3. เสนอประเด็นการจ้างงานภาครัฐเข้าสู่ การประชุม กพช. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 โดยที่ประชุมมอบหมายให้ พก. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนภายในปี 2566

- สำนักงาน .. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนพิการเข้ารับราชการ ซึ่งจะทำให้คนพิการสามารถเข้ารับราชการได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งมีหลายขั้นตอน และส่วนราชการสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น และรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มอบหมายผู้แทนเป็นคณะอนุกรรมการฯ และเข้าร่วมประชุม กพช. เพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนะความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการในภาครัฐด้วย นอกจากนี้ สำนักงาน .. ได้มีข้อคิดเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วน รวมทั้งจัดให้มีกลไกในการผลักดันการจ้างงานคนพิการสำหรับหน่วยงานรัฐทุกประเภท

2. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ

- ปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2554 เกี่ยวกับสัดส่วนการจ้างงานและการจ่ายค่าจ้างของคนพิการ

 

 

 

- ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้พิจารณาการปรับสัดส่วนการจ้างงานคนพิการในภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น และ มีมติเห็นชอบให้ รง. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมการจ้างงานคนพิการให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมอบหมายให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานศึกษาความเป็นไปได้และเสนอแนวทางในการกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการและหน่วยงานของรัฐจ่ายค่าจ้างให้แก่คนพิการขั้นต่ำรวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 วันต่อเดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

- แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 เพื่อให้ รง. มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานคนพิการให้ครบถ้วนในทุกมิติ

- ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ให้คนพิการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

- พิจารณาเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการใช้แรงงานคนพิการไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541

- พิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 มาตรา 35 และกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน .. 2563

 

- พม. โดย พก. ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมายดำเนินการศึกษาและพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 ในประเด็นดังกล่าวแล้ว

- รง. ได้ดำเนินการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ จากเดิม 26 คน เป็น 33 คน เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรคนพิการอย่างครบถ้วนแล้ว

- รง. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มหมวดการจ้างงานคนพิการในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 แล้ว

- กค. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) .. 2563 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างกับองค์กรต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนคนพิการได้มากขึ้น

- สวส. ได้มีการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ

3. เร่งรัดดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน

- เร่งรัดการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพการให้บริการที่มีมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ .. 2555

 

 

 

 

 

- รง. ได้มีการดำเนินการ ดังนี้

     1. กรมการจัดหางานได้ดำเนินการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่างๆ โดยให้การส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการให้มีรายได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และมีการแนะนำเกี่ยวกับการมีงานทำและการประกอบอาชีพอิสระที่เหมาะสมกับความพิการ

     2. กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ให้บริการคนพิการฝึกอาชีพร่วมในหลักสูตรปกติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และจัดให้มีการฝึกเฉพาะกลุ่มคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ

     3. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ให้ความคุ้มครองทางสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่คนพิการได้รับประโยชน์ มีการตรวจแรงงานในระบบให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติและดำเนินการส่งเสริมสวัสดิการแก่แรงงานกลุ่มพิเศษ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้แก่แรงงานคนพิการ

- เร่งดำเนินการตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 ที่กำหนดให้ พก. ต้องจัดทำประกาศโฆษณาข้อมูลการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 – 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว   - พม. โดย พก. ได้มีการเน้นย้ำการบังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยสำหรับการดำเนินการตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พก. อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมข้อมูล เมื่อจัดทำข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะเร่งดำเนินการประกาศต่อสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
- บังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างจริงจัง   - พม. ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวจะเร่งดำเนินการใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป

4. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบตรวจสอบการจ้างงานคนพิการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานรวมถึงดำเนินคดีกรณีการจ้างงานคนพิการในอัตราค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างจริงจัง

 

- รง. และ พม. ได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยมอบหมายให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครตรวจสอบการจ้างงานคนพิการของสถานประกอบการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 หากมีการกระทำผิดกฎหมาย ก็ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศการให้บริการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในด้านต่างๆ

5. หารือและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจ้างงานคนพิการ

- เร่งหารือร่วมกับคนพิการและสถานประกอบการเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 เพื่อให้คนพิการและผู้ประกอบการปฏิบัติได้ชัดเจนและถูกต้องในสถานการณ์ COVID-19

 

 

 

- รง. ได้จัดทำคู่มือการให้บริการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติและแนวทางการดำเนินงานการให้บริการประชาชน เพื่อให้การบริการนายจ้าง สถานประกอบการหน่วยงานของรัฐ และคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งอยู่ระหว่างรวบรวมประเด็นปัญหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนพิการและผู้ประกอบการปฏิบัติได้ชัดเจนและถูกต้องในสถานการณ์ COVID-19

- สร้างความเข้าใจกับสถานประกอบการเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการมอบหมายงานกรณีสถานประกอบการจ้างงานคนพิการเพื่อไปทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนตามคำสั่งของสถานประกอบการ   - รง. ได้จัดทำแผนขอความร่วมมือและสร้างความเข้าใจแก่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการในการจ้างงานคนพิการเพื่อไปทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนตามคำสั่งของสถานประกอบการ เพื่อทำให้คนพิการได้รับการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีการลงพื้นที่ในเชิงรุกเพื่อสร้างคงามรู้ความเข้าใจกับนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการในเรื่องดังกล่าวด้วย

6. จัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ

- พัฒนาหรือสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในการสร้างความเข้มแข็งและประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงาน หรือศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

 

 

- พม. โดย พก. มีศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดเป็นหน่วยช่วยประสานระหว่างนายจ้างกับคนพิการที่ประสงค์มีงานทำ ซึ่งในกระบวนการการจับคู่งานนั้น เจ้าหน้าที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ เพื่อส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ

- สนับสนุนศูนย์บริการคนพิการทั่วไป โดยการศึกษาวิจัยรายการใช้จ่ายในการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการรายหัว (Unit Cost) และสนับสนุนงบประมาณรายงานค่าใช้จ่ายดังกล่าว   - พม. เห็นว่า ในการดำเนินการดังกล่าว ควรจะศึกษาและพิจารณาวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการทั่วไปอย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนอัตราเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กอง ทุนฯ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป

7. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนพิการเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ

 

- รง และ พม. ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับนายจ้าง สถานประกอบการและคนพิการ ทั้งการจัดประชุมและเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน

8. ปรับเพิ่มประสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการและมาตรการคงแรงงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19

 

- กค. ชี้แจงว่า

     1. เพื่อสนับสนุนให้มีการจ้างแรงงานคนพิการ ปัจจุบันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับคนพิการเข้าทำงานสามารถนำรายจ่ายค่าจ้างคนพิการและรายจ่ายเพื่อการจัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 - 3 เท่า

     2. ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมสรรพากรได้กำหนดมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการและแรงงาน เช่น มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน มาตรการขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยเหลือการจ้างงานคนพิการในปัจจุบันมีความเหมาะสมในระดับหนึ่งแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 13 กรกฎาคม 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7379

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!